การใช้ยากลุ่มต่างๆ กับความเสี่ยงอันตรายต่อไต

หลีกเลี่ยงยาที่อันตรายต่อไตหรือใช้ในขนาดต่ำที่สุด


บทความโดย
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ไตทำหน้าที่ผลิตปัสสาวะ เป็นอวัยวะสำคัญในการรักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกายโดยการขับถ่ายมากับปัสสาวะ

ผลเสียต่อไตจากยา...ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

ผลเสียต่อไตที่เกิดจากยา (หมายรวมถึงเมแทบอไลต์ของยาด้วย ซึ่งเมแทบอไลต์เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย) อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไป อาจเกิดกับไตตั้งแต่โกลเมอรูลัส (glomerulus) ซึ่งทำหน้าที่กรองเลือดขั้นแรกเพื่อสร้างเป็นปัสสาวะ เรื่อยมาตลอดท่อไต รวมถึงเนื้อเยื่อใกล้เคียง (กลไกการเกิดอันตรายต่อไตมีกล่าวต่อไป) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง สมดุลน้ำและเกลือแร่เสียไป ร่างกายสะสมของเสีย ส่งผลรบกวนระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่าง เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ขาและเท้าบวม สับสน

ยาใดบ้างที่เป็นอันตรายต่อไต?

ยาทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตได้ อาจมากหรือน้อยต่างกัน ตัวอย่างยาที่อาจทำอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านจุลชีพในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ แอมโฟเทอริซินบี ยาต้านรีโทรไวรัส ยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ เมโทเทรกเซต ซีสพลาทิน ไซโคลสปอรีน ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน สารสีทึบรังสี (contrast dye) ที่ใช้ในการวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกาย (ดูเพิ่มเติมในตาราง)

ตัวอย่างกลุ่มยาที่เป็นอันตรายต่อไปได้

1. ยาต้านจุลชีพ
  • ยากลุ่มอมิโนไกลโคไซด์(aminoglycosides)
  • แอมโฟเทอริซินบี(amphotericin B)
  • ยาต้านรีโทรไวรัส(antiretrovirals)
  • แวนโคมัยซิน(vancomycin)
  • ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์(sulfonamides)
  • ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน(fluoroquinolones)
2. ยาเคมีบำบัดและยาปรับภูมิคุ้มกัน
  • เมโทเทรกเซต(methotrexate)
  • ซิสพลาทิน(cisplatin)
  • ไซโคสปอรีน(cyclosporine)
  • ไอฟอสฟาไมด์(ifosfamide)
  • มิโตมัยซิน(mitomycin)
  • อิเวอโรลิมุส(everolimus)
3. ยาลดความดันโลหิต
  • ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitors, angiotensin-receptor blockers และ renin inhibitors
  • ไฮดราลาซีน(hydralazine)
4. ยาอื่น
  • ยากลุ่มบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs)
  • ยาลดไขมันในเส้นเลือดกลุ่มสแตติน(statins)
  • ลิเทียม(lithium)
  • โพรพิลไทโอยูราซิล(propylthiouracil)
  • สารสีทึบสังสี(contrast dye)
          *NSAIDs= non-steroidal anti-inflammatory drugs

ยาทำอันตรายต่อไตได้อย่างไร?

กลไกการเกิดอันตรายต่อไตจากยามีหลายอย่างดังนี้
  1. การเกิดผลึกหรือตะกอนยาที่ไต ซึ่งเป็นอันตรายต่อไตโดยตรง ตัวอย่างยา เช่น เมโทเทรกเสต ยาต้านรีโทรไวรัส ยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์
  2. การมีเลือดมาเลี้ยงไตไม่เพียงพอ อาจเกิดจากยาไปทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงไตเกิดการหดตัว เช่น ยาในกลุ่มบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรืออาจเกิดจากยาไปขยายหลอดเลือดที่ออกจากไต เช่น ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม สิ่งเหล่านี้ทำให้อัตราการกรองสารรวมถึงของเสียผ่านไตเกิดได้ไม่ดี
  3. เซลล์ไตอักเสบเหตุจากการอุ้มน้ำมาก (osmotic nephrosis) เมื่อได้รับยาหรือสารเหล่านี้ปริมาณมาก เช่น แมนนีทอล เด็กซ์แทรน สารสีทึบรังสี
  4. การเกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน กรณีนี้ทำให้ไตเกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลัน เกิดได้ทั้งโกลเมอรูลัสและเนื้อเยื่อไต ตัวอย่างยาเช่น ไฮดราลาซีน ลิเทียม โพรพิลไทโอยูราซิล

ปัจจัยส่งเสริมความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตจากยา

ปัจจัยส่งเสริมความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตจากยามีหลายอย่างดังนี้
  1. ชนิดยา ยาบางชนิดโดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (เจนตามิซิน สเตรปโตมัยซิน เป็นต้น) แอมโฟเทอริซินบี ซิสพลาทิน ไซโคลสปอรีน สารสีทึบรังสี หากได้รับยาหรือสารเหล่าร่วมกันจะส่งเสริมให้เกิดอันตรายต่อไตเพิ่มขึ้น
  2. ระยะเวลาที่ใช้ยา หากใช้ยาเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไต
  3. การทำงานของไตลดลง โดยมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสน้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตรพื้นที่ผิวกาย
  4. สภาพร่างกายและความเจ็บป่วย เช่น ภาวะเสียเลือดมากหรือเสียน้ำมาก เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
  5. ผู้สูงอายุ โดยทั่วไปผู้ที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าคนหนุ่มสาว เนื่องจากสภาพร่างกายอ่อนแอลง การทำงานของไตลดลง และมีโรคเรื้อรังทำให้มีโอกาสใช้ยาหลายอย่าง

การลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตจากยา

อันตรายต่อไตเหตุจากการใช้ยานั้น มีแนวทางในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ดังนี้
1. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อไต ไม่ว่าจะใช้ชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกัน (การใช้ยาที่เป็นอันตรายต่อไตร่วมกันจะยิ่งส่งเสริมให้เกิดอันตรายต่อไตมากขึ้น)
  • ในกรณีที่จำเป็นต้องสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อไต ควรให้ใช้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลในการรักษา และติดตามประเมินการทำงานของไตเป็นระยะ ๆ
  • ให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยทั้งการใช้ยาและการปฏิบัติตัว
2. สำหรับผู้ป่วย
  • ไม่ซื้อยามาใช้เอง
  • การดื่มน้ำมากพอ จะช่วยลดอันตรายต่อไตที่เกิดจากยาได้ โดยเฉพาะยาที่ตกผลึกหรือเกิดตะกอนที่ไต

บทความต้นฉบับ
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/467/ยากับไต/
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/lithium-induced-kidney-problems
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การใช้ยากลุ่มต่างๆ กับความเสี่ยงอันตรายต่อไต
การใช้ยากลุ่มต่างๆ กับความเสี่ยงอันตรายต่อไต
หลีกเลี่ยงยาที่อันตรายต่อไตหรือใช้ในขนาดต่ำที่สุด
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg2nHnY7ubXhnmI350eAJ7vqhzwJp4Ph76spvFlysk0y9RFeI9oW0OAAGUxw7QKrecKv-31C9_5HLSKcZ3R6rj1BqoHw5-U3Dmv4TNnm7eoZH8cFHuPfX0-EaVqJh8-8fCKdisrPhcSSjM/s320/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259B%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2595.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg2nHnY7ubXhnmI350eAJ7vqhzwJp4Ph76spvFlysk0y9RFeI9oW0OAAGUxw7QKrecKv-31C9_5HLSKcZ3R6rj1BqoHw5-U3Dmv4TNnm7eoZH8cFHuPfX0-EaVqJh8-8fCKdisrPhcSSjM/s72-c/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259B%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2595.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_49.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_49.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy