ใบย่านางมีสรรพคุณรักษาเกาต์เชื่อได้หรือไม่
ข้อมูลโดย
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ดังนั้นผู้ป่วยควรลดน้ำหนักตัว, งดเหล้า-เบียร์ และลดปริมาณอาหารที่มีกรดยูริกสูงลง ในอินเทอร์เน็ตมีการแชร์ว่าหากกินใบย่านางจะสามารถรักษาโรคเกาต์ได้ ซึ่งยังไม่มีข้อพิสูจน์ แม้จะพบว่าใบย่านางมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้คล้ายกับยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตรียรอยด์ (NSAIDs) แต่ยังไม่มีการศึกษาใดสามารถยืนยันผลว่าสามารถรักษาเกาต์ได้จริง โดยสรรพคุณของใบย่านางตามสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน มีไว้แก้ไข้ทุกชนิด
หากพบว่าตัวเองมีอาการที่อาจแสดงว่าเป็นโรคเกาต์ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและถูกวิธี ดังนั้นก่อนจะกิน และเชื่ออะไรควรเช็กให้มั่นใจก่อนว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยสามารถมา เช็กให้ชัวร์กับ อย. กันก่อนนะ
ที่มาข้อมูล
https://sure.oryor.com/index.php/detail/media_specify/691
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
แชร์ทั่วอินเทอร์เน็ต กินยาใบย่านางรักษาเกาต์ได้จริงหรือไม่ มาติดตามกันได้ใน อย. เช็ก ชัวร์ แชร์ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับโรคเกาต์กันก่อน โรคเกาต์เป็นโรคข้อซึ่งเกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เป็นระยะเวลานานจนตกตะกอน ทําให้เกิดโรคข้ออักเสบ บวม และแดง ซึ่งหากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่องโรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยภาวะกรดยูริกสูงนี้ สัมพันธ์กับภาวะอ้วน, พันธุกรรมในครอบครัว, ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ และยาแอสไพริน, โรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง และอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เหล้า, เบียร์, เครื่องในสัตว์, อาหารทะเล, อาหารประเภทที่มีไขมันสูง, สัตว์ปีก และสัตว์เนื้อแดง
ดังนั้นผู้ป่วยควรลดน้ำหนักตัว, งดเหล้า-เบียร์ และลดปริมาณอาหารที่มีกรดยูริกสูงลง ในอินเทอร์เน็ตมีการแชร์ว่าหากกินใบย่านางจะสามารถรักษาโรคเกาต์ได้ ซึ่งยังไม่มีข้อพิสูจน์ แม้จะพบว่าใบย่านางมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้คล้ายกับยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตรียรอยด์ (NSAIDs) แต่ยังไม่มีการศึกษาใดสามารถยืนยันผลว่าสามารถรักษาเกาต์ได้จริง โดยสรรพคุณของใบย่านางตามสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน มีไว้แก้ไข้ทุกชนิด
หากพบว่าตัวเองมีอาการที่อาจแสดงว่าเป็นโรคเกาต์ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและถูกวิธี ดังนั้นก่อนจะกิน และเชื่ออะไรควรเช็กให้มั่นใจก่อนว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยสามารถมา เช็กให้ชัวร์กับ อย. กันก่อนนะ
ที่มาข้อมูล
https://sure.oryor.com/index.php/detail/media_specify/691