โรคต่อมลูกหมากโต : อาการและการรักษา

ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุด ปัสสาวะค้าง

สาเหตุ อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา โรคต่อมลูกหมากโต

บทความโดย
นพ.วิศัลย์  อนุตระกูลชัย
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยต่อมลูกหมากโตมักจะเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีและมักจะไม่มีอาการใดๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มแสดง อาการเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และอุบัติการณ์ของต่อมลูกหมากโตจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น จาก การที่ต่อมลูกหมากอยู่รอบท่อปัสสาวะ เมื่อมีการโตขึ้นของต่อมลูกหมาก ทำให้เกิดการกดเบียดท่อปัสสาวะ ได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเวลาปัสสาวะจะมีปัญหาปัสสาวะขัด ปัสสาวะต้องใช้แรงเบ่งมากขึ้น ในบางรายที่มี อาการรุนแรงมาก อาจจะทำให้ปัสสาวะไม่ออกได้
          ต่อมลูกหมาก (Prostate) คือ อวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะส่วนต้นใต้ท่อกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ

สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต

         ยังไม่มีหลักฐานการยืนยันถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคต่อมลูกหมากโต แต่คาดว่าจะสัมพันธ์กับระดับของฮอร์โมนเพศชาย

อาการของโรคต่อมลูกหมากโต

         โดยอาการแสดงของโรคต่อมลูกหมากโต จะเกิดจากการที่ต่อมลูกหมากมีการกดเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอาการ คือ
1. อาการระคายเคืองทางเดินปัสสาวะ (Irritative symptoms)
        •  อาการปัสสาวะบ่อย (Frequency)
        •  อาการปัสสาวะเร่งรีบ (Urgency) มีการปวดปัสสาวะแล้วต้องรีบไปปัสสาวะ โดยไม่สามารถปฏิเสธหรือเลื่อนการปัสสาวะครั้งนั้นไปได้ ซึ่งในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีปัญหาปัสสาวะเล็ดราดร่วมด้วยได้    (Urge urinary incontinence)
        •  อาการที่ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) คือ ขณะนอนหลับมีการตื่นมาปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน
2. อาการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ (Obstructive symptoms)
        •  ปัสสาวะไม่พุ่ง (Decreased force of urination) ผู้ป่วยอาจจะบอกว่าปัสสาวะไม่พุ่งหรือมีลำปัสสาวะเล็กลง เนื่องจากอาการจะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักจะไม่ใส่ใจ
        •  ปัสสาวะออกช้า (Urinary hesitancy) คือ เวลาจะปัสสาวะตอนเริ่มต้นออกช้า ต้องใช้เวลาสักพัก ปัสสาวะถึงจะออกมาได้ ซึ่งโดยปกติในการขับปัสสาวะหลังจากที่มีการคลายหูรูดแล้ว ปัสสาวะก็จะออกมาทันที
        •  ลำปัสสาวะสะดุด (Intermittency) ลำปัสสาวะมีการขาดหรือสะดุดเป็นช่วงๆ
        •  ปัสสาวะหยดตอนท้าย (Postvoid dribbling) การที่มีปัสสาวะหยดออกมาหลังจากปัสสาวะเสร็จ มักเกิดจากมีปัสสาวะค้างอยู่ในท่อปัสสาวะ
        •  เบ่งปัสสาวะ (Staining) มีการใช้แรงดันจากช่องท้องในการปัสสาวะ ซึ่งโดยปกติเวลาปัสสาวะจะไม่ใช้แรงดันจากช่องท้อง   
        •  ปัสสาวะค้าง (Incomplete emptying) อาการที่ยังรู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด รู้สึกว่ามีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

        •  ซักประวัติคนไข้โดยละเอียด
        •  ตรวจร่างกาย โดยรวมไปถึงการตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination) เพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่ โดยแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักและตรวจคลำต่อมลูกหมาก
        •  ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจดูว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือมีเลือดปนมาในปัสสาวะหรือไม่
        •  ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ในกรณีที่มีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
        •  นอกจากนี้ อาจจะทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะและปริมาณปัสสาวะที่สามารถปัสสาวะออกมาได้ รวมไปถึงวัดปริมาณปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
        •  การตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
        •  การส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ เพื่อประเมินขนาดของต่อมลูกหมากที่มากดเบียดท่อปัสสาวะ

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

        •  หากแพทย์ประเมินอาการแล้วพบว่ามีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรักษาหรืออาจจะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากเกินไป โดยเฉพาะช่วงก่อนเข้านอน งดดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยได้ หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก
        • รักษาโดยการใช้ยา ซึ่งยาที่นำมาใช้รักษาจะมีอยู่ 3 กลุ่มได้แก่
        • ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้คลายตัวลง (alpha-blockers)
        • ยาช่วยลดขนาดต่อมลูกหมาก (5-alpha reductase inhibitor)
        • ยาในกลุ่มสมุนไพร
        • รักษาโดยการผ่าตัด ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ได้แก่
        • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
        • ปัสสาวะไม่ออกหลายครั้ง (Refractory urinary retention)
        • ปัสสาวะเป็นเลือดซ้ำซาก (Recurrent hematuria)
        • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก (Recurrent urinary tract infection)
        • เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesical calculi)
        • เกิดภาวะไตวายซึ่งส่งผลมาจากต่อมลูกหมากโต
         ซึ่งการผ่าตัดที่ถือว่าเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องคว้านต่อมลูกหมาก    (TransUrethral Resection of Prostate : TURP) เพื่อตัดเอาเนื้อต่อมลูกหมากที่มีการกดเบียดท่อปัสสาวะออก โดยศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะสอดกล้องผ่านท่อปัสสาวะเข้าสู่ตำแหน่งของต่อมลูกหมาก โดยที่ปลายกล้องจะมีเครื่องมือผ่าตัด ลักษณะเป็นเส้นลวดไฟฟ้า ใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดเบียดท่อปัสสาวะเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วล้างเอาชิ้นเนื้อนั้นออกมาส่งตรวจ
         ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มาก ศัลยแพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเสียเลือดมากขึ้น

การป้องกันการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต

        • ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดในการป้องกันการเกิดต่อมลูกหมากโต

ข้อมูลอ้างอิง
http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-120
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคต่อมลูกหมากโต : อาการและการรักษา
โรคต่อมลูกหมากโต : อาการและการรักษา
ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุด ปัสสาวะค้าง
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgOL6xMma3J85JBVlxeMRa7OBwe627KRVjpVLnnm21GSCElNJuaB0N5KRGLc0tB8xpdazoAu0yfip1nwPIT6FXFmBr9Zk2q2oLWeayDo3vTtTgLKFItYsYOE1zNR-yl7dOu1KSj_n2o2xg/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2595.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgOL6xMma3J85JBVlxeMRa7OBwe627KRVjpVLnnm21GSCElNJuaB0N5KRGLc0tB8xpdazoAu0yfip1nwPIT6FXFmBr9Zk2q2oLWeayDo3vTtTgLKFItYsYOE1zNR-yl7dOu1KSj_n2o2xg/s72-c/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2595.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_5.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_5.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy