ทำความรู้จักเครื่องวัดความดันโลหิต

เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอลซื้อยี่ห้อไหนดี


บทความโดย
รองศาสตราจารย์.ดร.ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร, รศ.ภญ.ยุวดี วงษ์กระจ่าง
และ ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด ความดันจะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่าทาง ความเครียด การออกกำลังกาย และการพักผ่อนนอนหลับ ค่าความดันปรกติคือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท เมื่อความดันสูงกว่าเกิน 140/90 มิลลิเมตร แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
          โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านและไม่มีอาการเตือน ดังนั้นการจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง (2013 ESH/ESC Guidelines) ให้ความสำคัญกับ home blood pressure monitoring (HBPM) ในการพยากรณ์โรค, การวินิจฉัยและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
          Home blood pressure monitoring (HBPM) เป็นการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ด้วยตัวของผู้ป่วยเอง หรือ บุคคลในครอบครัวที่ได้รับการแนะนำวิธีและเทคนิคในการวัดความดันโลหิต การวัดความดัน ควรทำในห้องที่เงียบสงบ ผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั่ง ที่มีการรองหลังและแขน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาทีก่อนทำการวัดความดัน ควรวัดความดัน 2 ครั้ง ในระยะห่าง 1 ถึง 2 นาที และทำการบันทึกข้อมูลในสมุดจดทันทีที่ทำการวัดเสร็จในแต่ละรอบ การวัดความดันโลหิต ควรทำทุกวัน ติดกันอย่างน้อย 3 ถึง 4 วัน และควรวัดสม่ำเสมอ ที่ระยะทุกๆ 7 วัน ในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน

มารู้จักเครื่องวัดความดันโลหิตกัน เครื่องวัดความดันโลหิตมีอยู่ 3 ชนิดคือ

1. เครื่องวัดความดันชนิดปรอท (Mercury sphygmonometer)

         เครื่องวัดความดันชนิดปรอท เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับวัดความดันโลหิต วัดง่ายไม่ต้องมีการปรับแต่ง ใช้หลักการแรงโน้มถ่วงของโลก ให้ผลการวัดที่แม่นยำ เครื่องมือประกอบด้วยแท่งแก้วที่มีสารปรอทอยู่ภายใน บางท่านไม่แนะนำให้ใช้ตามบ้านเพราะกลัวอันตรายจากสารปรอท แต่รุ่นที่ออกแบบสำหรับใช้ตามบ้านจะมีความปลอดภัยสูง ข้อเสียของเครื่องมือนี้คือ มีขนาดใหญ่พกพาลำบาก เครื่องจะต้องตั้งตรงบนพื้นเรียบ แท่งปรอทจะต้องอยู่ระดับสายตาจึงจะอ่านค่าได้แม่นยำ ผู้ที่สายตาไม่ดีหรือได้ยินไม่ชัดหรือไม่สามารถบีบลมจะทำให้การวัดไม่แม่น หากมีการรั่วอาจจะเกิดพิษจากสารปรอท เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด (Aneroid equipment)

2. เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด

          เป็นเครื่องมือที่ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา และพกพาสะดวกมากกว่าชนิดปรอท เครื่องวัดชนิดนี้สามารถวางตำแหน่งไหนก็ได้ บางรุ่น มีหูฟังอยู่ในสายพันแขน ข้อด้อยของเครื่องมือนี้คือ เครื่องมือมีกลไกซับซ้อน ต้องปรับเครื่องมือโดยเทียบกับเครื่องมือชนิดปรอทอย่างน้อยปีละครั้งหรือเมื่อมีการทำตก หากผู้ป่วยใช้ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เครื่องชำรุด และต้องส่งไปซ่อม ผู้ที่สายตาไม่ดีหรือได้ยินไม่ชัดหรือไม่สามารถบีบลมจะทำให้การวัดไม่แม่น

3. เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล (Automatic equipment)

          เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องมีหูฟังหรือลูกยางสำหรับบีบลมทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถพกพาได้ง่าย ข้อผิดพลาดน้อยเหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ สายตาและการได้ยินไม่ดี แสดงผลเป็นตัวเลขที่หน้าจอพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจ บางชนิดสามารถพิมพ์ผลค่าที่วัด สายพันมีทั้งชนิดพันที่แขนและข้อมือ ข้อด้อยคือ เครื่องมือประกอบด้วยกลไกซับซ้อน แตกหักง่าย ต้องมีการตรวจสอบความแม่นยำของการวัดเมื่อเทียบกับเครื่องชนิดปรอท หากร่างกายเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดการผิดพลาดของการวัด ราคาค่อนข้างแพง และต้องใช้ไฟฟ้า
          ปัจจุบันเครื่องวัดความดันโลหิต จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไป พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 เนื่องจากปรอทมีพิษและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมติจากที่ประชุมมนตรีประศาสน์การของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ให้จัดทำมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านการจัดการสารปรอท ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ปรอทภายในปี 2567 เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอทจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาตรการนี้ด้วย
          โครงการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์สาหรับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการบริหารจัดการความปลอดภัยของสารปรอทในผลิตภัณฑ์ โดยคณะเภสัชศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ทำการศึกษาสถานการณ์การใช้เครื่องวัดความดันในปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) พบว่า มีการใช้เครื่องวัดความดันชนิดปรอทเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น เมื่อต้องยกเลิกการใช้ความดันชนิดปรอท จึงไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก แต่ปัญหาน่าจะเกิดจากมาตรฐานของเครื่องวัดความดันอัตโนมัติ ซึ่งจากโครงการ “การพัฒนาขีดความสามารถการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิตของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์” ของสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโครงการ “การยกระดับการควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ปี พ.ศ.2555” โดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าจากการสุ่มตัวอย่างกว่า 1,200 เครื่องทั่วประเทศ พบว่ามีเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ประมาณร้อยละ 10 และร้อยละ 17 ไม่สามารถทดสอบได้ เนื่องจากขาดข้อมูลทางเทคนิคและอุปกรณ์พิเศษเฉพาะรุ่นของเครื่องนั้น

เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โครงการฯจึงมีข้อเสนอเชิงนโยบาย (โดยสังเขป) ดังนี้
  • ควรยกระดับการควบคุมเครื่องวัดความดันเป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีการกำหนดมาตรฐาน และมีการสอบเทียบหลังการใช้งานทุก 2 ปี อย่างต่อเนื่อง
  • กำหนดให้บริษัทผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายต้องมีคู่มือแนะนำ วิธีมาตรฐานในการใช้ การจัดเก็บ และการบำรุงรักษาเครื่องมือ สำหรับผู้ใช้งาน และผู้ดูแลเครื่องมือ และจัดหาข้อต่อชิ้นส่วนรองรับ (ถ้ามี) เพื่อให้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติสามารถเข้าระบบการทดสอบมาตรฐานได้
  • ต้องตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องวัดความดันโลหิต อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรมีกฎหมายหรือมาตรฐานทางสังคมต่อผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ให้มีความร่วมมือในการเผยแพร่องค์ความรู้ในการจัดการเครื่องมือที่ถูกต้อง เช่น วิธีการทดสอบมาตรฐานเครื่อง อาจรวมเป็นมาตรฐานการให้บริการบริการหลังการจำหน่าย โดยสรุปควรกำหนดมาตรฐานของเครื่องวัดความดัน และกำหนดให้ตรวจสอบความถูกต้องเป็นระยะทุก 2 ปี ซึ่งอาจกำหนดให้เป็นภาระของผู้จำหน่าย โดยประกาศแจ้งให้ผู้ใช้และผู้ดูแลเครื่องมือทราบและติดตามการตรวจสอบตามกำหนดเวลา เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
          ** ข้อมูลจากโครงการศึกษาเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การสำหรับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการความปลอดภัยของสารปรอทในผลิตภัณฑ์สุขภาพ นำเสนอคณะทำงานด้านการจัดการสารปรอททางภาคสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ขอขอบคุณที่มาบทความนี้ www.pharmacy.mahidol.ac.th

[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ทำความรู้จักเครื่องวัดความดันโลหิต
ทำความรู้จักเครื่องวัดความดันโลหิต
เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอลซื้อยี่ห้อไหนดี
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgq0ceMqVoDJGCU3SNVtNoMyrf8dMht1LPQvtyg7iCOUmgAUkvOWAgbf-Nvrclx3lEyICUBpEnMRpQ9yDFs58_pLU5AMmCbp4R_m6xlLHwAZcEx3NxVV9vO3WOIqdEVcor8aII3pgbWhsA/s320/what-brand-of-blood-pressure-meter-is-good.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgq0ceMqVoDJGCU3SNVtNoMyrf8dMht1LPQvtyg7iCOUmgAUkvOWAgbf-Nvrclx3lEyICUBpEnMRpQ9yDFs58_pLU5AMmCbp4R_m6xlLHwAZcEx3NxVV9vO3WOIqdEVcor8aII3pgbWhsA/s72-c/what-brand-of-blood-pressure-meter-is-good.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_16.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_16.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy