มะเร็งตับสามารถป้องกันได้ หากรู้เรื่องสักนิด
บทความโดย
นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ในการจัดการกับสารอาหารที่ดูดซึมเข้าจากลำไส้ สร้างสารต่างๆ เช่น สารประกอบที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือด และทำลายสารพิษที่รับประทานเข้าไป
- มะเร็งชนิดเซลล์ตับ เป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วทุกภาค
- มะเร็งชนิดเซลล์ท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักที่กระจายไปยังตับ
การตรวจวัดระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด ถือเป็นการตรวจทางชีวเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ alpha-fetoprotein (AFP) จัดเป็นสารที่บ่งชี้มะเร็งตับ โรค มะเร็งที่มีกำเนิดจากเซลตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ ตรวจพบระดับของ AFP ในเลือดสูงขึ้นมาก โดยพบได้ประมาณร้อยละ 70-80 ของคนไข้มะเร็งตับทั้งหมด นอกจากจะมีประโยชน์ช่วยในการวินิจฉัยโรคแล้ว แพทย์ยังใช้วิธีตรวจหาระดับของ AFP ในเลือดเพื่อติดตามผลการรักษาของโรคมะเร็งตับอีกด้วย
สารแอลฟาฟีโตโปรตีน เป็นไกลโคโปรตีน หมายถึงเป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างของน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย AFP สร้างโดยเซลของตับในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา ซึ่ง เป็นเซลตับที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ อยู่ระหว่างการแบ่งตัวจำนวนมากและอย่างรวดเร็ว หลังจากที่เซลตับดังกล่าวสร้างไกลโคโปรตีนชนิดนี้แล้ว จะหลั่งออกมาในกระแสเลือด ทำให้สามารถตรวจพบ AFP ได้ในกระแสเลือด และตรวจพบระดับสูงในเลือดของทารกในครรภ์มารดา ซึ่งระดับของ AFP ในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขวบปีแรก จนกระทั่งแทบจะตรวจไม่พบเลยเมื่อเป็นผู้ใหญ่
โรคมะเร็งที่มีกำเนิดมาจากเซลตับ โดยเฉพาะมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ มักจะพบว่ามีระดับของ AFP สูงขึ้นมากในเลือด เป็น ที่ทราบกันดีว่ามะเร็งตับนั้นพบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะในผู้ที่ดื่มสุราประจำเป็นเวลานานๆ ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี และผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็ง อาการที่ควรสงสัย คือปวดหรือมีก้อนที่ใต้ชายโครงขวา ตาเหลืองตัวเหลือง ท้องมาน มีน้ำในท้อง อาการอื่นๆที่พบได้ เช่น อาเจียนเป็นเลือดดำหรือแดง ขาบวม โดยทั่วไปแพทย์สามารถตรวจหามะเร็งตับได้โดยอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน และตรวจระดับของ AFP ในเลือด
ในปัจจุบันจึงแนะนำให้ตรวจสารแอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด และตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีอาการชวนสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็งตับ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาแล้ว พบว่าการติดตามตรวจหาระดับของ AFP ในเลือดเป็นระยะๆ จะช่วยในการติดตามการดำเนินของโรคและสามารถใช้ติดตามการรักษาได้เป็นอย่างดี ถ้าระดับของ AFP ลดลงจนถึงระดับปกติ มักจะแปลว่าการรักษาได้ผล และเกิดการฝ่อลงของก้อนมะเร็ง ในทางตรงกันข้าม ระดับ AFP ที่สูงขึ้นในผู้ป่วยที่เคยมีระดับลดลงเป็นปกติแล้ว มักจะบ่งถึงว่ามีการเติบโตของมะเร็งขึ้นใหม่อีก อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎีแล้ว ระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีน AFP ที่สูงผิดปกติ อาจพบได้ในโรคมะเร็งอื่นๆ ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งของทางเดินน้ำดี มะเร็งตับอ่อน และอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือภายหลังตับอักเสบอย่างรุนแรง นอกจากนี้การตรวจวัดระดับ AFP ในเลือดระหว่างที่ตั้งครรภ์ ยังช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดาได้อีกด้วย
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.bangkokhealth.com/health/article/มะเร็งตับ-liver-cancer-764
https://www.asiaone.com/health/liver-cancer-top-cause-cancer-death-among-men-their-40s-and-50s
นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
มะเร็งตับ (liver cancer)
เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน คนที่มีไวรัสตับอักเสบมาก่อน เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ไวรัสตับอักเสบชนิดซี เป็นมาระยะหนึ่งจะเป็นตับแข็ง และพัฒนาเป็นมะเร็งได้ คนที่ดื่มสุรา การกินอาหารที่มีอัลฟาท๊อกซินบ่อย ๆ วิธีการที่จะติด อาจจะเกิดจากการคลอด การได้รับเลือด การร่วมเพศ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ในการจัดการกับสารอาหารที่ดูดซึมเข้าจากลำไส้ สร้างสารต่างๆ เช่น สารประกอบที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือด และทำลายสารพิษที่รับประทานเข้าไป
ประเภทของมะเร็งตับ
1. ชนิดที่เกิดกับตับโดยตรง (มะเร็งปฐมภูมิ) ในประเทศไทยพบมากมี 2 ชนิดคือ- มะเร็งชนิดเซลล์ตับ เป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วทุกภาค
- มะเร็งชนิดเซลล์ท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักที่กระจายไปยังตับ
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี จะพบในอัตรา 0.4–0.6 % ของผู้ป่วยดังกล่าว
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส จากการใช้ยา จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากธาตุเหล็กและแคลเซี่ยม
- ผู้ป่วยที่ได้รับสารอะฟลาทอกซิน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี
- อัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งตับ เฉลี่ยระหว่างผู้ชายและผู้หญิงคือ 4.6 : 1 คือพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี พยาธิใบไม้ในตับ สารเคมีต่างๆ ยารักษาโรคบางชนิด ยาฆ่าแมลง สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา สารเคมีที่เกิด จากอาหารหมักดอง สุรา ฯลฯ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทางระบบอิมมูน คุณสมบัติ ทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุช่วยในการเกิดโรค
อาการของมะเร็งตับ
- เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องผูก
- อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และมีไข้ต่ำ ๆ
- ปวด หรือเสียดชายโครงด้านขวา อาจคลำก้อนได้
- ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตและบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
- มะเร็งที่มีขนาดเล็ก หรือมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ผู้ป่วยในระยะนี้มักจะไม่มีอาการทางกายที่ชัดเจน มากนัก อาจเรียกว่าไม่มีอาการเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นแล้ว อาจส่งผลแสดงอาการต่างๆ ได้เช่น ปวด แน่นท้องบริเวณด้านขวาบน หรือหากเป็นก้อนตรงตับกลีบซ้าย อาจ มีอาการบริเวณลิ้นปี่ อาจมีอาการเหม็นเบื่ออาหาร ทานไม่ค่อยได้ ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักลดลงโดยไม่รู้ตัว บางคนอาจมีอาการเกี่ยวการย่อยอาหาร ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพราะเคมีน้ำดีในตับบกพร่อง คนที่ก้อนโตมากขึ้น อาจคลำก้อนได้บริเวณใต้ชายโครงขวา รู้สึกท้องโต แน่นตึง บางคนอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีน้ำไปที่ช่องท้องที่เรียกว่า ท้องมาน เกิดขึ้นได้หากก้อนลุกลามมาก แต่อาการเหล่านี้บางครั้ง อาจเกิดจากภาวะตับแข็งเฉยๆ โดยที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งตับ
การตรวจและรักษามะเร็งตับในระยะแรกเริ่มมักได้ผลดี แต่มะเร็งตับระยะแรกเริ่มมักไม่มีอาการ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์- การตรวจโดยเจาะเลือดหาระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีน ซึ่งเป็นสารที่มะเร็งตับ ชนิดเซลล์ตับผลิตออกมา
- การตรวจดูก้อนในตับโดยใช้อุลตราซาวด์ คอมพิวเตอร์เอ็กซเรย์ คลื่นแม่เหล็ก MRI หรือฉีดสีเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับ
การตรวจวัดระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด ถือเป็นการตรวจทางชีวเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ alpha-fetoprotein (AFP) จัดเป็นสารที่บ่งชี้มะเร็งตับ โรค มะเร็งที่มีกำเนิดจากเซลตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ ตรวจพบระดับของ AFP ในเลือดสูงขึ้นมาก โดยพบได้ประมาณร้อยละ 70-80 ของคนไข้มะเร็งตับทั้งหมด นอกจากจะมีประโยชน์ช่วยในการวินิจฉัยโรคแล้ว แพทย์ยังใช้วิธีตรวจหาระดับของ AFP ในเลือดเพื่อติดตามผลการรักษาของโรคมะเร็งตับอีกด้วย
สารแอลฟาฟีโตโปรตีน เป็นไกลโคโปรตีน หมายถึงเป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างของน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย AFP สร้างโดยเซลของตับในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา ซึ่ง เป็นเซลตับที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ อยู่ระหว่างการแบ่งตัวจำนวนมากและอย่างรวดเร็ว หลังจากที่เซลตับดังกล่าวสร้างไกลโคโปรตีนชนิดนี้แล้ว จะหลั่งออกมาในกระแสเลือด ทำให้สามารถตรวจพบ AFP ได้ในกระแสเลือด และตรวจพบระดับสูงในเลือดของทารกในครรภ์มารดา ซึ่งระดับของ AFP ในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขวบปีแรก จนกระทั่งแทบจะตรวจไม่พบเลยเมื่อเป็นผู้ใหญ่
โรคมะเร็งที่มีกำเนิดมาจากเซลตับ โดยเฉพาะมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ มักจะพบว่ามีระดับของ AFP สูงขึ้นมากในเลือด เป็น ที่ทราบกันดีว่ามะเร็งตับนั้นพบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะในผู้ที่ดื่มสุราประจำเป็นเวลานานๆ ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี และผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็ง อาการที่ควรสงสัย คือปวดหรือมีก้อนที่ใต้ชายโครงขวา ตาเหลืองตัวเหลือง ท้องมาน มีน้ำในท้อง อาการอื่นๆที่พบได้ เช่น อาเจียนเป็นเลือดดำหรือแดง ขาบวม โดยทั่วไปแพทย์สามารถตรวจหามะเร็งตับได้โดยอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน และตรวจระดับของ AFP ในเลือด
ในปัจจุบันจึงแนะนำให้ตรวจสารแอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด และตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีอาการชวนสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็งตับ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาแล้ว พบว่าการติดตามตรวจหาระดับของ AFP ในเลือดเป็นระยะๆ จะช่วยในการติดตามการดำเนินของโรคและสามารถใช้ติดตามการรักษาได้เป็นอย่างดี ถ้าระดับของ AFP ลดลงจนถึงระดับปกติ มักจะแปลว่าการรักษาได้ผล และเกิดการฝ่อลงของก้อนมะเร็ง ในทางตรงกันข้าม ระดับ AFP ที่สูงขึ้นในผู้ป่วยที่เคยมีระดับลดลงเป็นปกติแล้ว มักจะบ่งถึงว่ามีการเติบโตของมะเร็งขึ้นใหม่อีก อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎีแล้ว ระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีน AFP ที่สูงผิดปกติ อาจพบได้ในโรคมะเร็งอื่นๆ ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งของทางเดินน้ำดี มะเร็งตับอ่อน และอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือภายหลังตับอักเสบอย่างรุนแรง นอกจากนี้การตรวจวัดระดับ AFP ในเลือดระหว่างที่ตั้งครรภ์ ยังช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดาได้อีกด้วย
วิธีการตรวจหามะเร็งตับ
- ตรวจหาสารอัลฟาฟีโตโปรตีน ซึ่ง เป็นสารที่เป็นตัวบ่งชี้ เพื่อการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับ หากตรวจพบสารอัลฟลาฟีโตโปรตีนในเลือดมีระดับสูงมากก็จะช่วยในการวินิจฉัยโรค ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับประมาณ 60% จะตรวจพบสารนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก
- การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพ : มี อยู่หลายวิธี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนด การตรวจว่าจะใช้วิธีใด หรือหลายวิธีรวมกัน เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค คือ การทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อหาความผิดปกติของตับ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แพทย์จะใช้ผลการตรวจด้วยภาพประกอบกับผลการตรวจระดับ อัลฟ่าฟีโตโปรตีน ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
- การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ
- การตรวจคัดกรอง : เป็น การตรวจโดยอาศัยปัจจัยอื่นโดยรอบเข้ามาประกอบการวินิจฉัยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง จากทุกสาเหตุ ผู้ป่วยที่มีที่อาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี ผู้ป่วยที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง
การรักษามะเร็งตับ
- การผ่าตัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่หวังผลในการหายขาดได้ แต่ใช้ได้ ในผู้ป่วยที่ก้อนยังไม่โตมาก และการทำงานของตับยังดีอยู่
- การฉีดยาเคมี และสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยง ก้อนมะเร็งทำให้ก้อนยุบลง
- การฉีดยา เช่น แอลกอฮอล์ เข้าก้อนมะเร็ง โดยผ่านทาง ผิวหนังใช้ในก้อนมะเร็งเล็กๆ ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้
- การใช้ยาเคมี ใช้เพียงเพื่อบรรเทาไม่สามารถหายขาดได้
- การฉายแสง ใช้เพื่อบรรเทาอาการของมะเร็ง
- การใช้วิธีการผสมผสาน
การป้องกันมะเร็งตับ
- ไม่รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา ระมัดระวังอาหารที่ตากแห้ง รวมทั้งอาหารที่เตรียมแล้ว เก็บค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราปะปนอยู่
- ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆ หรืออาหารที่ใส่ยากันบูด
- ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา เพราะอาจจะทำให้เป็น โรคพยาธิใบไม้ตับหรืออาหารที่หมัก เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ฯลฯ เพราะมีสาร ไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้
- ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ
- ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์
- ควรรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- ไม่รับเลือดนอกจากกรณีจำเป็น
- ลด งด หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสงคั่วที่มีสารอะฟลาทอกซิน
- งดการฉีดยาเข้าเส้น งดการเสพยาเสพติดโดยการฉีด
- ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสบี และซี ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัดตาคำแนะนำของแพทย์
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.bangkokhealth.com/health/article/มะเร็งตับ-liver-cancer-764
https://www.asiaone.com/health/liver-cancer-top-cause-cancer-death-among-men-their-40s-and-50s