โรคไบโพลาร์มีอารมณ์แบบไหนจึงจะถือว่าใช่โรคนี้

โรคไบโพลาร์เป็นความผิดปกติทางสมองซึ่งไม่ใช่อาการจิตอ่อนแอหรือคิดมาก

รายงานพิเศษหัวข้อ : โรคไบโพลาร์ เศร้าซึมลึก คึกหลุดโลก
บรรยายโดย : อ.พญ.กิติการนต์ ธนะอุดม
(อาจารย์ประจำอาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล )
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
คุณเคยสังเกตไหม? ว่าตัวเราหรือเพื่อนของเรา เคยมีอารมณ์ที่ไม่คงที่ ช่วงเช้าเป็นคนอารมณ์ดีแต่พอถึงช่วงบ่ายทำไมรู้สึกอารมณ์ที่ขุ่นมัวไม่มีความสุขเหมือนช่วงเช้า หากคุณหรือคนรอบตัวมีอาการแบบนี้ ให้ตั้งข้อสังเกตและควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์ 2 ขั้ว

ทำความรู้จักกับโรคอารมณ์ 2 ขั้ว หรืออารมณ์แปรปรวน(Bipolar)

          โรคอารมณ์ 2 ขั้วนะคะ หรือว่า โรคอารมณ์แปรปรวน หรือที่เรียกกันว่า "Bipolar Disorder" เนี่ยนะคะ เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์  ซึ่งตรงนี้จะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่มีภาวะซึมเศร้า(Depress) ก็จะมีอาการเบื่อหน่าย นะคะ อารมณ์ทุกข์ใจเศร้าใจติดต่อกัน นะคะ อาการที่พูดมาสักครู่เรียกว่า อาการด้านลบ(ขั้วลบ)
(คำบอกจากผู้ป่วยโรคไบโพลาร์)
          "อาการแรกที่จะจับได้ก็คือ ซึมเศร้า คือมีความเครียด ความวิตกกังวลมาก่อน พอเราเครียดแล้ว เราก็จะจดจ่ออยู่แต่เรื่องนั้น นะคะ เหมือนกับพายเรือวนในอ่างหาคำตอบไม่ได้ ต่อให้เพื่อนมีทางออกหรือทางแก้ปัญหามาให้ เราก็จะรู้สึกว่าเราทำไม่ได้ เราไม่สามารถปล่อยวางจากเรื่องเครียดได้"
          (หมอ) ส่วนอีกด้านหนึ่งตรงกันข้ามนะคะ คือ ภาวะแมเนีย(Mania) หรือว่า อาการขั้วบวก นะคะ ก็จะมีอารมณ์ครื้นเครง ร่าเริง หงุดหงิดผิดปกติไปจากเดิม ส่วนเรื่องพฤติกรรมเนี่ย ก็จะเป็นพฤติกรรมที่ ไม่นอนก็ได้ มีพลังเยอะ จะมีการจับจ่ายใช้สอยหรือทำกิจกรรมที่มากกว่าเดิมอย่างชัดเจน ตรงนี้ก็อาจจะพบได้ในขั้วบวก ซึ่งเป็นติดต่อกันและมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

สัญญาณเตือนเข้าข่ายไบโพลาร์

          - หงุดหงิดง่าย
          - มีภาวะซึมเศร้า
          - พูดเร็วมากกว่าปกติ
          - มีปัญหาในการทำงาน เช่น ทำงานไม่สำเร็จตามเวลา
          - อารมณ์ดีผิดปกติ
          - นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
          - ทำพฤติกรรมเสี่ยง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าปกติ

วิธีการสังเกตอาการของโรคไบโพลาร์

          การสังเกตตัวเองนะคะ ว่ามีภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติ เช่น ภาวะขั้วบวกนะคะ เป็นอารมณ์ครื้นเครง หรือว่าหงุดหงิดมากกว่าปกติ นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ส่วนภาวะซึมเศร้า หรือว่าภาวะเป็นขั้วลบ ในโรคอารมณ์ 2 ขั้วนี่ ก็อย่างน้อย มีอารมณ์ซึมเศร้า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ค่ะ

ทำความเข้าใจโรคไบโพลาร์

          โรคไบโพลาร์ เกิดจากความผิดปกติ ในการทำงานของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ ไม่ได้เกิดจาก "จิตใจอ่อนแอ หรือคิดมาก"

การรักษาโรคไบโพลาร์

          มีการรักษาเรื่องอารมณ์ 2 ขั้วอยู่แล้ว ไหนช่วยเล่าอาการตอนแรกที่มาพบแพทย์หน่อยสิคะ
(คนไข้) ตอนแรกเลย คือ จะมีอาการซึมเศร้าได้สักประมาณ 1-2 เดือน ค่ะ จนคนรอบข้าง เขารู้สึกว่า เอ้ย เราคิดมากเกินไปหรือเปล่า
          การรักษาอาการของไบโพลาร์ ก็คือ
          1. การให้ยาเพื่อปรับสารเคมีในสมอง
          2. การให้คำแนะนำเพื่อปรับพฤติกรรม เน้นการพักผ่อนเป็นหลัก
(หมอ) เรื่องการพักผ่อนช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ
(คนไข้) ช่วงนี้นอนไม่หลับ พยายามที่จะหลับมาก ๆ
(หมอ) อยากที่จะนอน ควาวนี้ไม่ใช่เป็นลักษณะที่ว่า มีพลังไม่นอนก็ได้แล้ว อยากจะนอนแต่นอนไม่ค่อยหลับ
(คนไข้) ใช่ค่ะ
(หมอ) วันนี้ถ้ายังมีอาการนอนหลับยากอยู่ รู้สึกเพลียเมื่อตื่นนะคะ งั้นวันนี้หมอจะมีการปรับยาที่ช่วยนอนให้ จะได้ดีขึ้นนะคะ
(คนไข้) เราคิดถึงตัวเราคนเก่า เราคิดถึงตัวเราคนเดิมที่เข้มแข็ง ร่าเริง สดใส สามารถทำอะไรได้เยอะแยะมากมาย แล้วแบบ มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ที่เรารู้สึก Down รู้สึกแย่ และรู้สึกไม่มีคุณค่า อะไรอย่างนี้ รู้สึกไม่ได้อยากเป็นแบบนี้ เราเข้าใจอาการตัวเอง เราเข้าใจโรค เราเข้าใจเหตุผลที่เราเป็น สิ่งที่เราเป็น คือ เราป่วยแล้วเราก็เลยแสดงออกมาอย่างนี้ เรารู้ตัวว่า นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราคิดถึงตัวเราที่มันดีกว่านี้

คำแนะนำจากคุณหมอเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์

          เนื่องจากโรคอารมณ์ 2 ขั้ว เป็นโรคที่ต้องการประวัติ แล้วก็การตรวจร่างกายที่ค่อนข้างชัดเจน นะคะ ดังนั้นไม่อยากให้ทุก ๆ ท่านตัดสินหรือว่าคิดว่าป่วยเป็นโรคไบโพลาร์หรือเปล่า เพราะว่าขนาดหมอเองยังต้องใช้เรื่องของการซักประวัติอย่างละเอียดจริง ๆ เพราะฉะนั้นเนี่ย อยากจะฝากว่า ใครก็ตามที่สงสัยคนใกล้ตัว ก็ให้มาพบแพทย์ แล้วก็จริง ๆ คนที่รับประทานยาหรือได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเนี่ย ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ นะคะ
       


[ขอขอบคุณ  อ.พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
สายด่วนสุขภาพจิตโทร. 1323
ช่อง YouTube : Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook : https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล : https://www.mahidol.ac.th/th
Website : https://www.mahidolchannel.com 
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคไบโพลาร์มีอารมณ์แบบไหนจึงจะถือว่าใช่โรคนี้
โรคไบโพลาร์มีอารมณ์แบบไหนจึงจะถือว่าใช่โรคนี้
โรคไบโพลาร์เป็นความผิดปกติทางสมองซึ่งไม่ใช่อาการจิตอ่อนแอหรือคิดมาก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjdcWLz21DyTXgmU7OntFMNt-Y5VaNN5pdaKwSniJjk5PB9I-vLUueMUCwX91XDVLRXiZZJ2keJq37ZpV01nHXyPhfV96ygE4mNp53F_dof3RYwwpSL9bdN6jgBA92eQ-z2_3kV6GO53yA/s320/Bipolar-44.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjdcWLz21DyTXgmU7OntFMNt-Y5VaNN5pdaKwSniJjk5PB9I-vLUueMUCwX91XDVLRXiZZJ2keJq37ZpV01nHXyPhfV96ygE4mNp53F_dof3RYwwpSL9bdN6jgBA92eQ-z2_3kV6GO53yA/s72-c/Bipolar-44.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_4.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/07/blog-post_4.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy