ยาพาราเซตามอลใช้ไม่ได้ผลกับอาการปวดแบบไหน

อาการปวดมีหลายรูปแบบที่บางกรณียาพาราเซตามอลอาจใช้ไม่ได้ผล

บทความโดย
อาจารย์ ภก. พงศธร มีสวัสดิ์สม
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ยาพาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายหาซื้อได้ง่าย เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกวิธี
         พาราเซตามอลสามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ เคล็ด ขัด ยอก หลายท่านจึงมีติดตู้ยาที่บ้านและมักเป็นยาที่นึกถึงเป็นขนานแรกเมื่อมีอาการปวด เมื่อใช้ในรูปแบบยาเดี่ยว พาราเซตามอลมีฤทธิ์ลดอาการปวดจำกัด รักษาได้เพียงอาการปวดขั้นอ่อนถึงปานกลางเท่านั้น

อาการปวดที่ยาพาราเซตามอลใช้ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล

          แม้พาราเซตามอลจะมีฤทธิ์บรรเทาปวดได้หลายอย่างจนเหมือนจะรักษาปวดได้ครอบจักรวาล แต่อย่างไรก็ตามมีอาการปวดบางชนิดที่พาราเซตามอลไม่มีผลรักษาหรืออาจไม่ใช่ยาที่เหมาะสม เช่น
1. อาการปวดขั้นรุนแรง
          เช่น ปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ หรือจากมะเร็ง วิธีการประเมินความปวดอย่างง่ายวิธีหนึ่ง คือ การให้คะแนนความปวดจาก 0 ถึง 10 ให้เลข 0 แทนความรู้สึกที่ไม่มีอาการปวดแต่อย่างใดและเลข 10 แทนความรู้สึกปวดมากที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ หากประเมินแล้วตัวเลขตกอยู่ในช่วง 7-10 นั่นหมายถึงการมีอาการปวดขั้นรุนแรง ยาพาราเซตามอลแต่เพียงขนานเดียว ไม่สามารถรักษาได้ แม้ว่าจะใช้เกินขนาดไปเท่าใดก็ตาม ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีความปวดระดับดังกล่าว ห้ามใช้พาราเซตามอลเกินขนาดที่แนะนำเพื่อหวังผลลดปวดและควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่เหมาะสมต่อไป
2. อาการปวดที่มีลักษณะอาการแบบแปลก ๆ
          อาการปวดโทยทั่วไปที่พาราเซตามอลมีผลรักษา เช่น ปวดตื้อ หรือ กดเจ็บ จากเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ หรือปวดศีรษะทั่วไป แต่มีอาการบวดบางแบบที่พบได้ในผู้ป่วย เช่น ปวดแสบปวดร้อน เสียวแปลบเป็นพัก ๆ ปวดเหมือนเข็มเล็ก ๆ ทิ่มแทง ปวดเหมือนไฟช๊อต ปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น ๆ อาการปวดเหล่านี้อาจบ่งถึงอาการปวดจากการที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ ปวดร่วมกับอาการชา ยาพาราเซตามอลมีผลน้อยมากในการรักษาอาการดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทมักมีอาการเรื้อรังจึงอาจใช้ยาพาราเซตามอลเองเป็นระยะเวลานานซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตับ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
3. อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
          การใช้ยาพาราเซตามอลรักษาอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ โดยเฉพาะการใช้ยามากกว่า 15 วันต่อเดือนประมาณ 2-3 เดือนติดต่อกันจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache)” ดังนั้น ผู้ที่อาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง เช่น ปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเดือนละ 3-4 ครั้ง หรือปวดศีรษะจากความเครียดที่มีลักษณะอาการปวดเหมือนศีรษะถูกบีบรัดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ควรปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและอาจจำเป็นต้องรับยาอื่นที่ไม่ใช่พาราเซตามอลเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะต่อไป

คำแนะนำการใช้ยาพาราเซตามอลในการระงับปวดให้ปลอดภัย

1. รับประทานยาอย่างเคร่งครัดตามที่ได้รับการแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือห้ามใช้เกินขนาดที่แนะนำ
         ขนาดยาพาราเซตามอลโดยทั่วไปเมื่อใช้ในการรักษาความปวดเบื้องต้นในผู้ใหญ่คือ 500 มิลลิกรัมครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ใน 1 วัน (24 ชั่วโมง) ไม่เกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) จากขนาดยาดังกล่าวสังเกตว่าหากรับประทานครั้งละ 2 เม็ดทุก 4 ชั่วโมง จะเท่ากับ 6,000 มิลลิกรัมซึ่งเกิน 4,000 มิลลิกรัม ห้ระมัดระวังการใช้ยาในขนาดสูงกว่าขนาดยาที่แนะนำ ในผู้ใหญ่นี้ ใช้สำหรับรักษาความปวดเบื้องต้น แนะนำให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 5-7 วัน หากจำเป็นต้องใช้นานกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์

2. หากใช้ยาบางชนิดร่วมด้วยต้องใช้พาราเซตามอลภายใต้การดูแลของแพทย์
          ยาบางชนิดอาจทำให้พิษต่อตับของยาพาราเซตามอลเพิ่มขึ้น เช่น ยารักษาวัณโรค เช่น rifampin หรือยารักษาโรคลมชักเช่น phenytoin, carbamazepine และ phenobarbital หรือการดื่มสุราจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน พาราเซตามอลอาจเพิ่มฤทธิ์ของยาบางชนิด เช่น warfarin ซึ่งเป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด หากได้รับยาดังกล่าวควรใช้ยาพาราเซตามอลหรือยาแก้ปวดทุกชนิดภายใต้การดูแลของแพทย์

3. ตรวจสอบชื่อสามัญทางยาของยาที่ใช้อยู่ให้ถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการได้รับพาราเซตามอลเกินขนาด
          ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาอยู่หลายขนานให้ทำการตจาวลสอบชื่อสามัญทางยาว่ามี พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) อยู่ในยาแต่ละขนานอย่างซ้ำซ้อนหรือไม่ เพราะมียาหลายชื่อการค้าที่มีพาราเซตามอลแฝงอยู่โดยเฉพาะยาสูตรผสมแก้หวัด เช่น Tiffy® Decolgen®, Pharcold® และ Apracur® และยาสูตรผสมแก้ปวด เช่น Norgesic®, Ultracet® และ Tylenol with codeine® การได้รับยาเหล่านี้ซ้ำซ้อนกันหลายชนิดอาจเป็นเหตุให้ได้รับยาพาราเซตามอลเกิดขนาดโดยไม่ตั้งใจได้ หากไม่แน่ใจในขนาดยารวมของพาราเซตามอลที่ใช้ให้ปรึกษาเภสัชกร

Reference
https://thea.care/articles/how-to-manage-your-aches-and-pains-after-giving-birth-a-sensitive-guide-to-help-you-heal
บทความต้นฉบับ
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/136/พาราเซตามอล-paracetamol-รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ/
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ยาพาราเซตามอลใช้ไม่ได้ผลกับอาการปวดแบบไหน
ยาพาราเซตามอลใช้ไม่ได้ผลกับอาการปวดแบบไหน
อาการปวดมีหลายรูปแบบที่บางกรณียาพาราเซตามอลอาจใช้ไม่ได้ผล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiL7qs-TVMCFevbgtjlRgIL7savHO_-os18s6kd1uzFgafHNp04uSDFK0zLekIs7QCx0-Jufty7r2JScd5li93lvIaHUFh2RTQ3rxWrgXHDm30BcekDmR-ivTusyce4Hv2wpWxZxlLaI_w/s320/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiL7qs-TVMCFevbgtjlRgIL7savHO_-os18s6kd1uzFgafHNp04uSDFK0zLekIs7QCx0-Jufty7r2JScd5li93lvIaHUFh2RTQ3rxWrgXHDm30BcekDmR-ivTusyce4Hv2wpWxZxlLaI_w/s72-c/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_85.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_85.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy