โรคเกาต์อาการปวดเหมือนกระดูกแตก มีสาเหตุมาจากอะไร

โรคเกาต์มีอาการปวดข้อต่างจากการปวดข้อทั่วไป



โรคเกาต์อาการปวดเหมือนกระดูกแตก มีสาเหตุมาจากอะไร

รายงานพิเศษหัวข้อ : โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบที่ต้องระวัง
บรรยายโดย : ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร
(อาจารย์ประจำอาจารย์ประจำสาขาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล )
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
ปัจจุบันค้นพบว่าผู้ป่วย “โรคเกาต์” ในประเทศไทยมีมากขึ้นและคนส่วนใหญ่อาจได้รับการรักษาอย่างไม่ถูกต้องเท่าที่ควร ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตรอาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์และอธิบายถึงอาการและการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง
          "โรคเกาต์" ก็คือความผิดปกติของระบบยูริกภายในร่างกาย นะคะ ก็คือ ยูริกในเลือดก็จะสูงขึ้น แล้วก็มีการไปสะสมในบริเวณข้อ แล้วทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เฉพาะฉะนั้นเนี่ย โรคเกาต์ เวลาที่มาเนี่ย ก็จะมาในเรื่องของอาการปวดข้อ ซึ่งเกิดจากการที่มียูริกไปสะสมที่บริเวณข้อค่ะ

ยูริกเกิดขึ้นได้อย่างไร

         ยูริกที่เกิดขึ้นเนี่ย อยู่ในร่างกายนะคะ และก็ร่างกายสร้างขึ้นมาเองได้ ซึ่งมีความจำเป็นในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
          อาหารที่เราทานเข้าไป โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพิวรีนสูง นะคะ ร่างกายก็จะเอาไปสร้างเป็นยูริก ค่ะ อันนี้ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า อาหารบางตัว กินเข้าไปแล้ว ทำให้ยูริกในเลือดสูง หรือกินเข้าไปแล้วจะแย่กับเกาต์
          ร่างกายมีระบบความผิดปกติ ทำให้มีการสร้างยูริกสูง หรือมีระบบผิดปกติที่ทำให้การขับยูริกจากร่างกายทำไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ และคนไข้โรคอ้วน
          แล้วก็ยาบางอย่าง ซึ่งจะทำให้การขับยูริก ผิดปกติไป

อาการแบบไหน ถือว่าเป็นโรคเกาต์

         ค่ะ ในการปวดข้อในคนไข้โรคเกาต์ นะคะ ก็มักจะปวดรุนแรงค่ะ ไม่มีอาการเตือนนำมาก่อนเลย ตำแหน่งที่ปวดมักจะเป็นนิ้วหัวแม่โป้งเท้า และบริเวณข้อเท้า เวลาที่ปวดมักจะเป็นที่ข้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ โดยทั่วไป ถ้าไม่รักษาเลยก็สามารถหายเองได้ แต่ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง อาจจะประมาณ 5-7 วัน ค่ะ
          อาการของโรคเก้าต์ จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาการมักจะเป็น ๆ หาย ๆ จนกว่าจะได้รับการรักษา อาการมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน หากผู้ป่วยมีไข้ และปวดข้ออย่างรุนแรง จะทำให้ผิวหนังบวมแดงและแสบร้อน ควรรีบปรึกษาแพทย์

อายุและเพศมีความสัมพันธ์กับโรคเกาต์อย่าไร

          สำหรับอายุที่จะมีผลกับเรื่องของโรคเกาต์ นะคะ ส่วนใหญ่มักจะเจอในวัยค่อนข้างวัยกลางคน หรือว่าเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว เด็ก ๆ เนี่ย จะไม่ค่อยเกิดนะคะ ยกเว้นว่า เขามีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ซึ่งทำให้ยูริกในเลือดสูงขึ้น อันนี้ก็จะมีโอกาสจะเกิดตั้งแต่อายุน้อย ๆ
          ในขณะนี้ข้อมูล สำหรับคนไข้โรคเกาต์ ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ โดยเฉพาะผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว เนี่ย ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์ก็จะมีเพิ่มขึ้นเหมือนกัน
          อีกกลุ่มหนึ่งก็จะเป็นคนอ้วน ในคนอ้วนเนี่ย ก็จะทำให้ยูริกในเลือดนี่สูงขึ้น ถ้ามันสูงไปนาน ๆ มีการตกตะกอนบริเวณข้อ จะทำให้เป็นเกาต์ได้
          อีกอันหนึ่งก็จะเป็นเรื่องของแอลกอฮอล์ค่ะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เอง ทำให้ยูริกสูงขึ้น
          ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ทำให้ยูริกในเลือดสูงขึ้นได้เช่นกัน ค่ะ

ผู้ป่วยโรคเกาต์ ลักษณะการปวด

          "มันปวดแบบปวดมาก แบบ เวลาเดินมันลงฝ่าเท้าไม่ได้เลย มันเหมือนแบบกระดูกแตกอะ ถึงขั้นที่แบบมันต้องใช้ส้นเท้าเดินอย่างเดียว ฝ่าเท้าลงปั๊บ แต่แตะพื้นก็เจ็บแล้ว คือแบบนี้เท้าเราเป็นอะไร เมื่อคืนเท้าไปกระแทกอะไรหรือเปล่า หรือมีใครเหยียบอะไรหรือเปล่า แล้วมันเดินไม่ได้ ก็เลยออกมาหาหมอดีกว่า"

การวินิจฉัยอาการโรคเกาต์

          เวลาที่คนไข้เข้ามาด้วยเรื่องเกาต์นะคะ ก็ต้องดูก่อนว่าอาการเขาเป็นอย่างไรบ้าง อย่างแรกนี่ คือ เขาเคยเป็นโรคเกาต์มาก่อนไหม ถ้าเกิดเขาไม่เคยเป็นมาก่อน เราก็ต้องแยกให้ได้ก่อนว่าอันนี้ ใช่เกาต์จริง หรือ ว่าเป็นเรื่องของการติดเชื้อ เพราะบางทีเขาอาจจะมีการติดเชื้อที่ข้อมา เราก็จะต้องเจาะดูด แล้วเอาน้ำในข้อมาตรวจนะคะ ว่ามียูริกอยู่หรือเปล่า
(คนไข้) สวัสดีครับ คุณหมอ
(หมอ) สวัสดีค่ะ วันนี้มีปัญหาอะไรมาเจอคุณหมอค่ะ
(คนไข้) พอดีปวดขา ครับคุณหมอ เดินแทบไม่ไหวครับ
(หมอ) ที่เป็นนี่ คือ ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือว่าเพิ่งมาเป็นรอบนี้
(คนไข้) เพิ่งเป็นครั้งแรกครับ
(หมอ) มีการไปกระทบกระแทกหรืออะไรยังไง มาก่อนไหมค่ะ
(คนไข้) ไม่ชัวร์ ครับ
(หมอ) ขอดูที่เท้านิดหนึ่งนะคะ แบบนี้เจ็บไหมค่ะ
(คนไข้) เจ็บครับ
(หมอ) ตรงนี้มันจะอุ่นกว่าส่วนอื่น ถ้าเทียบกัน ตำแหน่งตรงนี้นะคะ ขยับแล้วจะเจ็บเลยใช่ไหมคะ
(คนไข้)ครับ
(หมอ) ตรงนี้เท้าก็จะบวมนิดหนึ่งนะคะ แล้วมันก็จะแดงอุ่น ๆ นะคะ เพราะฉะนั้น ตรงนี้มีการบ่งบอกว่า มีการอักเสบเกิดขึ้นที่ข้อตำแหน่งนี้ นะคะ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เจอบ่อยค่ะ สำหรับคนไข้ที่จะเป็นโรคเกาต์ เดี๋ยวถ้าเรายืนยันได้ว่ามี อาการอักเสบในร่างกาย และก็มียูริกในเลือดสูง ก็น่าจะเป็นเกาต์นะคะ

          นอกจากการซักประวัติคนไข้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าคนไข้เป็นโรคเกาต์หรือไม่ ก็อาจจะทำการตรวจ วินิจฉัยโรคเกาต์ ซึ่งมีหลายวิธี
          1. เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับยูริก
          2. เจาะน้ำในข้อเพื่อหาผลึกยูริก

(หมอ) ก็ผลเลือดกลับมาแล้วนะคะ วันนี้ผลเลือดตัวยูริกมันขึ้นมานิดหนึ่งนะคะ 11.2 บวกกับว่ามีผลเลือดที่บ่งบอกว่ามีอาการอักเสบ เกิดขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น ก็น่าจะเป็นเรื่องของเกาต์

การรักษาโรคเกาต์

          เพราะฉะนั้น เดี๋ยวเราจะมียาให้ ยาในช่วงแรกเราจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกหมอจะให้เพื่อจะลดการอักเสบนี้ก่อน จะทำให้การหายดีขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 2-3 วัน ก็จะดีขึ้น แล้วหลังจากนั้นเราก็จะมียาต่อเพื่อจะลดระดับยูริกในเลือด ตรงนี้อยากให้มันต่ำหน่อย ให้มันเป็นปกติ
          โดยทั่วไปตรงนี้อยากให้มันต่ำหน่อย ให้มันเป็นปกติ โดยทั่วไปเราอยากจะให้อยู่ประมาณ แถวเลข 6 ด้วยซ้ำไป ในกรณีของคนที่เป็นโรคเกาต์แล้ว
          หลังจากที่เราทราบแล้วว่าคนนี้เป็นโรคเกาต์ วิธีการรักษา เราจะรักษาเพื่อป้องกัน ไม่ให้ข้อพัง ถ้าเกิดมันเป็นอยู่บ่อย ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ มันจะมีตะกอนของยูริก สะสมอยู่เรื่อย ๆ จนข้อ ปูดหนา และข้อส่วนนั้นจะทำงานได้ไม่ดี

คำแนะนำจากคุณหมอ

          สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องปวดข้อไปแล้ว หรือว่าเป็นโรคเกาต์ไปแล้ว ควรจะต้องมาเจอคุณหมอเป็นระยะ นะคะ เพราะว่าจริง ๆ แล้ว โรคเกาต์ เราควบคุมได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งมันไว้ มันจะทำให้เกิดความพิการของข้อได้เหมือนกัน นะคะ  ใครที่เป็นแล้วก็พยายามควบคุมยูริกไม่ให้สูงขึ้น จะได้ไม่ต้องเป็นอีกนะคะ

[ขอขอบคุณ  ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://www.mahidolchannel.com | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคเกาต์อาการปวดเหมือนกระดูกแตก มีสาเหตุมาจากอะไร
โรคเกาต์อาการปวดเหมือนกระดูกแตก มีสาเหตุมาจากอะไร
โรคเกาต์มีอาการปวดข้อต่างจากการปวดข้อทั่วไป
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhX8mEm6Hnmm8EIJcJbtNvhx8GQEVWqTwrN5_wMCd98yL7S7FVP3NVJc5lv6-PnNPShUhqx_6pqsRUK87saAzweLMgN5MHRB25DtUgC204E3NklkylznO2CHFLnB2UAdlvnJYJeJWH92A8/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%258C+%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhX8mEm6Hnmm8EIJcJbtNvhx8GQEVWqTwrN5_wMCd98yL7S7FVP3NVJc5lv6-PnNPShUhqx_6pqsRUK87saAzweLMgN5MHRB25DtUgC204E3NklkylznO2CHFLnB2UAdlvnJYJeJWH92A8/s72-c/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%258C+%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_13.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_13.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy