การอ่านผลการตรวจเลือดที่คุณจำเป็นต้องรู้ไว้

ผลเลือดของคุณอยู่ในระดับปกติหรือไม่และต้องระวังโรคอะไร


บทความโดย
อาจารย์ ดร. วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ
ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          การตรวจเลือด (Blood testing) เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญเพื่อบ่งชี้การทำงานของอวัยะต่าง ๆ ภายในร่างกาย หรือเป็นการตรวจวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคหรือสภาวะบางอย่างที่ผิดปกติของร่างกายได้ เชื่อว่าผู้ป่วยหลาย ๆ ท่านหรือผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเมื่อได้ใบผลการตรวจเลือดจากโรงพยาบาลนั้น มักจะไม่เข้าใจความหมายของค่าต่าง ๆ จากข้อจำกัดดังกล่าวบทความนี้จึงได้รวบรวมคำอธิบายและความหมายของค่าต่าง ๆ ไว้เพื่อช่วยให้หลาย ๆ ท่านได้เข้าใจผลเลือดของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

          อย่างไรก็ตามผลการตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถยืนยันความผิดปกติที่พบหรือโรคบางโรคได้ เนื่องจากโรคบางชนิดต้องอาศัยการตรวจหลายอย่างเพื่อยืนยันผลและมีหลายปัจจัยที่ทำให้ผลตรวจเลือดออกมาอยู่ในเกณฑ์ไม่ปกติ เช่น อาหารที่รับประทาน อยู่ในช่วงมีประจำเดือน การออกกำลังกาย ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม หรือการใช้ยาบางชนิด จึงจำเป็นต้องมีการตรวจในขั้นตอนต่อไปเพิ่มขึ้นตามดุลยพินิจของแพทย์ หรือตรวจซ้ำอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามการตรวจเลือดเป็นวิธีการพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่จะใช้ในการวินิจฉัย ซึ่งในปัจจุบันการตรวจเลือดแบ่งได้หลายประเภทดังนี้

การตรวจทางเคมีในเลือด (Blood Chemistry)

น้ำตาลในเลือด (Blood sugar)

การเตรียมผู้ป่วย ผู้ป่วยอดอาหารก่อนการเจาะเลือด 8 ชั่วโมง (ดื่มน้ำเปล่าได้)

1. Glucose กลูโคสเป็นน้ำตาลชนิดสำคัญในร่างกายทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ ทางการแพทย์ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นสารบ่งชี้โรคเบาหวาน
ค่าปกติ
  • ผู้ใหญ่ 70-100 mg/dL
  • เด็ก 60-100 mg/dL
ค่าสูง
  • 100-125 mg/dl มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
  • >= 126 mg/dl เข้าได้กับเบาหวาน นัดมาตรวจเลือดซ้ำ ถ้าผลตรวจเลือดซ้ำ พบว่า FBS>= 126 mg/dl เป็นจำนวน 2 ใน 3 ครั้งถือว่าเป็นเบาหวาน
2. HbA1c (Glycated hemoglobin) เป็นการตรวจวัด hemoglobin ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือดที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด และคงอยู่ในเลือดของเราได้นานถึง 8-12 สัปดาห์ ดังนั้นการตรวจวัดระดับของ HbA1c จึงสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด ณ ช่วงเวลา และใช้ติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในระยะยาวของผู้ป่วยเบาหวานได้
  • ค่าปกติ 4.8-6.0 %
  • ค่าสูง >6.5% เป็นเบาหวาน

ไขมัน (Lipid profile)

วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดเพื่อใช้บ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน หรือตีบตันของเส้นเลือด และใช้ติดตามการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด

การเตรียมผู้ป่วย ผู้ป่วยอดอาหารก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันทุกชนิด (ดื่มน้ำเปล่าได้)

1. Low-density lipoprotein (LDL-cholesterol) เป็นไขมันชนิดที่ทำหน้าที่นำพา cholesterol ในกระแสเลือดเรียก LDL-cholesterol ว่า ไขมันเลว
  • ค่าปกติ <100 mg/dL
  • ค่าสูง - ไขมันในเลือดสูง อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง
2. High-density lipoprotein (HDL-cholesterol) เป็นไขมันชนิดที่ทำหน้าที่เก็บกลับ cholesterol จากอวัยวะต่างๆ กลับเข้าสู่ตับซึ่งเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสลายของไขมัน เรียก HDL-cholesterol ว่า ไขมันดี
  • ค่าปกติ >40 mg/dL (ผู้หญิง), >50 mg/dL (ผู้ชาย)
  • ค่าต่ำ - อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง
3 Total cholesterol เป็นไขมันชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ เอนไซม์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ การตรวจวัดระดับคลอเลสเตอรอลจะบ่งชี้ระดับไขมันโดยรวม ทั้ง HDL-cholesterol, LDL-cholesterol และ triglyceride ภายในเลือด
  • ค่าปกติ <200 mg/dL
4. Triglyceride เป็นไขมันที่ถูกเก็บสะสมในร่างกายในเซลล์ไขมัน (adipose Tissue) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ปกติจะตรวจควบคู่กับไขมันตัวอื่นๆ
  • ค่าปกติ <150 mg/dL
  • ค่าสูง - ไขมันในเลือดสูง

การทำงานของตับ (Liver function test)

การเตรียมผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่ต้องอดอาหารก่อนการเจาะเลือด
  1. Alanine aminotransferase (ALT) หรือ serum glutamate pyruvate transaminase (SGPT) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่พบได้ในเซลล์ตับ ดังนั้นค่า ALT ที่ตรวจพบในกระแสเลือดสามารถบ่งชี้หน้าที่และความผิดปกติที่เกิดที่เซลล์ตับ โดยค่าปกติคือ 0-48 IU/L หากพบความผิดปกติของค่าดังกล่าว อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม
  2. Aspartate aminotransferase (AST) หรือ serum glutamic oxalocetic transaminase (SGOT) เป็นเอนไซม์ ที่พบได้ในเซลล์ตับ และยังสามารถพบได้ในอวัยวะอื่น ๆ เช่น หัวใจ หรือกล้ามเนื้อลาย ด้วยเหตุนี้ AST จึงมีความจำเพาะต่อตับน้อยกว่า ALT โดยปกติมักตรวจคู่กับ ALT เพื่อประเมิณการทำงานของตับเบื้องต้น โดยค่าปกติคือ 0-35 IU/L หากพบความผิดปกติของค่าดังกล่าว อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุเพิ่มเติม
  3. Albumin เป็นโปรตีนที่สร้างจากตับ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเลือด ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันออสโมติกของเลือด และทำหน้าที่เป็นโปรตีนนำพา (carrier) ของสารโมเลกุลที่ไม่ชอบละลายในน้ำ การตรวจวัดโปรตีนชนิดนี้สามารถใช้ประเมินการทำงานของตับ และสามารถบ่งบอกสมดุลของการสร้างของอัลบูมินที่ตับและการขับออกทางไต โดยค่าปกติคือ 3.5-5 mg/dL หากพบความผิดปกติของค่าดังกล่าว อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุเพิ่มเติม
  4. Total bilirubin เกิดจากกระบวนการสลายฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ (ปกติจะมีอายุขัยประมาณ 120 วัน) ซึ่งกระบวนการสลายเกิดขึ้นที่ม้าม และ bilirubin จะถูกส่งมาที่ตับและจะขับออกทางเลือดและน้ำดี การตรวจวัด bilirubin สามารถบ่งบอกการทำงานของตับได้ โดยค่าปกติคือ < 2 mg/dL หากพบความผิดปกติของค่าดังกล่าว อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุเพิ่มเติม

การทำงานของไต (Renal function test)

การเตรียมผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่ต้องอดอาหารก่อนการเจาะเลือด แต่ควรงดอาหารประเภทเนื้อแดง 2-3 วัน ก่อนการตรวจ

1. Blood urea nitrogen (BUN) เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย และจะถูกกำจัดออกผ่านทางไต เมื่อปริมาณ BUN ในเลือดสูงขึ้นอาจบ่งชี้ถึงการทำงานของไตที่ลดลง
  • ค่าปกติ 10-20 mg/dL
  • ค่าสูง การทำงานของไตผิดปกติ การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป การขาดน้ำ
  • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงภาวะขาดสารอาหาร การดูดซึมอาหารไม่ดี หรือตับทำงานผิดปกติ หรือรับยาบางชนิด
2. Creatinine เป็นของเสียที่เกิดจากการสลายกล้ามเนื้อ ที่สามารถตรวจพบได้ในเลือด และถูกขับออกทางไตด้วยปริมาณคงที่ในแต่ละวัน เมื่อไตทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อการกำจัด creatinine ในเลือด ดังนั้นการตรวจวัดระดับ creatinine สามารถบ่งชี้การทำงานของไตได้
  • ค่าปกติ 0.6-1.2 mg/dL
  • ค่าสูง บ่งบอกถึงการทำงานของไตที่เสื่อมสภาพจากภาวะบางอย่าง นิ่วในไต โดยพิจารณาร่วมกับค่า BUN
  • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงภาวะขาดสารอาหาร การดูดซึมอาหารไม่ดี อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count, CBC)

1. Red blood cell (RBC) การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดแดง
  • ค่าปกติ 4.5-6.0 x 106 cell/mm3
  • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น (polycythemia)
  • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง (anemia)
2. Hemoglobin (Hgb) เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำพา oxygen เพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆในเซลล์ การตรวจวัดจะบ่งบอกถึงความสามารถการนำพา oxygen ของเลือด ซึ่งจำนวนของ hemoglobin จะขึ้นกับจำนวนของเม็ดเลือดแดง
  • ค่าปกติ - ผู้ชาย 13-18 mg/dL - ผู้หญิง 12-16 mg/dL
  • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น (polycythemia)
  • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงภาวะโลหิตจาง (anemia)
3. Hematocrit เป็นการวัดปริมาตรของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นต่อปริมาณหนึ่งของเลือด
  • ค่าปกติ - ผู้ชาย 40-54 mg/dL - ผู้หญิง 37-47 mg/dL
  • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น (polycythemia)
  • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง (anemia)
4. Platelet การตรวจวัดจำนวนเกล็ดเลือด ซึ่งมีประโยชน์ในการประเมินสภาพผู้ป่วยที่มีเลือดออกผิดปกติ
  • ค่าปกติ 150,000-440,000 cell/mm3
  • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเกล็ดเลือดสูง (thrombocythemia)
  • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)
5. White blood cell (WBC) การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาว
  • ค่าปกติ 4-11 x 103 cell/mm3
  • ค่าสูง - อาจมีภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสต่าง ๆ
  • ค่าต่ำ - มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสต่าง ๆ
6. Differential WBC การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว
ค่าปกติ
  • Neutrophil 50-70%
  • Lymphocyte 20-40%
  • Monocyte 0-7%
  • Basophil 0-1%
  • Eosinophil 0-5%
ค่าสูง
  • Neutrophil และ monocyte ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย จะพบค่าสูงเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • Lymphocyte ทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด พบค่าสูงเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
  • Eosinophil ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำลาย histamine หรือทำลายเนื้อเยื่อ พบค่าสูงเมื่อร่างกายมีอาการแพ้ ติดเชื้อพยาธิหรือปรสิต

------------------------
ที่มาบทความต้นฉบับ
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การอ่านผลการตรวจเลือดที่คุณจำเป็นต้องรู้ไว้
การอ่านผลการตรวจเลือดที่คุณจำเป็นต้องรู้ไว้
ผลเลือดของคุณอยู่ในระดับปกติหรือไม่และต้องระวังโรคอะไร
https://blogger.googleusercontent.com/img/a/AVvXsEiSAH9_0zQKqhdOUkti1vYagE45sa3e4kNQiG2v6MZqGkOMa2IgyyzCGAnWb4c-FmIG3ywWwyFCDiNYMy-eRCiEulTgcM3DSHbitgNSUuhhNcmpMhaESY8d5R_8v6CyRWBZfG5GiPQ611SzfQ7F7WX3yXIHLuxxhyH3HsmnnIR9zL-7XLAh5TEzLO9d=w320-h218
https://blogger.googleusercontent.com/img/a/AVvXsEiSAH9_0zQKqhdOUkti1vYagE45sa3e4kNQiG2v6MZqGkOMa2IgyyzCGAnWb4c-FmIG3ywWwyFCDiNYMy-eRCiEulTgcM3DSHbitgNSUuhhNcmpMhaESY8d5R_8v6CyRWBZfG5GiPQ611SzfQ7F7WX3yXIHLuxxhyH3HsmnnIR9zL-7XLAh5TEzLO9d=s72-w320-c-h218
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2021/10/blog-post_3.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2021/10/blog-post_3.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy