สายตาเสื่อมสภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์ : Computer vision syndrome

วิธีป้องกันการเสื่อมสภาพของสายตา


บทความโดย
พญ.วีรยา พิมลรัฐ
แพทย์ชำนาญพิเศษ จักษุวิทยา, จอตา, โรคอักเสบและติดเชื้อในตาและกระจกตา
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ท หรือสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยประสบปัญหากับหนึ่งในอาการเหล่านี้ เช่น ปวดเมื่อยตา ตาแห้ง แสบตา เคืองตา ตาพร่ามัว โฟกัสได้ช้าลง ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ หรือบางครั้งอาจมีอาการปวดหลัง ไหล่หรือต้นคอร่วมด้วย
          หากคุณเคยมีอาการเหล่านี้ร่วมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน อาจบ่งบอกว่าคุณน่าจะมีกลุ่มอาการที่เรียกว่า “Computer vision syndrome”
          Computer vision syndrome คือ กลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น มีการศึกษาพบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน เคยประสบกับหนึ่งในกลุ่มอาการนี้ ทั้งนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น
  • ขณะเราจดจ่อกับการอ่านหนังสือหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์ เราจะกระพริบตาน้อยลงจึงทำให้เกิดอาการตาแห้งง่ายขึ้น
  • แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม รวมทั้งการมีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์
  • การที่ตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ไม่เรียบคมชัดเท่าตัวพิมพ์บนหน้าหนังสือ หรือการมีความไม่นิ่งของสัญญาณในจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เราต้องพยายามในการโฟกัสมากขึ้นจึงก่อให้เกิดอาการตาเมื่อยล้าได้ง่ายขึ้น
  • ระยะห่างจากหน้าจอ ระดับสายตาในการมองจอคอมพิวเตอร์ หรือท่าทางในการในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม
          แม้ว่ากลุ่มอาการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อตาหรือการมองเห็น แต่มักก่อให้เกิดความไม่สบายตา และอาจเป็นปัญหารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งวิธีง่ายๆที่จะช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยง Computer vision syndrome มีดังนี้ คือ
  1. ปรับระดับการมองเห็นและปรับท่านั่งในการทำงานให้เหมาะสม
    • จุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากตาประมาณ 20-28 นิ้ว
    • แป้นพิมพ์ควรวางอยู่ในระดับต่ำกว่าจอ โดยให้ข้อมือและแขนขนานไปกับพื้น ข้อศอกตั้งฉาก ไม่อยู่ในลักษณะเอื้อมไปข้างหน้า
    • ปรับระดับเก้าอี้โดยให้ฝ่าเท้าวางราบไปกับพื้น เข่าตั้งฉาก ต้นขาขนานกับพื้น อาจมีที่วางข้อศอกและแขนเพื่อลดอาการล้าที่หัวไหล่ แขน และข้อมือ
    • เอกสารสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือควรวางอยู่ในระดับและระยะเดียวกับจอ เพื่อไม่ต้องขยับหรือหันศีรษะและเปลี่ยนการปรับโฟกัสมากเกินไป
  2. ปรับแสงสว่างจากภายนอกและจากจอคอมพิวเตอร์
    • ปิดม่านหน้าต่าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดดหรือแสงสว่างจากภายนอกส่องกระทบจอคอมพิวเตอร์ แสงภายในห้องทำงานที่สว่างเกินไปจะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึกไม่สบายตาได้
    • อาจใช้แผ่นกันแสงสะท้อนติดหน้าจอภาพ
    • ปรับความสว่างของหน้าจอและความแตกต่างของสีระหว่างพื้นจอและตัวอักษรให้สามารถมองเห็นได้คมชัดและสบายตาที่สุด
  3. พักสายตาระหว่างการทำงาน เมื่อใช้สายตาติดต่อกันนาน 20 นาที ควรละสายตาออกจากจอคอมพิวเตอร์และมองออกไปให้ไกล 20 วินาที นอกจากนี้ทุกๆ 2 ชั่วโมง ควรพักสายตาหรือลุกจากโต๊ะทำงานเพื่อเป็นการผ่อนคลายเป็นเวลาอย่างน้อย 15-20 นาที
  4. กระพริบตาบ่อยขึ้น หรือหยอดน้ำตาเทียม เพื่อช่วยลดอาการตาแห้งและช่วยให้สบายตาขึ้น
  5. พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดสายตา
เอกสารอ้างอิง
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: สายตาเสื่อมสภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์ : Computer vision syndrome
สายตาเสื่อมสภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์ : Computer vision syndrome
วิธีป้องกันการเสื่อมสภาพของสายตา
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgsxeG8tua6sHPGtWsqvIti31LH4SkD3oUJp9pizuHE8IdDnh4QfrXbR-CYuSAn_skGTaLxQXqYtPf1mzy0nHW0l7RLWwCAB4rSrjNbjyqJBqjUO2eKsKo5Em-7F1VnP7FyRaPA1Dkz5ag/s320/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C-Computer+vision+syndrome.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgsxeG8tua6sHPGtWsqvIti31LH4SkD3oUJp9pizuHE8IdDnh4QfrXbR-CYuSAn_skGTaLxQXqYtPf1mzy0nHW0l7RLWwCAB4rSrjNbjyqJBqjUO2eKsKo5Em-7F1VnP7FyRaPA1Dkz5ag/s72-c/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C-Computer+vision+syndrome.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/computer-vision-syndrome.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/computer-vision-syndrome.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy