ไม่อยากเป็นโรคไตควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ไม่อยากเป็นโรคไตควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง
บรรยายโดย : พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไตที่มา : หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล
บุคคลทั่วไป ไม่อยากเป็นโรคไต ทำอย่างไรดี
ไม่มีใครอยากเป็นโรคไตนะคะ ก็มีคนถามหมอมาค่ะ ว่า เอ๊ะ ถ้าไม่อยากเป็นโรคไต จะทำยังไงดีเรียนรู้เรื่องไต กับ หมอไต ในทาง Channel นี้ นะคะ หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล ค่ะ ข้อแรกเลย ค่ะ ก็ต้องดูก่อนว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคไตหรือเปล่านะคะ บางท่านยังไม่ได้เป็นโรคไตนะคะ แต่ท่านมีภาวะเสี่ยง อันนี้ก็ควรจะรู้ตัวเองนะคะ ข้อที่สอง ที่หมอจะแนะนำนะคะ ก็คือ การตรวจสุขภาพเป็นประจำค่ะ สำหรับท่านใดที่ดูแล้วนะคะว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงกับการที่จะเป็นโรคไตนะคะ อย่างน้อย หมอก็แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และยิ่งท่านใดที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไตแล้ว อาจจำเป็นจะต้องรับการตรวจมากกว่า 1 ครั้งต่อปีนะคะ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าปัจจัยเสี่ยงของท่านคืออะไร และขึ้นกับคำแนะนำของคุณหมอให้ไปตรวจรักษาหรือตรวจสุขภาพบ่อยแค่ไหนอะค่ะ ซึ่งข้อนี้ เป็นข้อที่หมออยากจะแนะนำ เป็นพิเศษเลยนะคะ คนหลายคนมากเลยนะคะ ที่จะคิดไปเลยว่า เอ่อ ตนเองแข็งแรงสบายดีค่ะ ไม่เป็นไรหรอก ไม่เป็นไรหรอก นะคะ แต่ว่าคนไข้ที่มาตรวจร่างกายค่ะ แล้วแข็งแรงสบายดี หมอเจอค่อนข้างจะมากค่ะ ว่าบางทีท่านมีโรคไตซ่อนอยู่ แต่ท่านยังไม่รู้ นะคะ
ข้อต่อไป ก็คืออาหารนะคะ อันนี้เป็นกลุ่มหนึ่งที่คนจะถามกันมาค่อนข้างจะเยอะ นะคะ ก็อย่างที่หมอแจ้งไปแล้วนะคะ ณ ปัจจุบันเท่าที่หมอทราบข้อมูลนะคะ ยังไม่มีอาหาร หรือยาบำรุง หรือ อาหารเสริมใดๆ นะคะ ที่ท่านกินเพียงตัวเดียว ค่ะ แล้วจะรับประกันว่าท่านจะไม่ได้เป็นโรคไตค่ะ ดังนั้นอาหารสำหรับกลุ่มคนที่ ยังไม่ได้เป็นโรคไตค่ะ หมอก็จะแนะนำอาหารรสเค็มและก็คุมอาหารไขมันนะคะ ดังนั้นคำแนะนำของหมอ ก็ไม่ได้แนะนำให้ไปซื้อพวกอาหารเสริมหรือยาบำรุงใดๆ ทานเพื่อจะหวังผลว่า เออ ทานเสร็จแล้ว ท่านจะปลอดภัยกับโรคไตนะคะ
ข้อต่อไป ก็คือ การออกกลังกายนะคะ ความหมายของหมอ คือว่า ถ้าเราออกกำลังกายค่ะ เรามีร่างกายที่แข็งแรงค่ะ ก็จะลดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยนะคะ การเจ็บไข้ได้ป่วยบางครั้งก็จะกระตุ้นค่าการทำงานของไตแย่ลงค่ะ รวมทั้งการที่เราแข็งแรงสบายดี ก็ทำให้เราไม่ต้องไปซื้อยาทานนะคะ และไม่ต้องไปเสี่ยงกับการแพ้ยา และก็ไม่ต้องไปเสี่ยงกับผลข้างเคียงของยา นะคะ
ข้อต่อไป ก็คือ อารมณ์นะคะ ข้อนี้ คนก็จะงงใช่ไหมคะ ว่าเอ๊ะ คุณหมอพูดอะไร ก็หมอยังคิดว่า คนเราค่ะ มีร่างกายกับมีจิตใจ นะคะ การดูแล ตนเองให้จิตใจแข็งแรงอยู่เสมอ นะคะ อันนี้หมอคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ค่ะ หมอเห็นคนบางคนค่ะ อาจจะหงุดหงิด อาจจะอารมณ์ไม่ดีตลอดเวลา ค่ะ จะทำให้การที่ท่านจะมาควบคุมสิ่งต่างๆ ข้อปฏิบัติต่างๆ ยากมากขึ้นนะคะ ดังนั้น หมอคิดว่าข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ควรจะดูแลจิตใจของตัวเองให้มีจิตใจที่แข็งแรง ให้มีความสุขกายสบายใจอยู่เสมอนะคะ
ข้อต่อไป ก็คือ ยา ค่ะ อย่างที่หมอได้พูดไปหลายวิดีโอแล้วนะคะ ก็คือ ยาในกลุ่ม เอ็นเสด(NSAID) อันนี้ก็สามารถไปดูเพิ่มเติมได้นะคะ วันนี้หมอจะขออนุญาตแนะนำยาในกลุ่มอื่นเพิ่มเติม ที่อาจจะมีผลกับไตได้ เช่น ยากลุ่มยาฆ่าเชื้อ เนี่ยค่ะ ยาฆ่าเชื้อที่อาจมีขายทั่วๆ ไปนะคะ และคนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ค่อนข้างจะง่ายนี่แหละค่ะ ในกลุ่มนี้ บางครั้งอาจมีผลกับไตนะคะ อาจจะมีไตเฉียบพลันจากการที่ท่านไปทานยาได้ โดยอาการจะเกิดถ้าเนื่องมาจากยากลุ่มนี้ คนไข้ก็จะมีไข้ค่ะ มีผื่นขึ้น อาจจะมีคลื่นไส้อาเจียน อย่างนี้เป็นต้น อะคะ ดังนั้น ถ้าเกิดว่าท่านใดค่ะ เจ็บไข้ได้ป่วย สมมุติเป็นหวัด ไม่สบาย แล้วก็ ไปซื้อยาทานเองค่ะ ถ้าเกิดมีอาการตามนี้ค่ะ หมอก็คิดว่า ก็ควรรีบมาโรงพยาบาลค่ะ ต้องมาเช็คเลือด เช็คปัสสาวะ ค่ะ ในกลุ่มนี้ถ้าเกิดว่า ท่านเป็นไตเฉียบพลัน จากการที่ทานยา ค่ะ เพียงแต่หยุดสาเหตุ บางที่ก็สามารถที่จะ สามารถกลับมาหายได้ปกติ 100% ค่ะ ก็เพียงแต่ว่า รีบมาโรงพยาบาลค่ะ
ข้อต่อไปค่ะ ถ้าเกิดว่ามีอาการเจ็บป่วยไม่สบายค่ะ วิธีดีที่สุดก็คือ หาคุณหมอนะคะ แต่ว่าท่านใดไม่สะดวกหาคุณหมอ ซื้อยาทานเอง หมอก็ยังแนะนำเพิ่มเติม นะคะ ว่า ถ้าเกิดว่าซื้อยาทานเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นซักทีหนึ่ง หมออาจจะบอกเป็นตัวเลขหรือรายละเอียดไม่ได้ชัดเจนนะคะ คงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละท่าน อะค่ะ ก็ยังแนะนำว่า ถ้าเกิดว่า รักษาแล้วยังไม่ดีขึ้นซักทีหนึ่งอะค่ะ ไม่ควรจะปล่อยไว้นาน อะค่ะ หลายคนที่หมอเจอ ก็คือ คนไข้แข็งแรงสบายดี แล้วก็ คิดว่า เออ ไม่เป็นไร เพราะว่าตัวเองแข็งแรง ไม่เคยมีโรคประจำตัว ก็รอก่อน และพอไม่ดีขึ้นก็ไปซื้อยาทานเองเพิ่มเติมขึ้นอีก อย่างนี้ และก็รอก่อน พอรอหลายๆ วันยิ่ง ปล่อยให้ไตแย่ลง มากขึ้นเรื่อยๆ อะค่ะ การรักษาก็ยิ่งยากมากขึ้น แล้วก็การตอบสนองต่อการรักษาก็ยิ่งยากมากยิ่งขึ้น นะคะ จนทำให้ โรคที่หายขาดบางโรคไม่หายขาด เพราะว่ามาหาคุณหมอช้าไป นั่นเอง นะค่ะ
และนี่ก็คือ 7 ข้อปฏิบัติ ที่หมอคิดว่า ถ้าเกิดทำตามนี้ได้หมด ค่ะ โอกาสที่จะเป็นโรคไตในอนาคตก็จะยิ่งน้อยลง มากยิ่งขึ้นทีเดียว นะคะ
และสำหรับวันนี้ หมอก็จะจบวิดีโอไว้เพียงเท่านี้นะคะ ท่านใดที่มีคำถามสงสัย ฝากคอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างนะคะ และถ้าใครคิดว่า คลิปนี้มีประโยชน์ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ฝาก subscribe ให้ด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย S.J.Bank]
[เป้าหมายของผม คือ การนำข้อมูลที่เป็นไฟล์เสียง ให้มาอยู่ในรูปตัวอักษร เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ให้อยู่บนอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้]