ยาลดความดันแต่ละกลุ่มมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง หมอมีคำตอบ

อาการไอ ปวดหัว เท้าบวม อ่อนเพลีย เวียนหัว ใจสั่น เป็นผลข้างเคียงจากยาลดความดันบางกลุ่ม



ยาลดความดันแต่ละกลุ่มมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง หมอมีคำตอบ

หัวข้อบรรยาย : ผลข้างเคียง 7 กลุ่มยาลดความดัน
บรรยายโดย : พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไต
ที่มาคลิป : หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล

วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังค่ะ ว่ายาความดันที่คนไข้ทานอยู่ค่ะ อยู่ในกลุ่มไหน และก็ยาความดันแต่ละกลุ่ม ค่ะ อาจจะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
          สวัสดีค่ะ เรียนรู้เรื่องไตกับหมอไต ทาง channel นี้จะคะ หมอไตให้คำตอบโดย พญ.กัลย์ยมล ค่ะ วันนี้หมอจะมาเล่าถึงยาความดัน ที่ผู้ป่วยทานอยู่นะคะ ว่า ยาความดันที่เราทานกันอยู่ค่ะ อยู่ในกลุ่มยาความดันกลุ่มไหน นะคะ ซึ่งยาความดัน แต่ละกลุ่มค่ะ ก็จะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป นะคะ

1. ยาความดันกลุ่ม เอซีอีไอ(ACEI)

ยากลุ่ม ACEI ได้แก่
- enalapril
- captopril
- lisinopril
           โดยยากลุ่มนี้ค่ะ ชื่อยาก็จะลงท้ายด้วย -pril ยากลุ่มนี้ค่ะ เป็นยาที่ลดความดันนะคะ และก็ในระยะยาว สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้นะคะ อย่างไรก็ตามค่ะ ยากลุ่มนี้นะคะ อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ ได้นะคะ อาการไอ ก็จะเป็นไอแห้ง ๆ ส่วนใหญ่เวลาผู้ป่วยทานยากลุ่มนี้ค่ะ แล้วมาบอกหมอว่าไอ หมอก็จะถามว่า เป็นไอแห้ง หรือว่าเป็นไอมีเสมหะ และก็ไอเป็นระยะเวลานานเท่าไรแล้ว นะคะ ถ้าเกิดว่าเป็นไอมีเสมหะ ก็จะนึกถึงอย่างอื่นมากกว่านะคะ เช่น ช่วงนั้นอาจจะเป็นหวัด เป็นหลอดลมอักเสบ นะคะ รวมทั้งถ้าเกิดผู้ป่วยไออยู่ก่อนที่จะรับยากลุ่มนี้ อันนี้ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ค่ะ  แล้วก็นอกจากนี้ค่ะ ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือว่าบางช่วง ยากลุ่มนี้อาจจะทำให้ มีค่าการทำงานของไตที่เปลี่ยนแปลงไป หรือทำให้เกลือแร่โพแทสเซียมในเลือดสูงได้ค่ะ

2. ยาความดันกลุ่ม เออาร์บี(ARB)

ยากลุ่ม ARB ได้แก่
- losartan
- irbesatan
- valsartan
- candesartan
          ค่ะ โดยยากลุ่มนี้ก็จะมีชื่อตัวยานะคะ ตัวหลังสุดจะมีคำว่า -tan นะคะ ตัวนี้เป็นกลุ่มยาที่สามารถชะลอการเสื่อมของไต ได้เช่นกันนะคะ กลุ่มยาทั้ง ACEI และ ARB เป็นกลุ่มยาที่ช่วยการชะลอการเสื่อมของไต ในระยะยาวได้นะคะ ถ้าใครอยากทราบรายละเอียดว่า ช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้อย่างไร รวมทั้งตัวยาทั้งหมด มีอะไรบ้างนะคะ สามารถไปดูเพิ่มเติมได้นะคะ หมอเคยทำคลิป แยกเล่าให้ฟังไปแล้วค่ะ
          โดยยากลุ่ม ARB ค่ะ ประโยชน์ก็คือ ช่วยทั้งลดความดันและช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ ในระยาว ผลข้างเคียง กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการไอนะคะ แต่ยังอาจจะมีผลในเรื่องการผิดปกติของค่าการทำงานของไตบางช่วง หรือว่ามีโพแทสเซียมในเลือดสูงได้ค่ะ

3. กลุ่มยาขับปัสสาวะ

กลุ่มยาขับปัสสาวะ ได้แก่
- hydrochlorothiazide
- furosemine
- amiloride
          กลุ่มยาต่อไปก็คือกลุ่มยาขับปัสสาวะนะคะ ตัวยาก็อย่างเช่น hydrochlorothiazide, furosemine ซึ่ง 2 ตัวนี้จะเจอบ่อยนะคะ hydrochlorothiazide ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสีส้ม ๆ นะคะ บางทีคุณหมอก็จะสั่งให้ทาน แค่ 1/4 เม็ด หรือว่า ทานแค่ครึ่งเม็ด อย่างนี้เป็นต้น จะมียากลุ่มหนึ่งเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน อันนี้เจอไม่ได้บ่อยนะคะ ตัวยาก็อย่างเช่น amiloride ค่ะ เนื่องจากยากลุ่มนี้นะคะ ลดความดันโดยออกฤทธิ์ทำให้ปัสสาวะบ่อย ค่ะ ดังนั้น สิ่งที่คนไข้อาจจะเกิดได้ก็คือ ร่างกายขาดน้ำนะคะ อาจจะมีเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติได้ คนไข้อาจจะมีอาการเวียนหัว หรืออาการเพลียได้จากการที่มีเกลือแร่ผิดปกติ หรือว่า ขับปัสสาวะมากเกินไป แล้วก็ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงมา

4. กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์

ยากลุ่มนี้ได้แก่
- nifedipine
- amlodipine
- manidipine
- lercarnidipine
          กลุ่มยาต่อไปก็ใช้บ่อยอีกเช่นกัน กลุ่มยานี้เป็นกลุ่มยา ปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ นะคะ กลุ่มยาก็จะลงท้ายด้วย - dipine แบบนี้นะคะ โดยยากลุ่มนี้ ที่จริงแล้ว ผลข้างเคียงไม่ได้เยอะมากนะคะ ค่อนข้างปลอดภัยพอสมควรค่ะ อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้บ้าง ก็จะเป็นพวก ใจสั่น อาจจะมีปวดศีรษะ บางคนเป็นท้องผูก หรือว่าจะมีอาการข้อเท้าบวมได้ นะคะ โดยอาการบวมของตัวยาแต่ละตัวก็จะไม่เท่ากัน ลักษณะอาการบวมจากยากลุ่มนี้ก็จะบวมคล้าย ๆ บวมไตเลยนะคะ จะเป็นบวมเท้า 2 ข้าง บวมหน้าแข้ง ถ้าเกิดว่าทานยาไปแล้วมีอาการบวมค่ะ บางทีแยกไม่ได้นะคะว่า ตอนนั้นมีอาการไตกำเริบหรือว่ามีอาการของหัวใจวาย หัวใจกำเริบ หรือว่าบางทีตรวจทั้งหมดแล้วปกติดี เป็นจากยา แค่เปลี่ยนยาเป็นยากลุ่มอื่น นะคะ หรือว่าเป็นยากลุ่มเดียวกัน อย่างนี้ก็อาจทำให้อาการดีขึ้นนะคะ ดังนั้นถ้าใครทานยากลุ่มนี้ไปแล้วมีอาการบวม แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอค่ะ

5. กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า

ยากลุ่มนี้ได้แก่
- atenolol
- propanolol
- metopolol
- bisoprolol
          กลุ่มต่อไปก็คือกลุ่มยาที่ปิดกั้นเบต้า นะคะ กลุ่มนี้จะลงท้ายด้วย - lol ยากลุ่มนี้นอกจากลดความดัน ก็จะลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยค่ะ ส่วนใหญ่ยากลุ่มนี้ก็แนะนำใช้บ่อย ๆ คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจนะคะ เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานน้อยลง นอกจากนี้ก็อาจจะมาใช้กับผู้ป่วยใจสั่น เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจลง ก็จะทำให้อาการใจสั่น อาการเหนื่อยน้อยลง อย่างนี้เป็นต้น
          โดยผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ก็อย่างเช่น บางคนก็จะมีอาการเพลีย หลังจากที่ได้รับยากลุ่มนี้ในช่วงต้น ๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องระวัง ก็คือ อัตราการเต้นของหัวใจ ก็คือชีพจรค่ะ โดยส่วนใหญ่ ถ้าไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ บางทีเราจับชีพจรไม่เป็นใช่ไหมคะ ส่วนใหญ่เราก็แนะนำว่าให้ดูเวลาเราวัดความดัน จะมีอยู่ 3 ค่า นะคะ มีความดันตัวบน มีความดันตัวล่าง ตัวสุดท้ายคือ ชีพจร นะคะ โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะไม่ให้ผู้ป่วยมีชีพจรน้อยกว่า 60 ครั้ง ต่อนาทีนะคะ ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายที่ บางทีคุณหมอหัวใจ หรือคุณหมอบางท่านอาจจะแนะนำให้คนไข้จำเป็นที่จะต้องควบคุมอัตราชีพจรให้น้อยกว่า 60 เช่น อาจจะ 55 อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ก็จะต้องถามคุณหมอเป็นราย ๆ ไป แต่โดยทั่วไป ถ้าน้อยกว่า 60 ก็จะต้องไปแจ้งคุณหมอแล้ว ว่า เอ๊ะ ได้รับยากลุ่มนี้แล้วก็มีชีพจรเต้นช้า จำเป็นจะต้องปรับยาหรือไม่
          และอาจจะต้องระวังผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดและก็ถุงลงโป่งพอง เพราะยากลุ่มนี้มีผลทำให้อาการหอบหืด หรือถุงลมโป่งพองกำเริบได้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้นถ้าท่านมีโรคนี้ก็ให้แจ้งคุณหมอให้ทราบด้วย

6. กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า

ยากลุ่มนี้ได้แก่
- prazosin
- doxazosin
          กลุ่มต่อไปก็คือ ยาความดันกลุ่มที่ปิดกั้นแอลฟ่า นะคะ กลุ่มนี้จะลงท้ายด้วย - zosin นะคะ ตัวยากลุ่มนี้ประโยชน์ก็ช่วยลดความดันนะคะ ผลข้างเคียงที่จะต้องระวังก็คือ ทำให้คนไข้บางคนจะมีเวียนหัวเวลาเปลี่ยนท่า ดังนั้นต้องคอยสังเกตตัวเองค่ะ เช่น ส่วนใหญ่จะเป็นเปลี่ยนท่านั่งหรือนอนมาเป็นท่ายืนทันที นะคะ ถ้าเกิดว่าเปลี่ยนปุ๊บปั๊บแล้วมีอาการเวียนหัว มีอาการหน้ามืดอะค่ะ ขั้นแรกก็ให้ค่อย ๆ เปลี่ยนท่านะคะ บางทีระบบประสาทอัตโนมัติของเรายังปรับตัวไม่ทันนะคะ ถ้ามีอาการเช่นนี้ หรือมีอาการเช่นนี้บ่อย ๆ เวลาไปหาคุณหมอ ต้องแจ้งคุณหมอด้วยนะคะ บางทีคุณหมออาจจะต้องเปลี่ยนกลุ่มยาให้นะคะ ผลข้างเคียงอื่นที่อาจจะพบได้เช่น มีปวดศีรษะ มีใจสั่น อย่างนี้เป็นต้นนะคะ

7. กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง

กลุ่มยานี้ได้แก่
- hydralazine
          กลุ่มยาต่อไป ก็จะเป็นกลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดงนะคะ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้บ่อยพอสมควรนะคะ ยา hydralazine ก็เป็นยาที่มีความปลอดภัยกับผู้ป่วยไตพอสมควรเลยค่ะ ช่วยขยายเส้นเลือด ก็เลยทำให้ ความดันโลหิตที่ลดลงนะคะ ผลข้างเคียงผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้ อย่างเช่นก็จะมี หน้าแดง นะคะ มีใจสั่น มีปวดหัว เป็นต้นนะคะ

คำแนะนำ บทส่งท้ายจากคุณหมอ

          แล้วนี่ก็เป็นยาความดันหลาย ๆ กลุ่มนะคะ และก็ผลข้างเคียงของยาความดัน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้นะคะ อย่างไรก็ตาม หมอยังแนะนำเช่นเดิมนะคะ การที่ท่านจะเริ่มยา หรือ ไม่เริ่มยา อันนี้ควรจะอยู่ในคำแนะนำ ควรจะอยู่ในความดูแลของคุณหมอนะคะ รวมทั้งถ้าเกิดว่าท่านดูวิดีโอนี้นะคะ แล้วถ้า เอ๊ะ เราทานยากลุ่มนี้อยู่ แล้วจะมีผลข้างเคียงตามที่หมอเล่าไปหรือเปล่า ไม่แนะนำให้ปรับยาเอง นะคะ ควรจะไปเล่าให้คุณหมอที่ท่านดูแลฟังก่อนนะคะ ว่าท่านทานยาแล้วมีผลข้างเคียงแบบนี้อยู่ คุณหมอจะแนะนำปรับยา หรือ จะเปลี่ยนยา หรือว่าจะอย่างไรนะคะ
          และสำหรับวันนี้ หมอจะจบวิดีโอไว้แต่เพียงเท่านี้นะคะ ท่านใดที่มีคำถามสงสัย สามารถฝากคอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างได้ค่ะ และถ้าใครคิดว่า คลิปนี้มีประโยชน์ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ฝาก subscribe ให้ด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ



[ขอบคุณ พญ.กัลย์ยมล สำหรับข้อมูล ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
       
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ยาลดความดันแต่ละกลุ่มมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง หมอมีคำตอบ
ยาลดความดันแต่ละกลุ่มมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง หมอมีคำตอบ
อาการไอ ปวดหัว เท้าบวม อ่อนเพลีย เวียนหัว ใจสั่น เป็นผลข้างเคียงจากยาลดความดันบางกลุ่ม
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiW7cwFBL8Pbps4vqCVK1KYE1wrYQEugMUSi9GlZevTH-1O417QXUkOVuB8zRBHWQ6Ms2gBACAxRXWiQ1DHo2_WVipZ589_l_VVU05VDqywAvoDbJkgUgD5vjxk3PSi3jLsUVCRSFET_HM/s320/%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiW7cwFBL8Pbps4vqCVK1KYE1wrYQEugMUSi9GlZevTH-1O417QXUkOVuB8zRBHWQ6Ms2gBACAxRXWiQ1DHo2_WVipZ589_l_VVU05VDqywAvoDbJkgUgD5vjxk3PSi3jLsUVCRSFET_HM/s72-c/%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_17.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_17.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy