ฝ้าเป็นง่ายแต่รักษายาก
ฝ้าไม่หายขาดเพราะการป้องกันและรักษาผิดวิธี
บรรยายโดย : อ.พญ.สุพิชชา กมลรัตนกุล
(อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน / แพทย์ด้านผิวหนัง มหาวิทยาลัยมหิดล )
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
ปัญหาด้านผิวหน้าที่กวนใจผู้หญิงในเมืองร้อนอย่างประเทศไทย คงจะหนีไม่พ้น "ฝ้า" ผู้ที่เป็นฝ้าหลายคนคงจะหาวิธีรักษาต่าง ๆ ที่ทำให้ตัวเองกลับมาหน้าใสเหมือนเดิม วันนี้ อ.พญ.สุพิชชา กมลรัตนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน / แพทย์ด้านผิวหนัง จะมาบอกถึงวิธีป้องกันและรักษา "ฝ้า" อย่างถูกวิธีฝ้า ต้องบอกกันตรง ๆ ว่า เป็นโรคที่รักษาหายยากนะคะ ใช้เวลานานในการรักษาแล้วก็มีโอกาสจะกลับมาเป็นซ้ำได้เรื่อย ๆ ค่ะ
ฝ้า คือ ลักษณะของผิวหนัง ที่สีเปลี่ยนไปเข้มขึ้นค่ะเราเชื่อว่าการเกิดฝ้าเกิดจากหลายปัจจัย
สาเหตุของการเกิดฝ้า
ปัจจัยที่ 1 ได้แก่ แสงแดด ซึ่งประกอบไปด้วย แสงอัลตราไวโอเลต A แสงอัลตราไวโอเลต B หรือว่าแสงที่มองเห็นได้ หรือ Visible Light พวกนี้จะกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้อันดับที่ 2 คือ ฮอร์โมน อันนี้ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ คือ คุณแม่ที่มีน้อง บางทีระหว่างมีน้องหรือว่าหลังมีน้อง จะพบว่ามีฝ้ามากขึ้น หรือว่าในคุณผู้หญิงบางท่าน ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ก็จะพบว่าระหว่างรับประทานยา เราพบฝ้ามากขึ้นในช่วงนั้น หรือว่ายาฉีดคุมกำเนิดก็พบได้นะคะ
อันดับที่ 3 ก็คือ เชื้อชาติและพันธุกรรม เชื้อชาติก็เป็นความโชคร้ายของเรา ที่คนเอเชียเราจะพบฝ้ามากกว่า ทางฝั่งยุโรปหรือฝั่งอเมริกา รวมทั้งพันธุกรรม เราพบว่าคนที่ครอบครัวเป็นฝ้า จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดฝ้ามากกว่าคนอื่น
อันดับที่ 4 คือ ยาหรือสารเคมีบางชนิด ที่กระตุ้นให้เกิดฝ้ามากขึ้นได้ค่ะ
(คนไข้) คุณหมอ สวัสดีค่ะ
(หมอ) สวัสดีค่ะ
(คนไข้) พอดีเป็นฝ้าค่ะ มันก็จะเป็นช่วงแก้ม
ฝ้า แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
(หมอ) เราสามารถแบ่งประเภทของฝ้า ได้ตามบริเวณการเกิดค่ะอันแรก คือ Centrofacial คือฝ้าที่เกิดบริเวณหน้าผาก แก้ม จมูก
อันที่สอง คือ ฝ้าชนิด Malar ก็คือฝ้าที่เกิดบริเวณโหนกแก้มข้างบน 2 ข้าง หรือว่า
อันที่สาม คือ ฝ้าชนิดที่เป็น Mandible คือฝ้าที่เกิดบริเวณกรามด้านล่างค่ะ
(ฝ้าบริเวณกราม)
ขั้นตอนการรักษาฝ้า
(คนไข้) แล้ววิธีการรักษา(หมอ) การรักษาของฝ้า ต้องบอกก่อนว่า อาจจะต้องใช้เวลานานนิดหนึ่งนะคะ การรักษาฝ้า อันดับแรก ต้องประเมินผิวหนัง ผิวหน้าของแต่ละท่านก่อน เพราะว่าแต่ละท่านก็จะเหมาะกับการรักษาหรือว่ายาอาจจะแตกต่างกันไป
อันดับที่สอง ก็คือต้องแนะนำ เรื่องการป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดฝ้า เช่น ป้องกันแสงแดด หรือว่าคนที่ยังรับประทานยาคุมกำเนิด หรือว่ามีความเสี่ยงต่อฮอร์โมนอยู่ ก็อาจจะต้องพิจารณาการคุมกำเนิดโดยวิธีอื่น
สาม คือการรักษาด้วยยาทาภายนอก เป็นกลุ่มยาทาที่ทำให้ผิวหนังขาวมากขึ้น หรือว่า Whitening Agent ซึ่งก็จะมีหลาย ๆ ประเภท นอกจากนั้นมีการรักษาเสริมอื่น ๆ เช่น การใช้กรดอ่อน ๆ ลอกผิว หรือว่าการใช้เลเซอร์
แต่อย่างไรก็ตาม สองวิธีหลังที่พูด เป็นการรักษาแบบเสริมนะคะ ไม่ว่าอย่างไรควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนทำการรักษานะคะ
(หมอ) ตอนนี้คุณพี่เริ่มใช้ครีมกันแดดแล้วใช่ไหมคะ
(คนไข้) เริ่มใช้แล้วค่ะ
(หมอ) ไม่ทราบว่าใช้ SPF หรือใช้ครีมกันแดดเลือกอย่างไรคะ
(คนไข้) จะเลือก SPF ที่ 50++ ขึ้น
(หมอ) อ๋อ ได้ค่ะ
(คนไข้) แล้วก็จะมีผสมรองพื้นนิดหนึ่ง
(หมอ) อ๋อ โอเคค่ะ
วิธีป้องกันการเกิดฝ้า
(หมอ) วิธีการปฏิบัติตัวของคนเป็นฝ้า อันดับแรกเลย แสงแดดเราพยายามจะต้องหลีกเลี่ยง เพราะว่าแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญ อันดับหนึ่งเลยที่ทำให้เกิดฝ้า และทำให้ฝ้าสีเข้มขึ้นได้ด้วย เลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยเวลาเลือกก็ต้องเลือกค่า SPF หรือว่าค่าที่ป้องกันผิวไหม้แดด SPF ที่เหมาะสมของครีมกันแดดที่คนไทยควรใช้ ก็แนะนำ 30 ถึง 50 แล้วแต่ลักษณะงานด้วยค่ะถ้าโดนแดดเยอะ ๆ ออกกลางแจ้งบ่อย ๆ ก็แนะนำ SPF สูงเลยเป็น 50 แต่ถ้าเกิดว่าทำงานออฟฟิศไม่ได้โดยแดดมาก ก็อาจจะ SPF 30
นอกจากนั้น ถ้าครีมกันแดดอาจจะไม่เพียงพอ เห็นอยู่แล้วว่าแดดแรงค่อนข้างมาก ก็แนะนำให้ใช้หมวก ใช้ร่ม หรือว่าใช้แว่นกันแดดร่วมด้วยนะคะ
(หมอ) หลัก ๆ ก็ต้องเป็นการป้องกันแดด และก็อาจจะใช้ยาในกลุ่มของ Whitening Agent ก็คือยาทำให้ขาวมากขึ้นนะคะ ทุกอย่างหมอแนะนำว่าอย่างไรมาเจอกัน และเดี๋ยวค่อย ๆ ปรับยาให้เหมาะสม กับคนไข้แต่ละคนจะปลอดภัยกว่านะคะ
คำแนะนำจากคุณหมอ
ผิวหนังของคนเอเชียกับคนยุโรปต่างกัน สำหรับเรื่องฝ้า มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย ข่าวดี คือ ฝ้าเป็นแค่ลักษณะของผิวหนัง ที่เข้มขึ้นภายนอก ไม่ก่อให้เกิดอันตรายอะไรต่อสุขภาพ เป็นแค่ความไม่สวยงามนะคะ อาจจะก่อให้เกิดความกังวลใจส่วนข่าวร้ายของโรคฝ้า คือ โรคฝ้าเป็นโรคที่รักษาใช้เวลานาน รักษาหายยากนะคะ และก็การรักษาฝ้ามีหลายวิธีอย่างที่บอกไป ก็แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการฝ้าก็จะดีขึ้นได้ค่ะ ถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพผิว อย่าลืมมาพบหมอนะคะ
[ขอขอบคุณ อ.พญ.สุพิชชา กมลรัตนกุล อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://www.mahidolchannel.com | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/