โรคสมาธิสั้นกับการดูแลและรักษา

แนวทางปฏิบัติต่อเด็กสมาธิสั้น


บทความโดย
- รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
- จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
‘โรคสมาธิสั้น’ เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้ในทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 5-8 ของเด็กไทยวัยเรียนเป็นโรคสมาธิสั้น โดยเด็กจะมีความบกพร่องใน 3 ด้าน ได้แก่ ขาดสมาธิ หุนหันพลันแล่น และซน ไม่อยู่นิ่ง เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจึงมักมีปัญหาด้านการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตในอนาคต อย่างไรก็ตามหากเด็กสมาธิสั้นได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นร่วมกับได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านบวกที่มีอยู่อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็กสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่แพ้ใคร

สังเกตอาการโรคสมาธิสั้น

          โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ‘พันธุกรรม’ อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้นแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มอาการ คือ
          1. ขาดสมาธิ (Attention deficit) เด็กจะไม่สามารถคงสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามที่ควรจะเป็น วอกแวกง่าย ขาดความรอบคอบ เช่น เขียนหนังสือตก ๆ หล่น ๆ โดยไม่ได้เกิดจากการเขียนไม่ได้ แต่เกิดจากการที่รีบทำมากเกินไปจนผิดพลาด เด็กกลุ่มนี้จะไม่ค่อยชอบกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ นอกจากนี้เด็กจะมีลักษณะคิดเร็ว คือคิดเรื่องนี้อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยนไปคิดเรื่องใหม่ จนบางครั้งดูเหมือนคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง เพราะในขณะที่ทุกคนกำลังพูดคุยกันถึงเรื่องหนึ่งอยู่ แต่เขากลับเปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่นแล้ว ทั้งยังมักขี้ลืมแม้แต่สิ่งที่ต้องใช้หรือปฏิบัติเป็นประจำ เช่น ลืมเอาดินสอไปโรงเรียน ทำยางลบหายเป็นประจำ หรือหาหนังสือเรียนไม่เจอบ่อย ๆ เพราะจำไม่ได้ว่าเอาไปวางไว้ตรงไหน ครูสั่งงานอะไรก็จำไม่ค่อยได้ เป็นต้น
          2. ซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) เด็กกลุ่มนี้จะอยู่นิ่งไม่ค่อยได้ จึงไม่สามารถนั่งฟังครูสอนได้ตลอดทั้งคาบเรียน ต้องลุกเดิน หรือยุกยิกตลอดเวลาต่างจากเด็กวัยเดียวกัน เมื่อพาไปเที่ยวนอกบ้านก็จะวิ่งซุกซนไปทางนู้นทางนี้อย่างไม่กลัวหลง มีพลังเยอะเหมือนมีเครื่องยนต์อยู่ในตัว ถ้าต้องนั่งเฉย ๆ บางทีก็จะเขย่าขาหรือแกะโน่นแกะนี่ไปเรื่อย บางครั้งก็เล่นโลดโผน เสี่ยงอันตราย ขาดความระมัดระวัง
          3. หุนหันพลันแล่น (Impulsivity) เด็กจะมีลักษณะใจร้อน นึกจะทำอะไรก็ทำเลย ชอบพูดแทรก ถ้าเล่นเกมมักไม่ค่อยทำตามกฎกติกา หรือบางครั้งคิดจะยืมของเพื่อนก็หยิบมาเลยโดยที่ไม่ได้ขอทั้งที่ในใจคิดว่าจะขอยืม อันที่จริงเด็กรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ แต่ยับยั้งชั่งใจตนเองไม่ค่อยได้
          เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการขาดสมาธิเป็นอาการเด่น และกลุ่มที่อาการซนและหุนหันพลันแล่นเป็นอาการเด่น โดยเด็กส่วนใหญ่ประมาณ 60-70% จะมีอาการทั้งสองกลุ่มใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่มีอาการขาดสมาธิเพียงอย่างเดียว คือ ไม่ได้เป็นเด็กซน เด็กกลุ่มนี้จะได้รับการช่วยเหลือน้อยกว่าเพราะว่าไม่ได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ใคร อย่างไรก็ตามเด็กสมาธิสั้นทุกคนควรได้รับการรักษา เพื่อให้เด็กสามารถเรียนหนังสือ ทำกิจกรรม และใช้ชีวิตได้ตามศักยภาพของตนเอง

สมาธิสั้น ผลกระทบหากไม่รักษา

          การรักษาโรคสมาธิสั้นนอกจากการใช้ยาเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว การที่พ่อแม่ คุณครู คนรอบข้าง รวมทั้งตัวเด็กเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ จะช่วยให้เด็กรับมือกับโรคได้มากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นไม่ตรงนัก เช่น มองว่าคนสมาธิสั้นต้องก้าวร้าว หรือมีปัญหากับทุกคน ซึ่งเด็กสมาธิสั้นจำนวนหนึ่งเป็นเช่นนั้นจริง เพราะเขาจะซน หุนหันพลันแล่น ถ้าคนรอบข้างอย่างเช่นพ่อแม่ไม่เข้าใจก็จะตำหนิ ครูไม่เข้าใจก็จะดุ ทำการบ้านไม่เสร็จก็จะลงโทษ ซึ่งเด็กสมาธิสั้นอาจรู้สึกว่าเด็กคนอื่นก็ทำผิดเหมือนกันแต่ทำไมเขาโดนดุอยู่คนเดียวโดยลืมไปว่าเขาทำผิดบ่อยกว่าคนอื่น จนอาจทำให้คนที่อยู่ใกล้มีอคติกับเขา และตัวเขาเองก็เริ่มมีอคติกับคนอื่นเช่นกัน เกิดเป็นความคับข้องใจว่าทำไมโลกนี้ไม่ยุติธรรม ส่งผลให้เด็กเริ่มต่อต้านพ่อแม่ ต่อต้านสังคม ฝ่าฝืนกฎระเบียบ
          นอกจากนี้เด็กสมาธิสั้นบางส่วนจะมองว่าตัวเองแย่ ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ มีแต่คนตำหนิ บางรายมีอาการซึมเศร้าหรือออกแนววิตกกังวล แต่ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่แสดงออกทางพฤติกรรมเกเรหรือแสดงออกทางจิตใจและอารมณ์ พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีแนวโน้มที่จะหันเข้าหายาเสพติด ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย จากการศึกษาพบว่าเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสติดยาเสพติดมากกว่าเด็กทั่วไปถึง 10 เท่า และประมาณ 20-30% ของเด็กที่มีพฤติกรรมก่อกวนหรือต่อต้านสังคม (เช่น เด็กที่ยกพวกตีกัน เด็กแว้น) เป็นเด็กสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการรักษา แต่เหตุการณ์ เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากเด็กได้รับการรักษาโรคสมาธิสั้นตั้งแต่ระยะแรก ๆ ร่วมกับความเข้าใจจากพ่อแม่และคนรอบข้าง จะช่วยให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพ สร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้

ข้อดีและวิธีส่งเสริมศักยภาพเด็กสมาธิสั้น

          เด็กสมาธิสั้นใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสีย อันที่จริงเด็กกลุ่มนี้ก็มีข้อดีอยู่มากเช่นกัน เพียงแต่ผู้ดูแลต้องเข้าใจและส่งเสริมเขาในทางที่ถูก เพื่อให้เด็กสามารถดึงพลังด้านบวกออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพในตัวเด็ก ข้อดีของเด็กสมาธิสั้น ได้แก่
  1. เด็กสมาธิสั้นมีพลังเยอะ เราต้องนำพลังของเขามาใช้ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น ให้ช่วยทำงาน หรือพาไปฝึกเล่นกีฬาอะไรก็ได้ เพราะเด็กกลุ่มนี้พลังเยอะ เล่นได้ไม่เหนื่อย เด็กบางคนได้เป็นนักกีฬาระดับประเทศเลยก็มี
  2. เด็กสมาธิสั้นเป็นคนคิดรวดเร็วและนอกกรอบ จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดของเขาจะไม่ยึดติด คิดอะไรพลิกแพลงได้เรื่อย ๆ ไม่ชอบคิดแบบเดิมซ้ำ ๆ เพราะรู้สึกว่าน่าเบื่อ นับเป็นข้อดีของคนสมาธิสั้นคือมีไอเดียใหม่ ๆ เยอะ แต่ข้อที่ควรระวังคือ เขาจะไม่สามารถตามไอเดียนั้นได้อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีคนมารับช่วงนำไอเดียของเขาไปสานต่อ
  3. เด็กสมาธิสั้นเข้ากับคนได้ง่าย โดยพื้นฐาน เด็กสมาธิสั้นจะเข้ากับคนง่ายในระดับหนึ่งเนื่องจากเป็นคนไม่ขี้อาย มีลักษณะ Impulsivity คือนึกจะทำอะไรก็ทำเลย อาการนี้หากมากเกินไปจะกลายเป็นข้อเสีย แต่ถ้าเป็นแบบพอประมาณ จะทำให้เขาทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ ได้ง่าย มีสังคม มีเพื่อนฝูงเยอะ
          เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นไม่ชอบทำอะไรที่ต้องจดจ่อ พ่อแม่จึงควรชวนเด็กมาทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกสนุกก่อน พยายามหาจุดเด่นของเขามาก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น ให้ช่วยทำนู่นทำนี่ อยู่โรงเรียนแทนที่ครูจะให้นั่งอยู่กับที่เฉย ๆ ก็ให้เอาสมุดไปแจกเพื่อน ไปช่วยลบกระดานดำ และควรกล่าวคำชมแก่เด็กด้วย เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่มักถูกต่อว่าเพราะพฤติกรรมที่เกิดจากโรค เด็กที่ถูกต่อว่าบ่อย ๆ จะรู้สึกไม่อยากทำอะไร แต่ถ้าได้รับคำชม เด็กจะยิ่งมีกำลังใจ ดังนั้นหากให้เด็กทำอะไรแล้วต้องชมด้วยว่าเขาทำอะไรได้ดี มีประโยชน์อย่างไร คำชมเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันให้เขาอยากทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์มากขึ้น และในขณะเดียวกันควรฝึกให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมเรื่องสมาธิ เช่น การเล่านิทานให้เด็กฟัง แล้วฝึกให้เด็กเล่าบ้าง การต่อเลโก้หรือจิ๊กซอว์ต่าง ๆ ที่สำคัญคือกิจกรรมต้องมีความหลากหลาย อย่าฝึกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ
          จะเห็นได้ว่าเด็กสมาธิสั้นมีความสามารถในหลายด้านและมีศักยภาพเหมือนกับเด็กทั่วไป การรักษาที่เหมาะสมและการดูแลด้วยความเข้าใจของคนรอบข้าง จะยิ่งช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่แตกต่างจากเด็กทั่วไป

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
Resource: HealthToday Magazine, No.209 September 2018

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคสมาธิสั้นกับการดูแลและรักษา
โรคสมาธิสั้นกับการดูแลและรักษา
แนวทางปฏิบัติต่อเด็กสมาธิสั้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiPvyZFfueOwX3r9oVqAe90i-DwBUn4QIpCCrthsjrk-N8Sxwr72ehcPYCf5HkYD7ajaUsVVcTrRZ1b4_SCpSf22d8eIf_pMJ6MMiie_Nr-MnlP7xKGN40buaX-eHVskW3pa9jSq0GmqnQ/s320/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiPvyZFfueOwX3r9oVqAe90i-DwBUn4QIpCCrthsjrk-N8Sxwr72ehcPYCf5HkYD7ajaUsVVcTrRZ1b4_SCpSf22d8eIf_pMJ6MMiie_Nr-MnlP7xKGN40buaX-eHVskW3pa9jSq0GmqnQ/s72-c/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_22.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_22.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy