วิธีจัดการโรคซึมเศร้า แบบไม่ใช้ยา

การรักษาโรคซึมเศร้าโดยใช้ยา เป็นเพียงการระงับอาการได้เท่านั้น แต่การรักษาที่เหตุโดยไม่ใช้ยาเป็นวิธีรักษาให้หายได้แบบถาวร

หัวข้อบรรยาย : วิธีจัดการโรคซึมเศร้า แบบไม่ใช้ยา
บรรยายโดย : นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล จิตเวชศาสตร์ทั่วไป  ศิริราชพยาบาล
          ความเศร้าโศกเสียใจเป็นธรรมดาของชีวิตคนเรานะครับ เวลาที่คนเราเศร้า มักจะเกิดจากความสูญเสีย ซึ่งในอดีต คนที่ประสบกับความสูญเสีย และมีความเศร้านั้น หลายคน ค้นพบสัจธรรมของชีวิต เหตุการความสูญเสีย ความเศร้าโศกเสียใจ จึงไม่ได้เป็นเรื่องติดลบเสมอไป แต่มันจะกลายเป็นจุดผลิกผันให้คนเราค้นหาตัวเอง ค้นหาความเป็นจริงของชีวิต อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้มีผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้านี้เป็นอย่างไร และเราจะดูแลตัวเองอย่างไร ทั้งวิธีที่ใช้ยา และวิธีที่ไม่ใช้ยา เราจะมาหาคำตอบกันนะครับ
          เวลาที่คนเราประสบเหตุความสูญเสีย ความเศร้าเสียใจเป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ ที่เกิดขึ้นต่อความสูญเสียนั้น อารมณ์ทุกอารมณ์มีจุดหมาย มีวัตถุประสงค์ของมันครับ คล้ายความเศร้าที่เกิดขึ้นก็เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้หันกลับมาจัดการกับสิ่งที่เราได้สูญเสีย เพื่อที่ได้เดินหน้าต่อ เป็นเรื่องของการปรับตัว ครับ แต่อะไรที่ทำให้คนเราบางคน เกิดเป็นโรคซึมเศร้า เส้นทางของการที่เหตุการณ์การสูญเสียนำให้เราไปสู่การซึมเศร้า จนเป็นโรคซึมเศร้านี้ แตกต่างจากคนที่เศร้าธรรมดา นะครับ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอารมณ์ซึมเศร้าที่มาก รุนแรง เศร้าที่นานกว่าปกติ จนความเศร้านี้กระทบต่อความสามารถในการดำเนินชีวิต กระทบต่อคุณภาพชีวิต ความสามารถในการตัดสินใจ ความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้เหมือนปกติได้ เขาจะไม่สามารถใช้ศักยภาพภายในได้อย่างเต็มที่ จึงมีผลกระทบต่องาน ต่อครอบครัว
          ปัจจัยที่ทำให้คนเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า อาจจะแบ่งได้ง่ายๆ เป็น 5 อย่าง นะครับ อย่างแรกก็คือ กรรมพันธุ์ ซึ่งโรคจำนวนมากในปัจจุบัน เราค้นพบว่า เรามีกรรมพันธุ์เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการจะป่วยเป็นโรคนั้น อย่างไรก็ตามความรู้ในเรื่องในกรรมพันธุ์ของเรา มีเพิ่มขึ้นมาก จนปัจจุบัน นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องกรรมพันธุ์ สามารถที่จะพูดได้อย่างมั่นใจว่า แม้ว่าเราจะมียีน(gene)ของการเกิดเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคใดก็ตาม แต่ยีนตัวนี้ไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าเราจะต้องป่วยเป็นโรคนั้นเสมอไป ประสบการณ์ชีวิตของเรา สิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทำ ในแต่ละวันจะมีผลในการเปิดหรือปิดสวิตช์ยีนที่จะทำให้เราเป็นโรค หรือไม่เป็นโรค นะครับ ดังนั้น แม้ว่า เราจะมีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็ไม่ได้แปลว่า เราจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป เรามีสิ่งที่เราทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ได้ด้วยครับ
          ถัดมา นอกเหนือจากกรรมพันธุ์ ก็คือ เรื่องของประสบการณ์ในวัยเด็ก เด็กที่อยู่ในสภาวะขาดแคลน ขาดความรัก ถูกละเลยทอดทิ้ง หรือถูกทำร้าย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือเด็กที่มีความสูญเสีย เช่น สูญเสียคุณพ่อหรือคุณแม่ ในช่วงที่ยังมีอายุไม่มาก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวที่กระทบต่อพัฒนาการทางสมอง ซึ่งจะทำให้เขาเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าเมื่อเขาโตมาเป็นผู้ใหญ่นะครับ
          ถัดจาก ประสบการณ์ในวัยเด็ก ก็คือ ประสบการณ์ในวัยผู้ใหญ่ นะครับ ซึ่งเราจะแบ่งง่ายๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่นคนที่มีสภาวะที่มีแรงกดดันเครียดเรื้อรัง หรือคนที่เผชิญกับเหตุสะเทือนขวัญอย่างรุนแรง จะกระทบต่อการทำงานของร่างกายและระบบสมอง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ เช่นกัน จากนั้น วิธีคิด ของคนแต่ละคน ก็มีผลต่อความเสี่ยงที่เขาจะเศร้าง่าย หรือ หรือเศร้ายาก นะครับ วิธีคิดที่เป็นการมองโลกในแง่ร้าย วิธีคิดที่มักตัดสินตัวเองตำหนิต่อว่าตัวเอง หรือแนวโน้มที่จะจมไปกับในอดีต หรือความทุกข์ใจ แนวโน้มที่จะมีความกังวลไปในอนาคตที่มากอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นนิสัย ในทางความคิดที่จะเพิ่มความเสี่ยง หรือ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า นะครับ ประการสุดท้าย ก็คือ กิจกรรมที่เราทำในทุกๆ วัน หรือวิถีชีวิตของเรานะครับ คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้อารมณ์ดี มีความสุข นะครับ การฝึกสมาธิ มีงานวิจัยพบว่าสามารถช่วยรักษาอาการซึมเศร้าขนาดน้อยๆ จนถึงขนาดปานกลางได้ เช่นเดียวกันกับการฝึกการมองสิ่งดีๆ ในชีวิต การเพิ่มความสุขให้กับชีวิตประจำวัน หรือนิสัยการหมั่นพัฒนาความคิด พัฒนาตัวเอง ก็จะเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าทางอ้อมได้นะครับ
          ดังนั้นที่เราพูดว่า โรคซึ้มเศร้านี้เนี่ยเกิดขึ้นจากการที่สมองทำงานผิดปกติ มีระบบสารเคมีที่เสียไป ตรงนี้เป็นมุมมองจากการมองทางชีวภาพ และมุมมองนี้เมื่อนำยามารักษา ยาก็จะนำมารักษาเพื่อแก้ระบบของเคมีที่รวนไปของสมอง แต่อะไรที่ทำให้สมองรวน จนเป็นโรคซึมเศร้า ตรงนี้เรานำปัจจัยทั้ง 5 คือ กรรมพันธุ์ ประสบการณ์ในวัยเด็ก เหตุการณ์ในชีวิตที่เกิดขึ้น วิธีคิด และก็สิ่งที่เราทำเป็นประจำในกิจวัตรประจำวัน 
          ถ้ามองแบบนี้ก็แปลว่า การรักษาด้วยยาเป็นการแก้ซึมเศร้าที่สมอง ที่เคมี ขณะเดียวกัน การแก้ซึมเศร้าแบบไม่ใช้ยา ก็จะเป็นการปรับที่วิธีคิด และการปรับกิจกรรม กิจวัตรประจำวัน ที่จะมีผลย้อนกลับไปถึงการทำงานของสมองครับ
          มีงานวิจัยพบว่า ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว การกินยาจะทำให้อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงดีขึ้นได้อย่างน้อย 2 ใน 3 และดีขึ้นได้เร็วกว่าวิธีอื่นนะครับ ขณะเดียวกัน การรักษาที่ไม่ใช้ยาโดยเฉพาะการปรับวิธีคิดและกิจวัตรนี้เนี่ย จะมีส่วนทำให้โรคซึมเศร้านี้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการรกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าซ้ำนะครับ ซึ่งมีงานวิจัยถึงปัจจัยที่ช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซึมเศร้าซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของการฝึกสติ เทคนิควิธีการในการจัดการความคิด อารมณ์ความรู้สึกหรือการเพิ่มกิจวัตรที่จะช่วยทำให้เรามีพลังชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอ และการเพิ่มกิจกรรมความสุขในชีวิต เพื่อทำให้สมองของเราอยู่ในสภาวะที่สามารถทำงานได้อย่างดีที่สุดนะครับ
          ผมจึงได้สรุปวิธีการแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า แบบไม่ใช้ยา ออกมาดังนี้
          - เพิ่มพลังชีวิต
          - ปรับวิธีคิดให้ยืดหยุ่นและเมตตา
          - เผชิญหน้าทุกอารมณ์
          - เปิดสังคมคนรู้ใจ
          - สติรู้อยู่กับปัจจุบัน
          - สุขได้ง่ายเมื่อได้อยู่กับตัวเอง
          ซึ่งถ้าเราฝึกฝนตามนี้ได้ เราก็สามารถลดความเสี่ยงจากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ และก็เป็นวิธีการ ในการรักษาโรคซึมเศร้า แบบไม่ใช้ยาครับ

[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย S.J.Bank]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: วิธีจัดการโรคซึมเศร้า แบบไม่ใช้ยา
วิธีจัดการโรคซึมเศร้า แบบไม่ใช้ยา
การรักษาโรคซึมเศร้าโดยใช้ยา เป็นเพียงการระงับอาการได้เท่านั้น แต่การรักษาที่เหตุโดยไม่ใช้ยาเป็นวิธีรักษาให้หายได้แบบถาวร
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhb1c09jPFoIL_eRFnJ7GDu4AQrPN4QyMtlLsI2jNTehlEopI_5Am0gkmr4oByz5qjEgef1DnEqxmSBQtVE1L6sV7dVAMYkzVVyuCfOtuF15zQ9L39sVpuZqILjJ6CbDv-JxfzZ0aK575w/s400/%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhb1c09jPFoIL_eRFnJ7GDu4AQrPN4QyMtlLsI2jNTehlEopI_5Am0gkmr4oByz5qjEgef1DnEqxmSBQtVE1L6sV7dVAMYkzVVyuCfOtuF15zQ9L39sVpuZqILjJ6CbDv-JxfzZ0aK575w/s72-c/%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_25.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_25.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy