มะเร็งลำไส้ใหญ่ : สาเหตุและการรักษา

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการและปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่


บทความโดย
พยาบาลหน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์

ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป

          ลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ลำไส้ใหญ่ที่อยู่ในช่องท้องหรือ โคล่อน (Colon) กับลำไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานหรือเร็คตั่ม (Rectum) มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับลำไส้ใหญ่ทุก ๆ ส่วน มะเร็งลำไส้ใหญ่ของทั้ง 2 ส่วนจะมีลักษณะโรคและวิธีการรักษาจะแตกต่างกันบ้างแต่สาเหตุการตรวจวินิจฉัยและระยะโรคคล้ายคลึงกัน มะเร็งลำไส้ใหญ่มีอุบัติการณ์สูงกว่าในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในทุกอายุจะพบได้น้อยกว่าในอายุต่ำกว่า 40 ปี อุบัติการณ์ในเพศชายจะสูงกว่าในเพศหญิง
          สาเหตุการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ได้ข้อสรุปชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่พบว่ามีหลายๆ ปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์หรือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่
  1. พันธุกรรม ทั้งชนิดพันธุกรรมที่ถ่ายทอดและพันธุกรรมที่ไม่ถ่ายทอด ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ใหญ่หรือเกิดเป็นก้อนเนื้อโพลิบ (Polyp) ของลำไส้ใหญ่
  2. อาหาร บางการศึกษาวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารไขมันสูงหรืออาหารที่ขาดใยอาหารทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า
  3. บางการศึกษาพบว่าการขาดสารอาหารบางชนิด อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้สูงกว่าผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน
  4. การรับประทานผัก ผลไม้ ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เมื่อเทียบกับการรับประทานกลุ่มอื่น
  5. การควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกายที่พอเหมาะ อาจลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ระดับหนึ่ง
  6. การดื่มสุราหรือเบียร์ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  7. การสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน

อาการและอาการแสดงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

          ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่จะเป็นอาการเช่นเดียวกับอาการของโรคลำไส้ทั่ว ๆ ไป เช่น
  1. ท้องผูก สลับท้องเสียอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
  2. อุจจาระเป็นมูกเลือด เป็นเลือดสด หรือสีดำคล้ายสีถ่าน
  3. ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ
  4. ปวดท้องอย่างรุนแรง
  5. อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ
  6. อาจคลำก้อนได้ในท้อง
          ดังนั้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์อย่าปล่อยไว้นาน

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และการตรวจหาระยะของโรค

  1. จากประวัติและการตรวจร่างกายประกอบอาการและอาการแสดงของ ผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจทางทวารหนัก
  2. การตรวจหรือการตรวจปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
  3. อาจมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยการสวนแป้งทางทวารหนัก
  4. การส่องกล้องทางทวารหนักและการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางด้านพยาธิวิทยา เพื่อหาโรคมะเร็ง
          ในการตรวจหาระยะของโรคแพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ทั้งนี้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องตรวจเหมือนๆกันในผู้ป่วยทุกราย เช่น
  1. การตรวจช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซีทีสะแกน (CT-Scan)
  2. การตรวจภาพเอกซเรย์ปอด
  3. การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูการทำงานของตับ ไต หรือ โรคเบาหวานเป็นต้น
  4. การตรวจภาพสะแกนของกระดูก ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก เพื่อตรวจว่าได้มีโรคแพร่กระจายไปกระดูกหรือไม่
  5. การตรวจอัลตราซาวด์ตับถ้าสงสัยว่ามีโรคแพร่ไปตับ

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่

  • ระยะที่ 1 โรคมะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้
  • ระยะที่ 2 โรคมะเร็งทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้และ/หรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง
  • ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
  • ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสโลหิตไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด หรือกระดูกเป็นต้น

ความรุนแรงของลำไส้ใหญ่ ความรุนแรงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่

  1. ระยะของโรค ระยะยิ่งสูงความรุนแรงของโรคก็มากขึ้น
  2. สภาพร่างกาย และโรคร่วมอื่น ๆ อันมีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยควรรักษาสภาพให้แข็งแรงและควบคุมโรคอื่นๆ ให้ได้
  3. อายุ ผู้ป่วยอายุน้อย มักมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามมากกว่าเพราะไม่ค่อยได้นึกถึงโรคมะเร็ง ส่วนผู้ป่วยสูงอายุมักมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษา
  4. ขนาดของก้อนมะเร็ง ยิ่งมีขนาดโตมากความรุนแรงของโรคจะมากกว่าในผู้ป่วยซึ่งขนาดก้อนมะเร็งเล็กกว่า
  5. การที่มีมะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง ความรุนแรงของโรคก็จะมากกว่าการไม่มีการลุกลามของโรค

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มี 3 วิธีหลักที่สำคัญ ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด
  • การผ่าตัด การรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ การผ่าตัด เอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองออกไป ในบางครั้งถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียมเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้องเป็นทางให้อุจจาระออก
  • รังสีรักษา เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อนหรือหลังการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นรายๆ ไป โดยแพทย์จะประเมินจากลักษณะการลุกลามของก้อนมะเร็งและโอกาสการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไป การฉายรังสีรักษามักใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ โดยฉายวันละ 1 ครั้ง ฉายติดต่อกัน 5 วันใน 1 สัปดาห์หรือหยุดตามวันราชการและวัน
    เสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น
  • เคมีบำบัด คือ การให้ยาสารเคมี ซึ่งอาจให้ก่อนการผ่าตัดและ/หรือหลังผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาหรือไม่ก็ได้ การใช้เคมีบำบัดก็จะขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป

การติดตามผลการรักษา

          ภายหลังรักษาครบตามกระบวนการแล้ว แพทย์ยังจะนัดตรวจผู้ป่วยสม่ำเสมอ โดยในปีแรกอาจนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ภายหลังรักษาครบ 2-3 ปีไปแล้วอาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ภายหลัง 3-5 ปี อาจนัดตรวจทุก 3-6 เดือน และถ้าเกิน 5 ปีไปแล้ว อาจนัดตรวจทุก 6-12 เดือน ในการนัดมาทุกครั้งแพทย์จะ ซักประวัติและทำการตรวจร่างกาย ส่วนการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือด หรือเอกซเรย์จะทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นราย ๆ ไปไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยควรมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอและควรนำญาติสายตรงหรือผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมาด้วย เพื่อจะได้ร่วมปรึกษาเพื่อการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

ข้อมูลอ้างอิง
https://med.mahidol.ac.th/health_service/th/km/09feb2018-1836
https://newsnetwork.mayoclinic.org/discussion/technology-advances-help-to-prevent-lessen-impact-of-colon-cancer/
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: มะเร็งลำไส้ใหญ่ : สาเหตุและการรักษา
มะเร็งลำไส้ใหญ่ : สาเหตุและการรักษา
ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการและปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjlm_dCc1yPfHi79ZFrSh5vfvbIFPeNgbPC6LsdzdOJzabkiMJW0RBvSLfhTvozaHeBPAEo6itAlYDEnAwVFLEFpuKL_NW-hmUSpGIOJYg3DYb5oOo12b_ywBn4s6NwXZUg0Fr1VXauoms/s320/%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B3%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%258D%25E0%25B9%2588.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjlm_dCc1yPfHi79ZFrSh5vfvbIFPeNgbPC6LsdzdOJzabkiMJW0RBvSLfhTvozaHeBPAEo6itAlYDEnAwVFLEFpuKL_NW-hmUSpGIOJYg3DYb5oOo12b_ywBn4s6NwXZUg0Fr1VXauoms/s72-c/%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B3%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%258D%25E0%25B9%2588.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_4.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_4.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy