โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ภัยเสี่ยงถึงชีวิต (Heat Stroke)

โรคลมแดดอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าช่วยเหลือไม่ทัน

  • บทความโดย
  • รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ
  • ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน มีอุณหภูมิสูง นอกจากนี้ สภาพอากาศของโลกที่มีแนวโน้มอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาของช่วงฤดูร้อนนานขึ้น ร่างกายคนต้องมีการปรับตัวต่อสภาพอากาศร้อน ถ้าร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ จะเกิดภาวะวิกฤตที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงดังกล่าว บทความนี้ขอให้ข้อมูลเรื่อง โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ให้มีความรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายจากสภาพอากาศร้อน
          จากข้อมูลการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเนื่องจากภาวะอากาศร้อน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ช่วงฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ระหว่างปี 2558-2561 พบว่ามีรายงานผู้เสียชีวิตที่เข้าข่ายการเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 56, 60, 24, 18 ราย ตามลำดับ โดยมีอุณหภูมิช่วงฤดูร้อนสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 38.9, 38.1, 38.0 และ 38.1 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และได้แนะนำให้เฝ้าระวังและดูแล เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยเรื้อรัง อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงกว่าคนทั่วไปที่อาจเสียชีวิตได้ง่าย
          โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด (heat stroke) เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากความร้อนที่มีความรุนแรงมากที่สุด หลายประเทศทั่วโลกจึงให้ความสำคัญ โดยมีรายงานว่าทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 10-50 และผู้รอดชีวิตอาจมีความพิการทางระบบประสาทอย่างถาวรร้อยละ 7-20 โรคลมร้อนเป็นภาวะที่อุณหภูมิแกนของร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการสับสน เพ้อ ชักเกร็ง ซึม หรือหมดสติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของร่างกายทุกระบบได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและรักษาทันที เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดและสามารถฟื้นคืนสู่สภาพร่างกายที่ปกติได้

ประเภทของโรคลมร้อน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. โรคลมร้อนหรือโรคลมแดดทั่วไป (classical or nonexertional heat stroke; NEHS) พบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งอยู่ในสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง กลไกการระบายและควบคุมความร้อนทำงานล้มเหลว ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนจึงมีอุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส และในที่สุดเกิดเป็นโรคลมร้อนหรือโรคลมแดด
  2. โรคลมร้อนจากการออกกำลังกาย (exertional heat stroke; EHS) พบในคนวัยหนุ่มสาวที่ทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายอย่างหนักเป็นระยะเวลานานในกลางแจ้งหรือในสภาพอากาศร้อนจัด มีการเพิ่มการสร้างความร้อนของร่างกายมากกว่าที่ร่างกายจะสามารถระบายความร้อนได้ทัน ทำให้อุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน มึนงงกล้ามเนื้อหดเกร็ง หายใจลำบาก เป็นต้น และมักพบว่าเป็นลม หมดสติ ก่อนที่จะเกิดภาวะโรคลมร้อน

การควบคุมอุณหภูมิร่างกายในภาวะปกติ

          ปกติระดับอุณหภูมิกายของมนุษย์ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ อุณหภูมิกายที่สูงขึ้นเกิดจากสิ่งแวดล้อมและเมแทบอลิสมของเซลล์ ร่างกายมนุษย์สามารถปรับสมดุลความร้อนโดยการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางคือสมองส่วนของไฮโปทาลามัส ร่วมกับกลไกทางสรีรวิทยาต่างๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของหลอดเลือด ซึ่งเพิ่มการไหลของเลือดและมีการกระจายของเลือดเพิ่มขึ้น การทำงานของต่อมเหงื่อเพื่อระบายความร้อนทางผิวหนัง เป็นต้น

การระบายความร้อนของร่างกายมี 4 วิธีคือ
  1. การนำความร้อน (conduction) เป็นการถ่ายเทความร้อนจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง สามารถใช้น้ำเป็นตัวกลางนำความร้อนที่ดี เพื่อลดความร้อนของร่างกาย
  2. การพาความร้อน (convection) เป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยอาศัยการหมุนเวียนของอากาศที่อยู่ล้อมรอบเป็นตัวพา โดยความร้อนจากภายในร่างกายอาศัยเลือดเป็นตัวพามาระบายที่ผิวหนังโดยถ่ายเทให้อากาศ
  3. การแผ่รังสีความร้อน (radiation) เป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกายในรูปของคลื่นรังสี ที่แผ่ออกไปทุกทิศทุกทาง โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง
  4. การระเหยความร้อน (evaporation) เป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกายที่ออกทางผิวหนังเช่นเหงื่อและทางเดินหายใจโดยที่เราไม่รู้สึกตัว
          ใน 4 วิธีนี้ การระเหยความร้อน (evaporation) โดยการขับเหงื่อ มีประสิทธิภาพสูงสุดในการระบายความร้อนออกจากร่างกาย แต่กรณีที่อุณหภูมิของอากาศใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด ซึ่งเห็นได้ว่า ในผู้ป่วยโรคลมร้อนทั่วไปไม่มีเหงื่อออก แต่วิธีการนำความร้อน (conduction) จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเช็ดตัวด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย สามารถระบายความร้อนได้ดี จึงช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายได้
          เมื่ออากาศร้อน นอกจากร่างกายตอบสนองโดยมีการสร้างเหงื่อมากขึ้นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอื่นๆอีก เช่น อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เลือดไหลเวียนไปที่ผิวหนังเพิ่มขึ้นแต่มีเลือดไหลเวียนที่อวัยวะภายในลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ สมอง หัวใจ ตับและไต ส่งผลให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ยาปิดกั้นเบตา ยาต้านฮีสตามีน ยาขับปัสสาวะ และยาธัยรอยด์ มีผลให้เลือดไปที่ผิวหนังลดลง ทำให้การระบายความร้อนลดลง จึงมีโอกาสเกิดโรคลมร้อนง่ายขึ้น

โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ดังนี้

  1. ระบบประสาทส่วนกลาง อุณหภูมิที่สูงขึ้นในร่างกายทำให้เกิดภาวะของสมองบวม สมองขาดเลือด และเมแทบอลิสมผิดปกติ จึงมีผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ทำให้มีอาการสับสน กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เดินเซ ชักเกร็งและหมดสติ ที่สำคัญในรายที่รุนแรงหรือไม่ได้รับการรักษาอาจมีความพิการทางระบบประสาทอย่างถาวร
  2. ระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคลมร้อน มีภาวะขาดน้ำ (dehydration) มีปริมาตรของเลือดในร่างกายน้อย (hypovolemia) และมีการคลายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้ความดันโลหิตต่ำ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ บางรายพบว่ามีการเต้นไม่เป็นจังหวะร่วมด้วย และอาจพบผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ซึ่งความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ และความดันโลหิตต่ำ ทำให้อันตรายการถึงแก่ชีวิตได้
  3. โลหิตวิทยา ผู้ป่วยโรคลมร้อน มีภาวะขาดน้ำ มีปริมาณส่วนน้ำเลือดในร่างกายน้อย ทำให้เลือดข้น (polycythemia) ซึ่งจะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย พบว่าเมื่ออุณหภูมิกายสูงช่วง 42-44 องศาเซลเซียส มีผลกระทบต่อเมแทบอลิสมของเซลล์และการทำงานของเอนไซม์ ได้แก่กระตุ้นให้เกร็ดเลือดทำงาน ทำให้เกิดลิ่มเลือดเล็กๆกระจายทั่วไปในหลอด
  4. ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคลมร้อนทั้งสองประเภท มีอัตราการหายใจเร็วผิดปกติ โดยในผู้ป่วยโรคลมร้อนจากการออกกำลังกาย จะเริ่มด้วย respiratory alkalosis ต่อมาเป็นภาวะเลือดเป็นกรด (metabolic acidosis) พบกรดแลคติกในเลือดสูง และเนื้อเยื่อถูกทำลายอย่างถาวร แต่ในผู้ป่วยโรคลมร้อนทั่วไปจะเกิด respiratory alkalosis อย่างเดียวเท่านั้น ในรายที่รุนแรงของโรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ทั้งสองประเภทพบว่ามีปอดบวม เนื้อเยื่อปอดตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง รวมถึงอาจเกิดภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาสงบระงับ (sedation) และใส่ท่อเข้าหลอดลมร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจ
  5. ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้และตับถูกทำลายเนื่องจากความร้อนโดยตรงและจากการมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงน้อยลง มีการเพิ่มการซึมผ่านของลำไส้เพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้สารพิษผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ ส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่อการอักเสบอย่างรุนแรง ส่วนตับถูกทำลาย พบอาการดีซ่านและเอนไซม์ตับสูงขึ้น อาจเกิดภาวะตับวาย ซึ่งแม้ว่าพบน้อย แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างมาก
  6. ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคลมร้อนหรือโรคลมแดด มีภาวะขาดน้ำ มีปริมาตรของเลือดในร่างกายน้อย ทำให้ปัสสาวะน้อย มีการสลายของกล้ามเนื้อลาย (rhabdomyolysis) และภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด (disseminated intravascular coagulation; DIC) ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน จึงสามารถตรวจพบระดับครีอะตีนิน ไคเนส สูง ในผู้ป่วยโรคลมร้อนทั้งสองประเภท และพบว่าโอกาสเกิดไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคลมร้อนจากการออกกำลังกายมากกว่าในผู้ป่วยโรคลมร้อนทั่วไป
  7. อิเล็กโทรไลท์ปริมาณอิเล็กโทรไลท์ในเลือดผิดปกติ ได้แก่ ในระยะเริ่มแรก ระดับโพแตสเซียม ฟอสเฟตในเลือดต่ำ ต่อมาเมื่อเนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น จะพบระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำและฟอสเฟตในเลือดสูง

การป้องกัน

          เรียนรู้อันตรายของโรคลมหรือโรคลมแดด ปัจจัยเสี่ยง และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองรวมทั้งบุคคลในครอบครัว ดังนี้
  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำบ่อยๆ โดยไม่รอให้กระหายน้ำ และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  2. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน หลวมๆไม่รัดแน่น ควรเป็นเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี
  3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องอยู่กลางแดด ไม่ออกกำลังกายในที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานาน
  4. เฝ้าระมัดระวังดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง ให้อยู่ในที่มีอากาศถ่ายเท และปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดโรคลมร้อน

การปฐมพยาบาล

          เมื่อพบผู้ป่วยโรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ควรช่วยเหลือดังนี้
  1. เคลื่อนย้ายเข้าในที่ร่ม นอนราบและยกเท้าสูงทั้งสองข้าง
  2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม ไม่รัดแน่น
  3. รีบช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายผู้ป่วย ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น เพื่อลดอุณหภูมิกายโดยเร็ว
  4. นำส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว สามารถโทร 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ

เอกสารอ้างอิง
  1. ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562.
  2. Lipman GS, Eifling KP, Ellis MA et al. Wilderness Medical Society practice guilines for the prevention and treatment of heat-related illness: 2014 update. Wilderness Environ Med. 2014. 25: S55-S65.
  3. Burt A. (Edited by English W). Diagnosis and management of heat stroke. Anesthesia. Tutorial of the Week. 2016. 15th Nov:1-8.

[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ภัยเสี่ยงถึงชีวิต (Heat Stroke)
โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ภัยเสี่ยงถึงชีวิต (Heat Stroke)
โรคลมแดดอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าช่วยเหลือไม่ทัน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj1KdEw-lGyNbYs19k0-ZLL9QBDqwPBdtRiEhKS5EFpb0bjiCcyEuLCLSnLT_1l99EufvrRY4uzYLfY-XqNzQOorueHMReEkjrEJ_RIq7q-ey4fjlST6SG-BF_AU1_5Mlp3t1MxGEmQkcE/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2594+%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595+%2528Heat+Stroke%2529.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj1KdEw-lGyNbYs19k0-ZLL9QBDqwPBdtRiEhKS5EFpb0bjiCcyEuLCLSnLT_1l99EufvrRY4uzYLfY-XqNzQOorueHMReEkjrEJ_RIq7q-ey4fjlST6SG-BF_AU1_5Mlp3t1MxGEmQkcE/s72-c/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2594+%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595+%2528Heat+Stroke%2529.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/heat-stroke.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/heat-stroke.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy