ภาวะสมองตาย มีโอกาสฟื้นหรือไม่ หมอมีคำตอบ

สมองตายแล้วแต่ยังหายใจอยู่ ญาติจะทำอย่างไรต่อดี

บทความโดย
นพ.ชวโรจน์ เกียรติกำพล อายุรแพทย์
ที่มา : HealthToday Magazine, No.217 May 2019

ภาวะสมองตาย (Brain Death) คืออะไร

หลายต่อหลายครั้งที่หมอพบว่าญาติผู้ป่วยมีความไม่เข้าใจเมื่อได้รับการชี้แจงว่าผู้ป่วยท่านนั้น ๆ มี “ภาวะสมองตาย” อีกทั้งทางการแพทย์มักจะได้รับคำถามตามมามากมาย เช่น ผู้ป่วยยังหายใจตามเครื่องช่วยหายใจได้อยู่ ทำไมหมอจึงบอกว่าสมองไม่ทำงานแล้ว? หรือ ทำไมยังตรวจพบว่าผู้ป่วยมีสัญญาณชีพ คือความดันโลหิต อุณหภูมิ อัตรากการหายใจ และชีพจรได้อยู่ ทั้ง ๆ ที่แพทย์บอกว่าสมองไม่ทำงานแล้ว? เป็นต้น บทความฉบับนี้หมอเลยขอชี้แจงและทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ผู้อ่านได้รับรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันครับ

ที่มาของนิยาม “ภาวะสมองตาย”

          หากย้อนกลับไปในอดีต การจะดูว่าบุคคลใดเสียชีวิตแล้วในทางการแพทย์เราจะพิจารณาจากการเกิดภาวะที่อวัยวะสําคัญทั้ง 3 อวัยวะ อันได้แก่ หัวใจ ปอด และ สมอง หยุดการทํางาน แต่เมื่อความรู้และเทคโนโลยีการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะที่อวัยวะสําคัญทั้ง 3 ไม่ได้หยุดการทํางานลงพร้อมกัน โดยอาจมีเพียงสมองเท่านั้นที่ไม่มีการทํางานแล้ว แต่หัวใจยังคงเต้นต่อไปได้จากยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ หรือปอดยังคงทํางานต่อไปได้โดยอาศัยอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์บางอย่าง เช่น เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น ซึ่งภาวะนี้นับได้ว่าเป็นภาวะอันละเอียดอ่อนทางการแพทย์ เพราะนําไปสู่สถานการณ์ที่ยากต่อการตัดสินใจทางการแพทย์อีกหลายประเด็น เช่น การตัดสินใจหยุดการรักษาพยาบาล การตัดสินใจช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือแม้แต่การตัดสินใจนําอวัยวะออกจากร่างกายเพื่อการบริจาคปลูกถ่ายอวัยวะให้ผู้ป่วยคนอื่น จึงนําไปสู่การนิยามศัพท์คําว่า “สมองตาย” หรือ “Brain death” ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสมองตายมีอะไรบ้าง

          เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสมองตายโดยอ้างอิงจากแพทยสภา ปี พ.ศ.2554 นั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่หลายข้อด้วยกัน หมอขอนำส่วนที่สำคัญมาแสดงไว้บางส่วนดังนี้ครับ
1. ผู้ป่วยต้องไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจโดยมีข้อวินิจฉัยถึงสาเหตุให้รู้แน่ชัดว่าสภาวะของผู้ป่วยนี้เกิดขึ้นจากการที่สมองเสียหายโดยไม่มีหนทางเยียวยาได้ และ
2. การไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจนี้ไม่ได้เกิดจาก
     2.1 พิษยา (Drug intoxication) เช่น ยาเสพติด ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ สารพิษที่มีผลให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน
     2.2 ภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำรุนแรง (น้อยกว่า 32 องศาเซลเซียส)
     2.3 ภาวะผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อและเมตาโบลิก
     2.4 ภาวะช็อก ( Shock) ยกเว้นที่เกิดจากการสูญเสียหน้าที่ของระบบประสาทที่ควบคุมการเต้นของหัวใจและการหดตัวของหลอดเลือด (Neurogenic shock)
3. เมื่อผู้ป่วยอยู่ในสภาวะครบตามเงื่อนไขข้อ 2 แล้ว เพื่อยืนยันการวินิฉัยสมองตายให้ตรวจตามเกณฑ์ดังนี้
     3.1 ตรวจไม่พบการเคลื่อนไหวใด ๆ ได้เอง ยกเว้นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากรีเฟลกซ์ของไขสันหลัง (Spinal reflex)
     3.2 ตรวจไม่พบรีเฟลกซ์ของก้านสมองทั้งหมด ยกเว้นในส่วนที่มีข้อจำกัดไม่สามารถตรวจได้
4. สภาวะทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นนี้ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง จึงวินิจฉัยสมองตายได้
5. มีการทดสอบการไม่หายใจ (Apnea test) ให้ผลเป็นบวก หมายความว่าไม่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้องเมื่อหยุดเครื่องช่วยหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที บ่งบอกถึงก้านสมองสูญเสียหน้าที่โดยสิ้นเชิงและสมองตาย

วิธีปฏิบัติในการวินิจฉัยสมองตาย 

  1. การวินิจฉัยสมองตายให้กระทำโดยองค์คณะของแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องไม่ประกอบด้วยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะรายนั้น หรือแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่ต้องการอวัยวะไปปลูกถ่าย
  2. แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองตายที่อยู่ในข่ายเป็นผู้บริจาคอวัยวะได้ตามเกณฑ์ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ควรดำเนินการตรวจวินิจฉัยสมองตายโดยไม่ชักช้า และแจ้งให้ญาติของผู้ป่วยทราบ เมื่อผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่จะทดสอบการไม่หายใจ เพื่อเตรียมความพร้อมของญาติ และให้โอกาสในการบริจาคอวัยวะเมื่อวินิจฉัยสมองตายแล้ว
  3. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้ได้รับมอบหมายจะต้องร่วมเป็นผู้รับรองการวินิจฉัยภาวะสมองตายและเป็นผู้ลงนามรับรองการตาย และแพทย์ควรให้การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์บริจาคอวัยวะได้ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยต่อไป
          ผู้อ่านจะสังเกตได้ว่าเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะนี้มีรายละเอียดและระมัดระวังรอบคอบในทุกขั้นตอนเป็นอย่างยิ่งกว่าที่จะถึงขั้นตอนการนำผลไปแจ้งต่อญาติที่ตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อลดความลังเลสงสัยที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายแล้วการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ที่ตามมาหลังจากนี้ เช่น การยุติการรักษาเพื่อการจากไปอย่างสงบของผู้ป่วย รวมถึงการตัดสินใจว่าจะบริจาคอวัยวะหรือไม่ คงสุดแล้วแต่ญาติสายตรงเป็นผู้พิจารณาเองครับ ทางการแพทย์เราไม่มีสิทธิ์บังคับใด ๆ ได้ทั้งสิ้นนะครับ

Reference
https://www.medscape.com/viewarticle/907210
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ภาวะสมองตาย มีโอกาสฟื้นหรือไม่ หมอมีคำตอบ
ภาวะสมองตาย มีโอกาสฟื้นหรือไม่ หมอมีคำตอบ
สมองตายแล้วแต่ยังหายใจอยู่ ญาติจะทำอย่างไรต่อดี
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEikT_2KOdmONW-r2HUgN2D-RowE3B1ApbbK_0GukPEBE2D3j_yaF-W8JaZqbKCb73xpwINBLKGjf6lPEGUeMRc2UAhZBZ2UMLsTjjk6c0yKJNrROvITU7tfN2-Km-28vREprFQ4rugClJQ/s320/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2-brain+deah.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEikT_2KOdmONW-r2HUgN2D-RowE3B1ApbbK_0GukPEBE2D3j_yaF-W8JaZqbKCb73xpwINBLKGjf6lPEGUeMRc2UAhZBZ2UMLsTjjk6c0yKJNrROvITU7tfN2-Km-28vREprFQ4rugClJQ/s72-c/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2-brain+deah.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_3.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_3.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy