โรคไลม์ (Lyme disease) : รู้เร็ว รู้ทัน อยู่รอดปลอดภัย

โรคไลม์ไม่เคยระบาดในไทย แล้วมาจากไหนกัน

ทำความรู้จักโรคไลม์
บทความโดย
อาจารย์ ดร.ทนพ. เมธี ศรีประพันธ์
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ปี 2562 ที่ผ่านมา มีการนำเสนอและแชร์ข่าวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันหรือในอดีตแทบจะไม่เคยได้ยินข่าวหรือรายงานการระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยเลย โดยโรคนี้มีแมลงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เห็บ” (คนไทยจะคุ้นเคยกับชื่อแมลงชนิดนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากแมลงชนิดนี้สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงที่มีความใกล้ชิดกับคน เช่น สุนัขหรือแมว) เป็นพาหะในการนำเชื้อมาสู่คน ซึ่งโรคที่จะกล่าวถึงในบทความเรื่องนี้คือโรคไลม์ (Lyme disease) นั่นเอง
          โรคไลม์ (Lyme disease) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายเกลียวสว่าน ชื่อว่า Borrelia burgdorferi (บอร์รีเลีย เบริ์กโดเฟอรี่) ซึ่งพาหะที่สำคัญในการนำโรคมายังคนคือตัว “เห็บ” ปกติเชื้อชนิดนี้จะทำให้เกิดการติดเชื้อในสัตว์ โดยสัตว์ที่เป็นแหล่งกักตุนเชื้อโรคหรือรังโรคที่สำคัญได้แก่ สุนัข แมว ม้า กวาง วัว ควาย หนู เป็นต้น เมื่อเห็บไปดูดเลือดสัตว์เหล่านี้และไปกัดสัตว์อื่น ๆ หรือกัดคนเพื่อดูดเลือดทำให้มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อ ส่งผลให้สัตว์หรือคนที่ถูกกัดเป็นโรคได้ ส่วนใหญ่การระบาดของโรคนี้จะอยู่ในพื้นที่ของประเทศแถบอเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย
          สำหรับประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานการระบาดและรายงานผู้ป่วยโรคไลม์ มาก่อนในอดีต อย่างไรก็ตามเคยมีการศึกษาวิจัยในประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า สามารถตรวจพบแอนติบอดีรวมถึงสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคไลม์ในสุนัข แต่ไม่พบเชื้อในตัวเห็บที่เก็บมาจากสุนัขที่ถูกนำไปศึกษาในงานวิจัยดังกล่าว (เอกสารอ้างอิงที่ 4)
          สำหรับผู้ป่วยคนไทยที่มีรายงานการติดเชื้อครั้งนี้เป็นผู้ที่มีประวัติการเดินทางไปต่างประเทศที่เป็นแหล่งระบาดของโรคดังกล่าวและอาจถูกเห็บกัดทำให้ได้รับเชื้อมา ซึ่งยืนยันจากการตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อดังกล่าวในเลือด

อาการที่พบ

          บริเวณที่ถูกเห็บกัดจะมีลักษณะแผลเรียบสีแดง และขยายวงกว้างออกไป โดยมีชื่อเรียกลักษณะที่เกิดขึ้นว่า erythema migrans (ดังภาพที่ 1) นอกจากนี้อาจมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมาอีกนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาจมีอาการปวดทางข้อ อาการทางระบบประสาท อาจเกิดการอัมพาตหรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้า รวมถึงมีภาวะใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจตื้น ถ้าไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ปวดหัวรุนแรง ปวดข้อ เอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกอย่างรุนแรง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ นอกจากนี้อาจมีปัญหาด้านการรับรู้ การจดจำ การพูด และอารมณ์แปรปรวนตามมาได้ รวมถึงมีโอกาสที่จะเกิดภาวะผิดปกติที่หัวใจและปอดร่วมด้วย ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
ลักษณณะผื่นแบบ erythema migrans ที่สัมพันธ์กับโรคไลม์

การวินิจฉัย

          แพทย์จะวินิจฉัยโรคจากการตรวจร่างกาย ซักประวัติการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไลม์ รวมถึงประวัติการสัมผัสสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรค นอกจากนี้ผู้ที่สงสัยการติดเชื้อจะถูกตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี (สามารถตรวจได้ภายใน 3-6 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ) รวมถึงอาจใช้วิธีตรวจโดยใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาเข้าร่วมด้วย ถ้าผู้ป่วยมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดข้อหรืออาการทางระบบประสาท จะมีการประเมินภาวะดังกล่าวเพื่อประกอบการวินิจฉัยร่วมด้วย

การรักษา

          ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วจะทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเช่น Doxycycline, Amoxicillin หรือ Ceftriaxone เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการติดตามอาการรวมถึงเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนระหว่างและภายหลังการรักษาเช่นกัน

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการไปในบริเวณที่มีเห็บชุกชุมหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดรวมถึงใช้ยาป้องกันแมลงกัดทุกครั้งเมื่อไปเที่ยวป่าหรือเข้าไปในบริเวณที่มีหญ้าขึ้นสูงและรก
  • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของเห็บและแมลงอื่นๆ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่ของเห็บรวมถึงลดโอกาสการแพร่เชื้อจากเห็บสู่คน
  • ถ้าโดนเห็บกัดให้รีบดึงตัวเห็บออก จากนั้นทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำเปล่า น้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล หมั่นสังเกตอาการ ถ้าพบว่ามีภาวะผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที
เอกสารอ้างอิง
  • วิชชุดา กมลวิทย์, สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง. Spirochetes. ใน: พบชัย งามสกุลรุ่งโรจน์, วรรณี กัณฐกมาลากุล, ไอยฤทธิ์ ไทยพิสุทธิกุล, ภัทรชัย กีรติสิน, บรรณาธิการ. จุลชีววิทยาการแพทย์ (medical microbiology). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง; 2556. หน้า 229-37.
  • Honestdoc. โรคไลม์ (Lyme) คืออะไร? สาเหตุ อาการ การรักษา [อินเตอร์เน็ต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2019]. เข้าถึงได้จาก https://www.honestdocs.co/what-is-lyme-disease.
  • Pobpad. โรคไลม์ (LYME DISEASE) [อินเตอร์เน็ต]. 2016 [เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2019]. เข้าถึงได้จาก https://www.pobpad.com/lyme-disease-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B9%8C.
  • Sthitmatee N, Jinawan W, Jaisan N, Tangjitjaroen W, Chailangkarn S, Sodarat C, et al. Genetic and immunological evidences of Borrelia burgdorferi in dog in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2016; 47(1): 71-7.
  • ข้อมูลจาก Fanpage: หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC [อินเตอร์เน็ต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2019]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/หมอมนูญ-ลีเชวงวงศ์-FC-604030819763686.
  • ที่มาของรูปภาพจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) เข้าถึงได้จาก: https://www.cdc.gov/lyme/images/rashes/CDC_EM.jpg.

บทความต้นฉบับ
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/462/โรคไลม์-Lymedisease/
Reference
https://www.foxnews.com/health/are-you-putting-yourself-at-risk-for-lyme-disease
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคไลม์ (Lyme disease) : รู้เร็ว รู้ทัน อยู่รอดปลอดภัย
โรคไลม์ (Lyme disease) : รู้เร็ว รู้ทัน อยู่รอดปลอดภัย
โรคไลม์ไม่เคยระบาดในไทย แล้วมาจากไหนกัน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjDHh2iExmXbnPOe_YYjmXpGqRaw1yGqN3u51wgi_T6A6NcHry27n1T6_wtouP5icp45rzxpuviODzZA7h8bBy3bn-dps5_O2e__eLeaH3exCQVAeIjhNHBYG_W9SpgC8TdpgA2v0D6woc/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%258C.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjDHh2iExmXbnPOe_YYjmXpGqRaw1yGqN3u51wgi_T6A6NcHry27n1T6_wtouP5icp45rzxpuviODzZA7h8bBy3bn-dps5_O2e__eLeaH3exCQVAeIjhNHBYG_W9SpgC8TdpgA2v0D6woc/s72-c/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%258C.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/lyme-disease.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/lyme-disease.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy