สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า : เภสัชกรแพทย์แผนไทยแนะนำ

สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้ามีอยู่จริงหรือ


ข้อมูลโดย
ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ 
เภสัชกรชำนาญการศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
วันนี้ (28 ก.ย. 62) ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ปัจจุบันโรคซึมเศร้ากำลังเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ 
          ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะสามารถบรรเทาอาการดังกล่าวได้ด้วยสมุนไพร 4 ชนิด ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายในบ้านเรา

1. ขมิ้นชัน 

          มีการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยซึมเศร้าเปรียบเทียบการใช้ ขมิ้นชัน 500 มก. หลังอาหารเช้าและเย็น และยาต้านซึมเศร้า (Fluoxetine 20 mg) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เปอร์เซ็นต์การตอบสนองผลการรักษา Fluoxetine 64.7% ขมิ้นชัน 62.5% และเมื่อใช้ร่วมกันทั้ง Fluoxetine และขมิ้นชัน ให้ผล 77.8% ขนาดการรับประทาน

2.บัวบก 

          ถูกใช้เป็นยามาแต่โบราณ ทั้งในศาสตร์อายุรเวท และการแพทย์แผนจีน บัวบกสามารถบรรเทาอาการโรควิตกกังวลได้ จากการศึกษาการใช้บัวบก 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวล อายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 33 คน พบว่าเริ่มเห็นผลการรักษาที่ 1 เดือน และเห็นผลชัดเจนขึ้นที่ 2 เดือน
          จากผลการศึกษานี้ จะเห็นได้ว่าบัวบกช่วยลดความผิดปกติที่เกิดจากความกังวล ลดความเครียดและลดอาการซึมเศร้าได้ ทำให้ความเต็มใจที่จะปรับตัวและเรียนรู้ดีขึ้น บัวบกจึงมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วยโรควิตกกังวล สำหรับผู้ที่สะดวกจะใช้ใบบัวสด ก็สามารถ คั้นน้ำจากใบบัวบกสดที่ล้างสะอาด รับประทานแบบเข้มข้น วันละ 1-2 ช้อนชา การใช้ใบบัวบกแห้ง เป็นยารับประทาน ใบแห้ง ใช้ครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 150 ซีซี รอจนอุ่นหรือประมาณ 10-15 นาที แล้วจิบดื่ม สามารถรับประทานได้วันละ 2-3 เวลา หากเป็นชนิด แคปซูล รับประทานวันละ 2-3 แคปซูล ทั้งนี้ หากหวังผลบำรุงสมองคลายเครียด ควรรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน
          “ข้อควรระวัง คือ บัวบกเป็นยาเย็น ไม่ควรกินทีละเยอะๆ ทุกวัน อย่างกรณีที่กินเป็นกําๆ จะต้องกินๆ หยุด ๆ ไม่กินติดต่อกันทุกวัน ถ้ากินสดทุกวัน ควรกินแต่น้อย ประมาณ 3-6 ใบก็พอ คนที่อ่อนเพลียหรือร่างกายอ่อนแอมากไม่ควรกิน ถ้ากินแล้วมีอาการเวียนหัว ใจสั่น ให้หยุดกินทันที คนที่ม้ามเย็นพร่อง มีอาการท้องอืดแน่นเป็นประจําไม่ควรกิน และหลีกเลี่ยงการรับประทานในหญิงที่ให้นมบุตร หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะมีการศึกษาพบว่าการรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันนานๆ พบว่าอาจยับยั้งการตั้งครรภ์ได้” ภญ.อาสาฬา กล่าว

3.น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว  

          น้ำมันรำข้าว มีสารสำคัญที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ คือ ฤทธิ์ผ่อนคลาย คลายกังวล ช่วยให้นอนหลับ. ด้วยสาร GABA (Gamma-aminobutyric acid) เป็นสารสื่อประสาท พบในระบบประสาทส่วนกลาง คือสมองและไขสันหลัง มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย คลายกังวล และทำให้หลับสบาย ยานอนหลับส่วนใหญ่ที่ใช้ในแผนปัจจุบันก็ออกฤทธิ์โดยจับกับตัวรับ GABA     และสาร  N-Acetylserotonin เป็นสารที่พบตามธรรมชาติของน้ำมันรำข้าว เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารเมลาโทนิน ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมวงจรการนอนของคนเรามีส่วนช่วยในการนอนหลับ สารตัวนี้ยังมีฤทธิ์คลายความเครียด คลายกังวล ต้านซึมเศร้า ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องสมอง และปกป้องเซลล์รับแสงจากจอประสาท

4.ฟักทอง 

          มีการศึกษาพบว่าฟักทองช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ โดยทำการสังเกตพฤติกรรมถูกบังคับให้ว่ายน้ำในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้าซึ่งจะมีพฤติกรรมลอยตัวนิ่งเสมือนว่าอยากตาย แต่การให้ฟักทองอบและสารเบต้าแคโรทีนมีผลทำให้ระยะเวลาลอยตัวนิ่งลดลง  และยังมีผลเพิ่มระดับเซโรโทนิน (serotonin)และนอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine: NE) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งจะลดลงเนื่องจากภาวะซึมเศร้าให้กลับสู่ระดับปกติ นอกจากนี้ทั้งฟักทองและเบต้าแคโรทีน ยังช่วยลดสารก่อการอักเสบในสมองได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
          “การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของฟักทองและเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารสำคัญในฟักทองในการช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า ในยุคที่คนไทยเป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น ฟักทองจึงเป็น “อาหารเป็นยา” ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้” ภญ. อาสาฬา กล่าว

ขอบคุณที่มาข้อมูล จาก สปริงนิวส์
https://www.springnews.co.th/lifestyle/550786
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า : เภสัชกรแพทย์แผนไทยแนะนำ
สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า : เภสัชกรแพทย์แผนไทยแนะนำ
สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้ามีอยู่จริงหรือ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiGCtLn-rUkJATNy0uYeIPB8fXTQWmHT-2Bqd0DDfpl7NM8KkvR8FDZb9QXeSauzVS8XgIGcAknQ-m7hkqo41WU2h0BFxiF1evxPsK71-Y0utpLFvIFcGp7qnXej-tyS82j1CtSc-x-o5c/s320/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3+%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B0+4+%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiGCtLn-rUkJATNy0uYeIPB8fXTQWmHT-2Bqd0DDfpl7NM8KkvR8FDZb9QXeSauzVS8XgIGcAknQ-m7hkqo41WU2h0BFxiF1evxPsK71-Y0utpLFvIFcGp7qnXej-tyS82j1CtSc-x-o5c/s72-c/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3+%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B0+4+%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_59.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_59.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy