ไอเรื้อรัง : รู้เร็ว รู้ให้ทัน รับมือได้ไม่ยาก

ไอกี่สัปดาห์ถือว่าไอเรื้อรังต้องรีบตรวจด่วน

บทความโดย
ศูนย์อายุรกรรม
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

อาการไอเรื้อรัง

เป็นปัญหาที่พบบ่อยและเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด ไซนัสอักเสบ ไปจนถึงโรคมะเร็งปอด อาการไอเรื้อรังจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรให้ความสนใจไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาตามสาเหตุนั้นๆ

ชนิดของอาการไอ แบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ คือ

  1. ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส มลพิษทางอากาศ
  2. ไอกึ่งเฉียบพลัน ระยะเวลาของอาการไอประมาณ 3 -8 สัปดาห์
  3. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง รับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงชนิด angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม โรควัณโรคปอด ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ

สาเหตุของการไอเรื้อรัง แยกตามอวัยวะ

1. โรคจมูก
  • โรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักมีอาการคัดจมูก คันจมูก จามบ่อยๆ ร่วมกับอาการไอแห้งๆ ระคายคอ เป็นมากเวลาโดนฝุ่นหรือควันบุหรี่ การรักษา คือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และกินยาแก้แพ้ หรือใช้ยาพ่นจมูกตามแพทย์สั่ง
  • ไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีไข้ต่ำๆ หรือมีน้ำมูกขุ่นขาวหรือเหลือง มีกลิ่นเหม็นในโพรงจมูก หรือมีกลิ่นปากเนื่องจากมีเสมหะลงคอ อาการไอจะเป็นการไอแบบมีเสมหะร่วมกับน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่ต้องรับการรักษาและกินยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง เพื่อไม่ให้โรคลุกลามหรือเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนในภายหลัง
2. โรคในช่องคอที่ทำให้เกิดอาการไอ 
  • คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับอาการไข้ เจ็บคอ กลืนเจ็บ มักเป็นเฉียบพลัน เกิดในระยะสั้นๆ รักษาโดยยาปฏิชีวนะหรือยารักษาตามอาการ
3. โรคของกล่องเสียงและหลอดลมที่ทำให้เกิดอาการไอ
  • กล่องเสียงอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหรือใช้เสียงมาก พบร่วมกับอาการเสียงแหบ บางครั้งพบร่วมกับภาวะที่มีกรดจากกระเพราะไหลย้อนขึ้นมา เกิดเป็นอาการไอเรื้อรังร่วมกับอาการเสียงแหบได้
  • มะเร็งกล่องเสียง พบในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มาก ผู้ป่วยมักมีอาการไอร่วมกับเสียงแหบ ถ้าเป็นมากอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มีอาการกลืนลำบาก หายใจลำบากร่วมด้วย ควรตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
4. โรคของทางเดินหายใจส่วนล่าง
  • วัณโรคปอด เป็นโรคที่ยังคงพบบ่อยในประเทศไทย สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาให้ครบตามแผนการรักษา
  • โรคหอบหืด อาจพบรวมกับโรคภูมิแพ้ รักษาด้วยการใช้ยากินและพ่นยา
  • ถุงลมโป่งพอง มักพบในผู้ป่วยสูบบุหรี่มาก หรือเคยเป็นโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ มาก่อน
  • มะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งที่สามารถตรวจพบแต่เนิ่นๆ ได้ด้วยการถ่ายภาพรังสีปอดเป็นประจำทุกปีร่วมกับการตรวจสุขภาพ หรือตรวจ Low Dose CT Chest ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง

การรักษาอาการไอเรื้อรัง

การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอและรักษาตามสาเหตุ การไอเรื้อรังในบางครั้งอาจหายเองได้ บางครั้งเป็นโรคร้ายแรง หรือโรคที่ต้องรับการตรวจวินิจฉัยและรีบทำการรักษา จึงควรมาพบแพทย์และไม่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

ขอขอบคุณ ต้นฉบับบทความ
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ไอเรื้อรัง : รู้เร็ว รู้ให้ทัน รับมือได้ไม่ยาก
ไอเรื้อรัง : รู้เร็ว รู้ให้ทัน รับมือได้ไม่ยาก
ไอกี่สัปดาห์ถือว่าไอเรื้อรังต้องรีบตรวจด่วน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjh5u_gKurIFPi7mDa7ijG__DE9ZvXrRp66zk3tgYngN201bRTIJO0GAg39qNe99fV13IQHQxZ4Kb9fpm0s6utuztuAayKoKAWu-_ADozfJ7QgIYU6M04PCodEo6i2z6LUFvgDtMN8VixQ/s320/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2588+%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587+%2528Chronic+cough%2529.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjh5u_gKurIFPi7mDa7ijG__DE9ZvXrRp66zk3tgYngN201bRTIJO0GAg39qNe99fV13IQHQxZ4Kb9fpm0s6utuztuAayKoKAWu-_ADozfJ7QgIYU6M04PCodEo6i2z6LUFvgDtMN8VixQ/s72-c/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2588+%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587+%2528Chronic+cough%2529.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_22.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_22.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy