ภาวะสมองเสื่อมชะลอได้

ภาวะสมองเสื่อมสามารถชะลอได้


บทความโดย
อ.พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์
ที่มา : HealthToday Magazine, No. 177 January 2016
ปัจจุบันคนในสังคมเริ่มตระหนักรู้มากขึ้นว่า อาการสมองเสื่อมไม่ได้เป็นอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นตามอายุ ไม่ใช่ความเสื่อมตามวัย แต่เป็นอาการผิดปกติที่เรียกว่าเป็น “โรค” จึงพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้เร็วขึ้น สำหรับสาเหตุและการการดูแลควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มีอย่างไรบ้าง...

กลุ่มเสี่ยงต่ออาการของสมองเสื่อม

          ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกจากปัจจัยเสี่ยงด้าน อายุ แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ทำให้สมองของเราทำงานได้แย่ลงกว่าอายุจริง เช่น ภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ การสูบบุหรี่ ความเครียด เหล่านี้มีส่วนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดี และเกิดความเสื่อมได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ปัจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้ว พันธุกรรม ก็อาจมีผลต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้เช่นกัน แต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบได้น้อยมากในกลุ่มประชากรไทย สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคเอดส์ ซิฟิลิส ทำให้เซลล์สมองเสื่อมเร็วกว่าปกติถ้าโรคเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษา การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 โฟเลต หรือการได้รับสารพิษบางอย่าง เช่น ตะกั่ว ปรอท การได้รับบาดเจ็บทางสมองซ้ำๆ หรือ การกระทบกระเทืองทางสมองที่รุนแรง ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมมากขึ้น ดังนั้นการดูแลควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ตามที่กล่าวมา รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างถูกต้อง จะช่วยให้สมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อีกนาน

รักษาไม่หาย แต่ชะลอได้

          ปัจจุบันสมองเสื่อมยังคงเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ทำได้เพียงชะลอหรือคงความสามารถของสมองไว้ให้นานที่สุดเท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากผู้ป่วยและญาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยเป็นในระยะแรก การรักษาจะมุ่งไปที่ผู้ป่วยเป็นหลัก คือ ผู้ป่วยจะต้องหมั่นฝึกฝนทักษะด้านสมองด้วยตนเองโดยมีญาติช่วยแนะนำหรือกระตุ้นให้เกิดการฝึกฝน สิ่งสำคัญคือ ผู้ดูแลควรให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น ให้ผู้ป่วยได้ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แต่ในกรณีที่สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว หน้าที่หลักจะอยู่ที่ผู้ดูแล โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรค ปรับกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย
          ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เป็นในระยะแรกยังมีความรู้ความเข้าใจว่าตัวเองป่วยด้วยโรคอะไร ทำให้ส่วนใหญ่มักจะเศร้าและวิตกกังวลเรื่องของอนาคตว่าใครจะดูแลถ้าอาการของโรคเป็นมากขึ้น ต่างกับผู้ป่วยที่โรคเข้าสู่ระยะกลางหรือระยะท้ายซึ่งการรู้ตัวของเขาจะน้อยลง จึงไม่ค่อยกังวลเรื่องอนาคต สำหรับผู้ป่วยระยะแรก แพทย์จะแนะนำวิธีการเตรียมตัว เช่น อธิบายเรื่องโรคและลักษณะการดำเนินโรค การหาผู้มีอำนาจทำการแทน การทำพินัยกรรม ซึ่งการพูดคุยวางแผนเรื่องอนาคตจะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยลงได้

ดูแลควบคู่ทั้งผู้ป่วยและตนเอง

          การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ต่างคนก็ต่างปัญหา ดังนั้นวิธีปฏิบัติและข้อจำกัดต่างๆ จึงแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามแนวทางปฏิบัติหลักๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้คือ ไม่ควรทำอะไรที่ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแล การให้อภัย ความเข้าใจและรู้ว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะทำพฤติกรรมสร้างปัญหา การรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ไม่เคร่งครัดจนเกินไป
          การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นงานหนัก ปัญหาที่พบบ่อยๆ คือ การใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ป่วยในแต่ละวัน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองไป ผู้ดูแลจำเป็นต้องทำแทนมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากการสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองแล้ว ผู้ดูแลอาจต้องรับมือกับปัญหาด้านพฤติกรรมและปัญหาทางจิตเวชของผู้ป่วยด้วย ทำให้เกิดความยุ่งยากในการอยู่ร่วมกันมากขึ้น ผู้ดูแลจะเหนื่อยกายเหนื่อยใจ นำไปสู่ปัญหาความเครียด และอาการที่เรียกว่า “หมดรัก” ในที่สุด ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรดูแลตนเองในทุกด้านด้วย เช่น ดูแลร่างกายให้แข็งแรง หมั่นสังเกตสภาพจิตใจของตนเอง ถ้ารู้สึกเครียดหรือกังวลเกี่ยวกับผู้ป่วยควรพูดคุยปรึกษาแพทย์ และควรให้ความสำคัญกับสุขภาพด้านสังคมด้วย เช่น การพบปะกับกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหาที่เจอในแต่ละวัน หรือการมีเพื่อนไว้พูดคุยปรึกษาเป็นกำลังใจในยามที่ผู้ป่วยจากไปแล้ว เป็นต้น
          ในประเทศไทยได้มีการก่อตั้ง “สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม” ขึ้นเมื่อหลายปีก่อน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ดูแล ให้ผู้ดูแลได้นำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความรักความเข้าใจ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.azthai.org หรือเฟซบุ๊ก “สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม”
          โรคสมองเสื่อม หากมองในหลายๆ แง่มุมจะพบว่าเราสามารถลดความเสี่ยงหรือชะลอได้ ดังนั้นเราจึงควรดูแลทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพของสมองควบคู่กันไป นอกจากนี้สมองเสื่อมไม่ใช่โรคของคนเพียงคนเดียว ผู้ป่วยยังต้องการผู้ดูแล เพราะเขาจะสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองหรืออยู่ตามลำพัง เพราะฉะนั้นผู้อ่านท่านใดมีญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักที่ต้องดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม แล้วไม่รู้จะไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ไหน ลองแนะนำให้เข้ามาดูในเฟซบุ๊ก “สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม” อย่างน้อยน่าจะช่วยให้เขาเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวโรค เข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นมากขึ้น สามารถรับมือกับปัญหาและสถาณการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น

ขอบคุณที่มาบทความนี้จาก www.healthtodaythailand.in.th
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ภาวะสมองเสื่อมชะลอได้
ภาวะสมองเสื่อมชะลอได้
ภาวะสมองเสื่อมสามารถชะลอได้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi-euGfl23gOB5d1jsGQZGOBecSrNkuvu_v_Yd3tK4YqRoOLHoHcLalh37LZL5G73Lciy4CVgEstgmx0APyxOdz0Tm9JLWwbHwPSVfM-V8RoievTKgW3b-UpfTAKmofxJw_dH1seMc1nIU/s320/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi-euGfl23gOB5d1jsGQZGOBecSrNkuvu_v_Yd3tK4YqRoOLHoHcLalh37LZL5G73Lciy4CVgEstgmx0APyxOdz0Tm9JLWwbHwPSVfM-V8RoievTKgW3b-UpfTAKmofxJw_dH1seMc1nIU/s72-c/%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_59.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_59.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy