ไวรัสตับอักเสบบีติดแล้วรักษาไม่หายแต่ป้องกันได้
ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อง่ายเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
รายงานพิเศษหัวข้อ : ไวรัสตับอักเสบ B ปล่อยเรื้อรัง...เป็นมะเร็งตับบรรยายโดย : อ.นพ.สกิทา ม่วงไหมทอง
(อาจารย์และสูตินรีแพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล)
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
โรคไวรัสตับอักเสบบี “ติดง่ายกว่า HIV ทำลายตับ ก่อเกิดมะเร็ง” เป็นโรคที่คนไทยเป็นกันมาก หากปล่อยไว้เป็นเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาด ไวรัสตับอักเสบมีกี่ประเภท ติดต่อกันทางใดได้บ้าง อาการเป็นอย่างไร ดูแลป้องกันได้อย่างไร และเมื่อติดเชื้อแล้วควรรักษาตัวอย่างไร ?
โรคไวรัสตับอักเสบมีกี่ประเภท
ไวรัสตับอักเสบบีเป็นเชื้อที่ติดต่อได้ง่าย ถ้าเทียบกัน โอกาสติดเชื้อ จะติดได้ง่ายกว่าเอชไอวีด้วย จริง ๆ ไวรัสตับอักเสบมีหลายตัว หลัก ๆ ที่เรารู้จักกันก็อาจจะเป็น เอ บี ซี ตัวเอ เป็นการติดเชื้อเฉียบพลันอย่างเดียว บี ติดเชื้อเฉียบพลันก็ได้ เรื้อรังก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด ก็มีเรื่องตัวเหลือง ตาเหลืองได้ระยะและอาการของโรคไวรัสตับอักเสบ
ในช่วงของการติดเชื้อระยะแรก ก็จะพบว่ามีตัวไวรัส แต่ว่าภูมิคุ้มกันจะค่อย ๆ ทำลายไวรัสออกไป แต่จะมีกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถ กำจัดไวรัสออกจากร่างกายไปได้หมดนะครับ ทำให้เป็นกลุ่มที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง ซึ่งการติดเชื้อแบบเรื้อรังนี้ ตัวไวรัสก็ทำลายตัวเซลล์ตับไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดภาวะตับแข็ง และก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งตับ นำไปสู่การเสียชีวิตได้ครับ(หมอ) วันนี้มาฟังผลเลือด ที่ฝากครรภ์ไว้นะครับ อยู่ในเกณฑ์ปกตินะครับ แต่ว่ามันจะมีเรื่องของตัวไวรัสตับอักเสบ ที่ทางการแพทย์เราเรียกว่าเป็นพาหะ
โรคไวรัสตับอักเสบติดต่อกันทางใด
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีวิธีการติดต่อ 3 วิธีด้วยกัน อันแรก การติดต่อผ่านเลือด และสารคัดหลั่งต่าง ๆ สองก็คือ เรื่องของเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ป้องกัน สามก็คือการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือที่เจอบ่อยกว่านั้นคือ ในกระบวนการคลอด คือการที่ทารกสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดา(คนไข้) คือมีผลกระทบต่อทารกหรือเปล่าคะ
ผลกระทบกับทารกในครรภ์
(หมอ) การติดเชื้อไวรัสตัวนี้ จริง ๆ คนไทยเป็นกันค่อนข้างเยอะ ในแง่ของการตั้งครรภ์ มันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตัวน้องโดยตรง มันไม่ได้ทำให้น้องพิการ หรือว่าเสี่ยงต่อ ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในการคลอด อันที่จะมีผลต่อเขาเลยก็คือ หลังคลอด เขาจะมีโอกาสรับเชื้อตัวนี้จากคุณแม่ได้วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ
ในปัจจุบันก็จะมีการฉีดวัคซีน ป้องกันไวรัสตับอักเสบในเด็กแรกเกิด การติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ทารกแรกเกิดมักจะไม่ค่อยแสดงอาการ มักจะเป็นการติดเชื้อเป็นแบบเรื้อรังมากกว่าการป้องกันและรักษา
(หมอ) สำหรับในแง่ของการดูแลรักษานะครับ ก็รักษาสุขภาพ ดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงตามปกติ อีกส่วนหนึ่ง หมอก็แนะนำให้พาสามีมาตรวจด้วย เพราะว่าตัวไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อกันได้ ผ่านทางเลือด ทางเพศสัมพันธ์ หมอจะได้ให้คำแนะนำได้ถูกต้องการรักษาในกลุ่มที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง จะมีการตรวจค่าการทำงานของตับเป็นระยะ ๆ มีการให้กลุ่มยาต้านไวรัส เพื่อลดการทำลายของตับที่เกิดขึ้น ไวรัสตับอักเสบบี ส่วนใหญ่จะเป็นการ ติดเชื้อเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด เพียงแต่ว่าสามารถจะควบคุม โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาได้ ถ้ามีโอกาสหรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ ก็ควรจะมีการตรวจเช็กเลือด ดูว่าตัวเองมีภูมิคุ้มกันหรือยัง แล้วก็ภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันโรคไหม ถึงแม้ว่าจะเคยฉีดไปแล้ว แต่ว่าร่างกายไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา จะต้องมีการฉีดซ้ำ และก็มีการติดตามดูระดับภูมิคุ้มกัน โดยส่วนใหญ่หลังจากฉีดวัคซีนไป ร่างกายก็จะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา แล้วก็ช่วยป้องกันการติดเชื้อในอนาคตได้ ถ้ามีปัญหาทางสุขภาพ อย่าลืมมาพบหมอนะครับ
[ขอขอบคุณ อ.นพ.สกิทา ม่วงไหมทอง อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://www.mahidolchannel.com | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/