โรคกลาก เกลื้อน ทำไมถึงต้องเป็นเรา มาพบหมอผิวหนังสักนิด

คันไปทั่วเรือนร่าง เกาจนแสบเลือดซิบๆ ทั้งอายและทรมานเหลือเกินครับหมอ

โรคกลาก เกลื้อน "ทำไมถึงต้องเป็นเรา" มาพบหมอผิวหนังสักนิด


บรรยายพิเศษหัวข้อ : กลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง...ที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ 
บรรยายโดย : อ.พญ.สุพิชชา กมลรัตนกุล
(อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน / แพทย์ด้านผิวหนัง มหาวิทยาลัยมหิดล )
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
ถ้าพูดถึงโรคผิวหนัง กลากและเกลื้อนอาจจะเป็นโรคผิวหนังที่คนไทยจะนึกถึงเป็นอันดับต้น ๆ แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่า กลากและเกลื้อนเป็นคนละโรคกันและวิธีการได้รับเชื้อของทั้ง 2 โรคนี้แตกต่างกัน
          ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเขตร้อนนะคะ เราจะพบโรคเกลื้อนมากกว่าคนในกลุ่ม ของประเทศที่เป็นฝั่งยุโรป หรือว่าประเทศที่ไม่ได้อากาศร้อนเท่าเรานะคะ เช่นเดียวกับโรคกลาก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราเหมือนกัน ก็จะพบมากในประเทศเขตร้อนมากกว่าค่ะ

โรคกลากและโรคเกลื้อน มาจากเชื้อชนิดเดียวกัน ใช่ไหมครับหมอ

          โรคกลากและโรคเกลื้อนต้องบอกว่า เป็นคนละโรคกันเลยนะคะ โรคเกลื้อนไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก Normal Flora หรือว่าเชื้อรา ที่อยู่บนผิวหนังของคนปกติอยู่แล้ว แล้วมันถูกกระตุ้นด้วยความร้อน ถูกกระตุ้นด้วยเหงื่อที่ออกมากขึ้น บางคนที่ภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง หรือว่ายาบางชนิดทำให้เกิดโรค ลักษณะของโรคเกลื้อนจะเป็นเหมือนวง ๆ มีได้หลายสี ตั้งแต่สีขาว สีแดง สีน้ำตาล แล้วพบขุยอยู่รอบ ๆ
ลักษณะโรคเกลื้อน

          ในขณะที่โรคกลาก โรคกลากเกิดจากเชื้อโรคเชื่อรา กลุ่ม Dermatophyte ซึ่งติดจากคนที่เป็นโรค ติดจากสัตว์ หรือติดจากพื้นดินพื้นทรายได้ ลักษณะของโรคกลากติดได้ตั้งแต่ ผิวหนัง ผม และเล็บ ที่ผิวหนังก็จะเห็นว่าเป็นวง ๆ นูนสีแดง ขอบ ๆ วงบางทีมีขุยอยู่รอบ ๆ ได้ ถ้าเป็นการติดเชื้อบริเวณเล็บ เล็บก็จะมีลักษณะที่หนามากขึ้น หรือการติดเชื้อบริเวณผม ผมก็จะมีหักแหว่งร่วงเป็นหย่อม และก็อาจจะพบขุยขาว ๆ บริเวณหนังศีรษะได้
ลักษณะโรคกลากบนผิวหนัง
ลักษณะกลากกินหัว นี่ค่ะหนู

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลากและโรคเกลื้อน มีอะไรบ้างครับหมอ 

          คนไข้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกลื้อนนะคะ เนื่องจากโรคเกลื้อนเกิดจากความร้อน ความชื้น เพราะฉะนั้น คนที่เสี่ยงก็คือคนที่มีเหงื่อออกเยอะ วัยรุ่นถึงวัยกลางคน รวมทั้งคนที่อาจจะใช้ยาบางประเภท เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือว่ายากดภูมิคุ้มกันบางอย่างนะคะ ก็จะทำให้กลุ่มคนพวกนี้ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกลื้อนมากขึ้น ในขณะที่โรคกลาก เป็นการติดเชื้อจากภายนอก เพราะฉะนั้นเจอได้ทุกเพศทุกวัยนะคะ
(คนไข้) สวัสดีครับ
(หมอ) สวัสดีค่ะ
(หมอ) วันนี้เป็นอะไรมาคะ
(คนไข้) เป็นผื่นครับ
(หมอ) เป็นตรงไหนบ้างคะ
(คนไข้) เป็นที่แขนครับ
(หมอ) เป็นมานานแค่ไหนแล้วคะ
(คนไข้) ประมาณเดือนหนึ่งครับ
(หมอ) ได้ใช้ยาหรือว่าได้ทำการซื้อยา อะไรมาทาเองก่อนบ้างไหมคะ

ยากลุ่มไหนบ้างที่กระตุ้นให้โรคกลาก เกลื้อนรุนแรงขึ้นครับหมอ

          (หมอ) ยาที่คนไข้ควรหลีกเลี่ยง คือ ยากลุ่มสเตียรอยด์ค่ะ เพราะว่าอย่างที่บอกยากลุ่มสเตียรอยด์ กระตุ้นให้เกลื้อนเป็นมากขึ้นได้นะคะ รวมทั้งยากลุ่มสเตียรอยด์ก็จะกระตุ้น ให้กลากเป็นมากขึ้นได้ด้วยเช่นกันค่ะ
(หมอ) ที่บ้านได้เลี้ยงสัตว์อะไรบ้างไหมคะ
(คนไข้) มีเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสุนัข
(หมอ) ก็จากลักษณะผื่น ที่ดูเป็นวงขอบกลม ๆ สีแดง แล้วก็ขอบ ๆ ผื่นมีสะเก็ดนะคะ ตอนนี้ที่สงสัยคือเป็นโรคกลากมากที่สุดนะคะ เดี๋ยวอย่างไรหมอจะขออนุญาต ขูดผิวหนังไปดูเพื่อดูเชื้อรานิดหนึ่งนะคะ แล้วเดี๋ยวถ้าเกิดผลได้อย่างไร หมอจะมาบอกอีกที แล้วเดี๋ยวก็ให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไปนะคะ

ขั้นตอนการรักษา โรคกลาก เกลื้อน เป็นอย่างไรครับหมอ

          อันดับแรกเมื่อคนไข้มา แพทย์ก็จะดูจากอาการก่อน ถ้าอาการเข้าได้กับโรคกลากหรือโรคเกลื้อน
ก็จะอาจมีการตรวจวินิจฉัย ทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การขูดขุยของผิวหนังไปดูเพิ่มเติม ยืนยันว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่นะคะ
(หมอ) ผลที่เมื่อสักครู่เราได้ขูดผิวหนังไป ออกมาแล้วว่าเจอเป็นเชื้อราของโรคกลากนี้นะคะ

วิธีการรักษาโรค กลากเกลื้อน มีวิธีใดบ้าง เหมือนกันหรือเปล่าครับหมอ

          ในโรคกลาก การรักษาก็จะมีทั้งยาทา กลุ่มยาฆ่าเชื้อรา และก็ยากิน ซึ่งยากินเราจะให้ในกรณีที่คนไข้เป็นมาก หรือเป็นเชื้อโรคกลากที่เล็บ เป็นเชื้อโรคกลากที่ผม เป็นซ้ำบ่อย ๆ เป็นคนที่ใช้ยาทาแล้วไม่ได้ผลนะคะ
          การรักษาโรคเกลื้อน อันดับแรก เราก็จะมีเป็นแชมพูฆ่าเชื้อรา ซึ่งเราจะใช้ฟอกในบริเวณที่เป็น ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วก็ล้างออก แล้วก็มียาทาในกลุ่มที่เป็นยาฆ่าเชื้อรา แล้วก็ยากิน ซึ่งก็จะใช้ในกรณีที่ คนไข้เป็นซ้ำ ๆ ไม่หาย หรือว่าใช้ยาทาแล้วไม่ได้ผล

ขณะรักษาโรคกลาก เกลื้อน มีข้อระวังอะไรบ้างครับหมอ

          (หมอ) ระหว่างนี้ที่ต้องระวังคือ อย่างที่บอกว่ามันเป็นโรคที่ติดได้นะคะ เพราะฉะนั้นอาจจะต้องระวังคนอื่นมาติดโรคได้ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง หรือว่าการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่นนะคะ ข้อสองก็คือว่า อย่าลืมเช็กเรื่องน้องหมาที่บ้าน ว่าเขามีโรคมีอะไรหรือเปล่า ก็จะได้รักษาเขาด้วยนะคะ
          โรคกลากเป็นการติดเชื้อ เพราะฉะนั้น วิธีป้องกันก็คือว่า อย่าไปสัมผัสกับคนที่เป็นโรค และก็พยายามหลีกเลี่ยง การใช้ของร่วมกับคนที่เป็นโรค รวมทั้งกลากติดเชื้อได้จากน้องหมาน้องแมว ถ้าเกิดน้องหมาน้องแมวเริ่มมีผื่นผิวหนังอะไร ต้องพาไปหาสัตวแพทย์เพื่อพาเขาไปรักษานะคะ

วิธีการป้องกัน โรคกลาก เกลื้อน สำหรับคนที่ยังไม่เป็น มีอะไรบ้างครับหมอ

          วิธีป้องกันสำหรับโรคเกลื้อน เราก็ต้องหลีกเลี่ยง ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคเกลื้อน เช่น ถ้าเราโดนความร้อน ก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง ถึงแม้จะเป็นไปได้ยากมากในประเทศไทย ปัจจัยกระตุ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ เหงื่อค่ะ ถ้าเกิดเล่นกีฬาหรือว่าออกกำลังกาย หรือว่ามีเหงื่อเยอะ ๆ แนะนำให้อย่าเก็บไว้ รีบอาบน้ำและทำความสะอาดทันทีนะคะ

การซื้อยามากินเอง คุณหมอมีคำแนะนำอะไรบ้างครับ

          คนที่สงสัยว่าจะเป็นโรคกลากและโรคเกลื้อนนะคะ แนะนำให้มาพบแพทย์ก่อน เพราะว่ามีหลายโรคที่ลักษณะคล้ายคลึงกัน และถ้าไปซื้อยามาเอง แล้วซื้อยามาใช้ผิด ก็เสี่ยงต่อการแพ้ยา และก็อาจจะรักษาไม่ตรงจุดนะคะ ถ้าอย่างไรสงสัยโรคผิวหนัง โรคกลาก โรคเกลื้อน แนะนำให้มาพบแพทย์ก่อน เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ ถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพผิว อย่าลืมมาพบหมอนะคะ

[ขอขอบคุณ อ.พญ.สุพิชชา กมลรัตนกุล อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://www.mahidolchannel.com | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคกลาก เกลื้อน ทำไมถึงต้องเป็นเรา มาพบหมอผิวหนังสักนิด
โรคกลาก เกลื้อน ทำไมถึงต้องเป็นเรา มาพบหมอผิวหนังสักนิด
คันไปทั่วเรือนร่าง เกาจนแสบเลือดซิบๆ ทั้งอายและทรมานเหลือเกินครับหมอ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj3TmzKrs68IPFcrIGhkgMB8WPsv2z57-TXKPFkcqwQDCTTcswWpdCFXXXgtbjzA_MHGJyGWY8b3OJNeI10rNYrH2VDnvpPLbiCkleNBLMSFQtu2G-mLFkJYYMpsPVcvKeyqItPEulli0A/s320/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj3TmzKrs68IPFcrIGhkgMB8WPsv2z57-TXKPFkcqwQDCTTcswWpdCFXXXgtbjzA_MHGJyGWY8b3OJNeI10rNYrH2VDnvpPLbiCkleNBLMSFQtu2G-mLFkJYYMpsPVcvKeyqItPEulli0A/s72-c/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_9.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_9.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy