ผมร่วง ผมบาง รักษาได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์
บทความโดย
ดร.พญ. พลินี รัตนศิริวิไล
ผู้เชี่ยวชาญโรคเส้นผมและหนังศีรษะ
เวชศาสตร์ชะลอวัย
ประจำศูนย์ผิวหนังและความงาม
โรงพยาบาลพญาไท 1
ทั้งนี้ ภาวะผมร่วงสามารถพบได้ในวัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหาภาวะผมบาง หรือ ผมร่วง จน ถึงขั้นศีรษะล้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ชายที่มีปัญหานี้ถึงกว่า 17 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้เรามีนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และรักษาปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องกังวลอีกต่อไป
ทั้งนี้ ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ สามารถทำได้โดยการใช้กล้อง "Dermoscope and VDO microscope" (กล้องไมโครสโคปและ กล้องวิดิโอกำลังขยายสูง) ส่องตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยเราสามารถใช้กล้องกําลังขยายสูงตรวจดูการอักเสบหนังศีรษะและรากผม รวมถึงลักษณะของเส้นผม ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยแยกหลายโรคจากกัน และยังช่วยติดตามผลการรักษา โดยที่คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัวจากการตรวจโดยการตัดชิ้นเนื้อด้วย
สําหรับภาวะผมร่วงตามพันธุกรรมนั้นสามารถรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ ยาทาซึ่งมีคุณสมบัติในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงรากผม กระตุ้นการงอกของเส้นผม และ ลดอิทธิพลฮอร์โมนเพศชายซึ่งทําให้ผมร่วง ยารับประทานมีหลายชนิด ในเพศชายรักษาด้วยยาในกลุ่มยารักษาต่อมลูกหมากโต เพื่อกระตุ้นการงอกเส้นผมใหม่ ปรับสมดุลฮอร์โมนซึ่งมีอิทธิพลต่อรากผม รวมทั้งยาคุมกําเนิดบางชนิด แต่จะมีข้อห้ามในหญิงตั้งครรภ์หรือมีโอกาสตั้งครรภ์และให้นมบุตร โดยแพทย์จะวางแผนการรักษาตามเพศ อายุ และความรุนแรงของโรค การกินยาควรอยู่ภายใต้การดูแลใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากยาแต่ละชนิดมีข้อห้ามและผลข้างเคียงที่ควรได้รับคําแนะนํา นอกจากนี้การเลี่ยงสารเคมี ปรับแชมพู ปรับการดูแลเส้นผม การใช้สารบํารุงผมและการใช้สารกระตุ้นรากผมให้แข็งแรงเป็นตัวเสริมที่สําคัญในการรักษา
Autologous Conditioned Plasma (ACP) หรือ Platelet rich plasma เป็นแหล่งสำคัญของสารดังกล่าว โดยใช้เลือดของผู้ป่วยนำมาผ่านกระบวนการ biomedical process เพื่อแยกส่วนที่อุดมด้วย Growth Factor หลายชนิดที่สามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผมเพื่อให้เกิดการงอกใหม่ของรากผมโดยธรรมชาติ และยังช่วยให้ผมที่มีอยู่เดิมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้นและรากผมแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ACP ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ เช่น กระตุ้นการหายของแผล การสร้างหลอดเลือดใหม่ การสร้างกระดูก และการสังเคราะห์คอลลาเจน เป็นต้น จึงมีการนำ ACP มาใช้ในการชะลอวัย โรคเส้นเอ็นอักเสบ ข้อเสื่อม รักษาโรคแผลเรื้อรัง
2. ผู้มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือดและความผิดปกติของเกร็ดเลือด
3. ผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
4. มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือ ติดเชื้อรุนแรง
5. ผู้ที่มีโรคทางภูมิคุ้มกันต่อตนเอง (autoimmune)
6. ผู้ป่วยที่ทานยาละลายลิ่มเลือด
อ้างอิงจากบทความ
https://www.phyathai.com/article_detail/1830/th/ผมบาง_ผมร่วง_หมดห่วง_รักษาหายได้
ภาพประกอบจาก
https://bioinformant.com/wp-content/uploads/2018/08/middleaged-man-concerned-hair-loss-baldness-stem-cell-treatment-for-hair-loss-ss-FEATURE-.jpg
ดร.พญ. พลินี รัตนศิริวิไล
ผู้เชี่ยวชาญโรคเส้นผมและหนังศีรษะ
เวชศาสตร์ชะลอวัย
ประจำศูนย์ผิวหนังและความงาม
โรงพยาบาลพญาไท 1
เส้นผม ถึงแม้ จะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ แต่ถ้าหากปล่อยให้เกิดมีปัญหาขึ้นมาแล้วล่ะก็ คงเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อยสำหรับทุกคน เพราะ ผม เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ หน้าตา ให้เราดูสวยหล่อ ก่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของเส้นผมที่พบได้บ่อยก็คือ ปัญหา ผมบาง และ ผมร่วง
ผมร่วง บอกอะไรเราได้บ้าง?
ดร.พญ.พลินี รัตนศิริวิไล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคผิวหนัง โรงพยาบาล พญาไท 1 ได้กล่าวถึงภาวะผมร่วงและหนังศีรษะอ่อนแอ ว่า นอกจากจะมีผลกระทบต่อบุคลิก ทำให้ขาดความมั่นใจ และดูอายุเกินวัยแล้ว ยังอาจเป็นสัญญาณของความเจ็บป่วย หรือภาวะไม่สมดุลของสารอาหารและฮอร์โมนในร่างกายอีกด้วยทั้งนี้ ภาวะผมร่วงสามารถพบได้ในวัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหาภาวะผมบาง หรือ ผมร่วง จน ถึงขั้นศีรษะล้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ชายที่มีปัญหานี้ถึงกว่า 17 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้เรามีนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และรักษาปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องกังวลอีกต่อไป
สาเหตุใด ทำไมจึงผมร่วง ?
สาเหตุของผมร่วง เกิดได้จากหลายปัจจัย แต่สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดคือ "ภาวะผมร่วงตามพันธุกรรม" ซึ่งพบได้ทั้งในเพศชายและหญิง นอกจากนี้ก็ยังมีภาวะอื่นๆ ที่ทําให้ผมร่วงได้อีก เช่น- ฮอร์โมนไม่สมดุล
- ต่อมไธรอยด์ทํางานมากหรือน้อยกว่าปกติ
- ขาดสารอาหารบางอย่าง
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
- เกิดจากการทานยาบางชนิด
- การรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด
- โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ หรือเป็นผิวหนังอักเสบรุนแรง
- โรคผมร่วงเฉพาะจุด
- แพ้สารเคมีบางชนิด หรือ แพ้แชมพูสระผม
ผมร่วงตามพันธุกรรม คือ อะไร?
ดร.พญ.พลินี รัตนศิริวิไล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคผิวหนัง โรงพยาบาล พญาไท 1 ได้อธิบายถึง ภาวะผมร่วงตามพันธุกรรม ไว้ว่า เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งระหว่างผู้ชายและผู้หญิงก็มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือ- ผู้หญิง มักมาพบแพทย์เพราะผมร่วงหรือผมบางกลางศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณที่แสกผมกว้างขึ้น เห็นหนังศีรษะชัดขึ้น
- ผู้ชาย มักเป็นลักษณะทางพันธุกรรมอยู่แล้วที่ผู้ชายจะมีผมบางลงตามอายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายในวัย 40-50 ปี มีจํานวนเส้นผมต่อพื้นที่น้อยลง ผมมีขนาดเส้นเล็กลง หน้าผากกว้างขึ้น มีผมบางบริเวณขมับหรือบริเวณขวัญจนไปถึงศีรษะล้าน
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค ผมบาง ผมร่วง?
สำหรับอาการผมร่วง ผมบาง ถือเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน แต่โดยมากมักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า เกิดขึ้นจากสาเหตุใด บางครั้งเราอาจโทษแชมพู หรือน้ำยาย้อมสีผม ทำให้ลองและเปลี่ยนใหม่ไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้ที่มากขึ้นทั้งนี้ ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ สามารถทำได้โดยการใช้กล้อง "Dermoscope and VDO microscope" (กล้องไมโครสโคปและ กล้องวิดิโอกำลังขยายสูง) ส่องตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยเราสามารถใช้กล้องกําลังขยายสูงตรวจดูการอักเสบหนังศีรษะและรากผม รวมถึงลักษณะของเส้นผม ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยแยกหลายโรคจากกัน และยังช่วยติดตามผลการรักษา โดยที่คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัวจากการตรวจโดยการตัดชิ้นเนื้อด้วย
ปัญหาผมร่วง รักษาได้อย่างไร?
สำหรับการรักษาปัญหาผมร่วง ดร.พญ.พลินี รัตนศิริวิไล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคผิวหนัง โรงพยาบาล พญาไท 1 ได้ให้คำแนะนำว่า หากมีอาการผมร่วงเกิดขึ้นกับตัวเอง ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อให้การรักษาตรงจุด ไม่ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นสําหรับภาวะผมร่วงตามพันธุกรรมนั้นสามารถรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ ยาทาซึ่งมีคุณสมบัติในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงรากผม กระตุ้นการงอกของเส้นผม และ ลดอิทธิพลฮอร์โมนเพศชายซึ่งทําให้ผมร่วง ยารับประทานมีหลายชนิด ในเพศชายรักษาด้วยยาในกลุ่มยารักษาต่อมลูกหมากโต เพื่อกระตุ้นการงอกเส้นผมใหม่ ปรับสมดุลฮอร์โมนซึ่งมีอิทธิพลต่อรากผม รวมทั้งยาคุมกําเนิดบางชนิด แต่จะมีข้อห้ามในหญิงตั้งครรภ์หรือมีโอกาสตั้งครรภ์และให้นมบุตร โดยแพทย์จะวางแผนการรักษาตามเพศ อายุ และความรุนแรงของโรค การกินยาควรอยู่ภายใต้การดูแลใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากยาแต่ละชนิดมีข้อห้ามและผลข้างเคียงที่ควรได้รับคําแนะนํา นอกจากนี้การเลี่ยงสารเคมี ปรับแชมพู ปรับการดูแลเส้นผม การใช้สารบํารุงผมและการใช้สารกระตุ้นรากผมให้แข็งแรงเป็นตัวเสริมที่สําคัญในการรักษา
ทางเลือกใหม่เพื่อการฟื้นฟูหนังศีรษะ และเส้นผม Autologous Conditioned Plasma (ACP)
รากผมอันเป็นแหล่งกำเนิดของเส้นผมต้องการสารอาหารและตัวกระตุ้นการสร้างเส้นผม แต่หากสารอาหารต่างๆไม่เพียงพอ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้ โดยแหล่งสารอาหารดังกล่าวอยู่ในกระแสเลือดของเรา เพียงแต่ความเข้มข้นไม่เพียงพอในการกระตุ้นการสร้างเส้นผมAutologous Conditioned Plasma (ACP) หรือ Platelet rich plasma เป็นแหล่งสำคัญของสารดังกล่าว โดยใช้เลือดของผู้ป่วยนำมาผ่านกระบวนการ biomedical process เพื่อแยกส่วนที่อุดมด้วย Growth Factor หลายชนิดที่สามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผมเพื่อให้เกิดการงอกใหม่ของรากผมโดยธรรมชาติ และยังช่วยให้ผมที่มีอยู่เดิมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้นและรากผมแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ACP ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ เช่น กระตุ้นการหายของแผล การสร้างหลอดเลือดใหม่ การสร้างกระดูก และการสังเคราะห์คอลลาเจน เป็นต้น จึงมีการนำ ACP มาใช้ในการชะลอวัย โรคเส้นเอ็นอักเสบ ข้อเสื่อม รักษาโรคแผลเรื้อรัง
สารสำคัญใน ACP
- Platelet-derived growth factor ช่วยการสร้างรากผมปลูกผม และ เพิ่มความแข็งแรงของเส้นผม
- Epidermal growth factor ช่วยเพิ่มการสร้างชั้นผิวหนัง และเส้นผม
- Insulin-like growth factor เสริมการทำงานของ growth factor อื่นๆ ซ่อมแซมผิวหนังและเส้นผมที่เกิดปัญหา ช่วยชะลอความชรา
- Basis fibroblast growth factor ช่วยเร่งการหายของแผลที่ผิวหนังและรากผมที่อ่อนแอ
- Copper tripeptide-1 เร่งการซ่อมแซมรากผมและรักษาผิวจากการถูกทำลาย
ข้อดีการรักษา
- กระตุ้นการงอกเส้นผมโดยวิธีธรรมชาติ
- ประสิทธิภาพสูง เห็นผลในการรักษาเร็ว
- มีปลอดภัยสูง
- ไม่มีความเสี่ยงต่อการแพ้
- ไม่ต้องผ่าตัด
- ไม่มีแผลเป็น
- สะดวก รวดเร็ว
ข้อห้ามในการรักษาด้วยPRP
1. ห้ามทำในผู้ป่วยโรคมะเร็งระบบโลหิตและน้ำเหลือง2. ผู้มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือดและความผิดปกติของเกร็ดเลือด
3. ผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
4. มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือ ติดเชื้อรุนแรง
5. ผู้ที่มีโรคทางภูมิคุ้มกันต่อตนเอง (autoimmune)
6. ผู้ป่วยที่ทานยาละลายลิ่มเลือด
อ้างอิงจากบทความ
https://www.phyathai.com/article_detail/1830/th/ผมบาง_ผมร่วง_หมดห่วง_รักษาหายได้
ภาพประกอบจาก
https://bioinformant.com/wp-content/uploads/2018/08/middleaged-man-concerned-hair-loss-baldness-stem-cell-treatment-for-hair-loss-ss-FEATURE-.jpg