ไตของคุณสุขภาพยังดีอยู่หรือไม่ สามารถดูได้จากผลการตรวจเลือด

ไตของคุณสุขภาพยังดีอยู่หรือไม่ สามารถดูได้จากผลการตรวจเลือด


ไตของคุณสุขภาพยังดีอยู่หรือไม่ สามารถดูได้จากผลการตรวจเลือด

หัวข้อบรรยาย : ผลจากการตรวจเลือด สามารถบอกค่าการทำงานไตของคุณ แปลผลอย่างไร
บรรยายโดย : พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไต
ที่มา : หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล

          สวัสดีค่ะ พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไต ค่ะ บางคนสงสัยว่า เวลาไปเช็คผลเลือดที่โรคพยาบาล ก็จะมี 2 ค่า ที่เราจะเห็นบ่อยๆ ก็คือ ค่า ครีเอตินีน(creatinine) กับค่า GFR-glomerular filtration rate และก็จะงงๆ ว่า เอ๊ะ จะแปลผลยังไง เดี๋ยววันนี้หมอจะเล่าเรื่องนี้ให้ฟังนะคะ
          ก็เนื่องจากว่า เวลาที่เราจะดูค่าการทำงานของไต เป็นเท่าไหร่ ก็เริ่มจากที่ว่า ไตทำหน้าที่ในการกรองของเสียออกมาเป็นน้ำปัสสาวะ ดังนั้นเราก็อยากรู้ว่า เอ๊ะ การทำงานของไตยังมีเปอร์เซ็นต์การทำงานของไต เยอะหรือน้อยยังไง เขาก็พยายามจะหาสารชนิดหนึ่งว่า ตัวไหนจะเหมาะสมที่สุดเพื่อเป็นตัวแทนในการดูค่าการทำงานของไต จนเขาก็ไปเจอสารตัวหนึ่ง ชื่อว่า ครีเอตินีน ซึ่งสารนี้ก็เป็นสารที่ได้จากการที่เราสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมาก็จะมีสารนี้อยู่แล้ว เป็นสารที่อยู่ในร่างกายค่ะ ซึ่งสารนี้เมื่อมาถึงไต ก็จะโดนการกรองของไตออกมาในน้ำปัสสาวะเกือบทั้งหมด และก็จะมีการดูดซึมกลับเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น เขาก็ใช้สารนี้ในการที่เป็นตัวแทนในการดูค่าการทำงานของไต ถ้าเกิดค่าการทำงานของไตของเรายังค่อนข้างจะดีมาก การที่จะสามารถขจัดตัว ครีเอตินีน ออกจากร่างกาย ก็จะสามารถขจัดออกได้เกือบทั้งหมด ก็จะเหลือระดับ ครีเอตินีน ที่อยู่ในเลือดในระดับที่ไม่สูงมาก
          GFR ก็คล้ายๆ กับดูว่า เปอร์เซ็นต์การทำงานของไตของเราเหลือประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ โดย GFR ก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายสูตร และสูตรที่เป็นมาตรฐานที่สมาคมโรคไต แนะนำให้ใช้ก็คือ สูตร CKD-EPI ซึ่งจากสูตรก็จะเห็นว่า เขาจะมีการใช้ ค่าหลายๆ ค่ะ นะคะ เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ และก็ค่า serum creatinine-Scr แบบนี้นะคะ
          อันนั้นก็ไม่ต้องสงสัยนะคะ ว่า เอ๊ะ เช่นสมมุติว่าคนไข้คนหนึ่ง อายุ 20 ปี ครีเอตินีน 1.5 GFR ก็จะเหลือสัก 60% แบบนี้ นะคะ แต่ถ้าเกิดว่า อายุ 70 ปี ครีเอตินีน 1.5 เท่ากัน GFR อาจเหลือ 30% แบบนี้เป็นต้นค่ะ ดังนั้น ค่าครีเอตินีนที่เท่ากันค่ะ ถ้าเกิดว่า เป็นผู้ชายกับเป็นผู้หญิง เชื้อชาติต่างกัน รวมทั้งอายุที่ไม่เหมือนกัน ก็จะทำให้ค่า GFR แตกต่างกันไป และหมอก็จะใช้ค่า GFR เป็นค่าที่บอกว่า คนไข้เป็นไตเรื้อรังเป็นระยะที่เท่าไหร่ 
          GFR ที่เราจะถือว่าคนไข้เป็นไตเรื้อรัง นั่นคือ GFR ที่น้อยกว่า 60% นะคะ เดี๋ยวบางคนก็จะงงว่า เอ๊ะ พอ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ เรียกว่าไตเรื้อรังหรือยัง ถ้าเกิดว่าเกิน 60% ค่ะ เราจะเรียกว่าไตเรื้อรังก็ต่อเมื่อว่ามี หน้าที่บางอย่าง หรือโครงสร้างบางอย่างของการทำงานของไต ที่ผิดปกติไปเท่านั้น เช่น อาจจะมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เกิน 3 เดือน มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะเกิน 3 เดือน แบบนี้เป็นต้น หรือว่าคนไข้ได้รับการปลูกถ่ายไตมานะคะ ถ้าเกิดว่าไม่มีพวกนี้เลย ปัสสาวะ ปกติ อัลตราซาวนด์ ปกติ ไม่มีประวัติปลูกถ่ายไต GFR ที่เกิน 60% ขึ้นไป ยังไม่ถือว่าเป็นไตเรื้อรังนะคะ
          อย่างไรก็ตามนะคะ การที่เราจะตรวจค่า ครีเอตินีน ค่า GFR ค่ะ คนไข้ไม่จำเป็นต้องงดอาหารมาก่อนนะคะ สามารถตรวจได้ตลอดเวลาค่ะ
สรุปคร่าวๆ ดังนี้
Creatinine(ค่าการทำงานไต) ยิ่งน้อย แสดงว่า ค่าการทำงานไต ยิ่งดี
GFR%(การทำงานไต) ยิ่งมาก แสดงว่า การทำงานของไต ยิ่งดี
Creatinine ที่เท่ากัน GFR อาจต่างกันได้ เช่น
เพศชาย อายุ น้อย เชื้อชาติ อเมริกัน/แอฟริกัน จะมี GFR มากกว่า เพศหญิง อายุมาก ที่ไม่ใช่เชื้อชาติ อเมริกัน/แอฟริกัน
          และสำหรับวันนี้ หมอก็จะจบวิดีโอไว้เพียงเท่านี้นะคะ ท่านใดที่มีคำถามสงสัย ฝากคอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างนะคะ และถ้าใครคิดว่า คลิปนี้มีประโยชน์ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ฝาก subscribe ให้ด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ
[ขอบคุณ พญ.กัลย์ยมล สำหรับข้อมูล ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย S.J.Bank]
       
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ไตของคุณสุขภาพยังดีอยู่หรือไม่ สามารถดูได้จากผลการตรวจเลือด
ไตของคุณสุขภาพยังดีอยู่หรือไม่ สามารถดูได้จากผลการตรวจเลือด
ไตของคุณสุขภาพยังดีอยู่หรือไม่ สามารถดูได้จากผลการตรวจเลือด
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjJmwgON4v-XNzZZFeU8s0s79tLP9zhvSsclVM93-Wpr-J6fz08R1xv7oAd68IqOGdh_pxTQu7vb8kKRvLE4OpVxw7Mi4WjGWvw7Hi44i2KxNLOn-wo8yQ9yGo3-mSE15KbYNtjUJNYDJ0/s320/%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjJmwgON4v-XNzZZFeU8s0s79tLP9zhvSsclVM93-Wpr-J6fz08R1xv7oAd68IqOGdh_pxTQu7vb8kKRvLE4OpVxw7Mi4WjGWvw7Hi44i2KxNLOn-wo8yQ9yGo3-mSE15KbYNtjUJNYDJ0/s72-c/%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_23.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_23.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy