ไขปัญหาความเข้าใจผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล

ไขปัญหาความเข้าใจผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล


หัวข้อบรรยาย : ไขปัญหาความเข้าใจผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล
บรรยายโดย : อ.นพ.กรภัทร มยุระสาคร 
                       (คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)

ไขปัญหาความเข้าใจผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล

     สวัสดีอีกครั้ง นะครับ กินอยู่ดีโดยหมอนัด นะครับ วันนี้เรากลับมาอีกครั้งหนึ่ง ก็วันนี้ผมมีประเด็นในเรื่องของสิ่งที่ หลายๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของ "Cholesterol-คอเลสเตอรอล" วันนี้เราจะจั่วหัวกันในเรื่องของ 5 สิ่งที่คนเข้าใจเรื่องคอเลสเตอรอลผิด นะครับ อันนี้ได้มาจากเว็บไซต์และได้มาจากประสบการณ์ของตัวเองด้วย นะครับ
ข้อแรก คนหลายคนเข้าใจว่า คอเลสเตอรอล ของคนทุกคนต้องต่ำกว่า 200
     แพทย์ใหม่ๆ ที่จบใหม่ๆ หรือว่าคนที่ไม่ได้อยู่ทางด้านสาขานี้ก็จะ มีความกังวลในเกี่ยวกับ คอเลสเตอรอล ของคนไข้ที่เกิน 200 นะครับ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คอเลสเตอรอล ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ใช่คอเลสเตอรอลที่คุณตรวจเลือดแล้วทุกคนจะเหมือนกัน นะครับ คอเลสเตอรอล ประกอบไปด้วย Total Cholesterol(ไขมันรวม) เหมือนสไลด์ก่อนๆ ลองเข้าไปดูในวิดีโอก่อนๆ นะครับ Total Cholesterol โดยค่าเฉลี่ยไม่เกิน 200 นะครับ แต่ก็จะมีไขมันที่ไม่ดี ที่เราเรียกว่า LDL หรือ Low Density Lipoprotein นะครับ อันนี้ก็จะเป็น คอเลสเตอรอล ตัวร้ายนะครับ และก็จะมี HDL หรือ High Density Lipoprotein เป็นคอเลสเตอรอล ตัวดี หรือ พระเอกของเรา เพราะฉะนั้นเมื่อรวมทั้ง ตัวร้าย(LDL) และตัวดี(HDL) ก็เหมือนเรามีขยะและรถขยะ นะครับ ในทางการแพทย์เราต้องประเมินด้วยว่า ทั้งตัวร้ายและตัวดี อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือเปล่า นะครับ เพราะฉะนั้น ตัวร้าย ตัวดี เวลารวมๆ กันไปแล้ว ในคนไข้บางคนอาจจะดูเยอะ แต่ว่าเราต้องเจาะลงไปในรายละเอียด นะครับว่า มีตัวดี ตัวร้าย เท่าไหร่ เราไม่ได้วัด คอเลสเตอรอล สูง แค่ดูจาก คอเลสเตอรอล รวมเกิน 200 ไม่นะครับ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด มีทั้งดีและไม่ดี ความเข้าใจผิดนี้ นำไปสู่อะไรครับ นำไปสู่การใช้ยาโดยไม่จำเป็น นะครับ ทำให้คนไข้เกิดความเสี่ยงจากการใช้ยา เช่น เกิดความเสี่ยงใดด้านโรคตับ หรือ ความผิดปกติในด้านกล้ามเนื้อสลาย อะไรต่างๆ ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะเกิดได้ จำนวนหนึ่ง แต่ไม่เกิดขึ้นกับคนไข้ทุกคน อันนี้คือ ข้อแรกนะครับ
ข้อสอง อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ส่งผลต่อคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเสมอ
     อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง อย่างเช่น กุ้ง หมึก หอย พวกเป็นกระดอง หรือสัตว์อาหารทะเล นั้น หรือแม้กระทั่งไข่แดง นั้นจะเพิ่มคอเลสเตอรอล อันนี้ก็ไม่จริงนะครับ ข้อมูลในระยะ 30 ปีหลังมานี้ ข้อมูลผมเอง ข้อมูลในต่างประเทศ นะครับที่ทำการวิจัยกันมา เนี่ย ก็เริ่มมีข้อมูลออกมามากขึ้นว่า อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงส่งผลต่อคอเลสเตอรอลในเลือดน้อยมาก นะครับ ถึงแม้ว่าจะเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มขึ้น 1-2 มิลลิกรัมต่อคอเลสเตอรอล 100 มิลลิกรัม แต่ว่าปริมาณที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการเพิ่มของไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันอิ่มตัวที่เจอในหนังหมู นะครับ trans fat(ไขมันทรานส์) เจอในน้ำมันแปรรูป เช่น โดนัท เห็นไหมครับว่า ของพวกนี้มันไม่ได้มีคอเลสเตอรอล แต่วันมันไปเพิ่มคอเลสเตอรอลได้ ในทางกลับกัน อาหารที่มีคอเลสเตอรอล อย่างกุ้ง หมึก หอย เนี่ย  ระยะหลังพบว่า เพิ่มคอเลสเตอรอล น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางการแพทย์ ก็จะต้องมีการติดตาม ดังนั้น ท่านเองที่รักกินอาหารทะเล รักกินไข่ ก็จะต้องตรวจเลือดเป็นประจำ และในคลิปหน้าจะมาเล่าถึงเรื่องของ ไข่ ต่อไปว่า จะกินไข่อย่างไร ให้ฉลาด กินได้เท่าไหร่นะครับ เป็นคำถามยอดฮิต นะครับ
ข้อสาม คนผอมไม่มีคอเลสเตอรอลจริงหรือไม่
     ต่อมาข้อที่ 3 นะครับ คนส่วนใหญ่เนี่ยเป็นคนที่ผอม ไม่ต้องกังวลเรื่องคอเลสเตอรอลจริงมั้ย ไม่จริงนะครับ เพราะคอเลสเตอรอลนั้นเป็นสารที่มีความซับซ้อนมากอยู่ในตัวเลือดนะครับ คนที่ผอมหรือไม่ผอม มันขึ้นอยู่กับ ไขมันเปลวใช่ไหมครับ พุง หรืออะไรต่างๆ นะฮะ แต่คอเลสเตอรอลนั้นมันอยู่ในน้ำเลือด นะครับ ในบางคนที่มีพันธุกรรมผิดปกติ  ถึงแม้จะผอม ถึงแม้จะกินน้อย คอเลสเตอรอล ก็สูงได้ นะครับ เพราะฉะนั้นเป็นความเชื่อที่ผิดนะครับ ที่ว่าคนผอมจะมีคอเลสเตอรอลต่ำ อันนี้ไม่จริงนะครับ ขณะเดียวกัน ในทางกลับกัน คนที่อ้วน คอเลสเตอรอลต่ำ ก็มีนะครับ แต่ว่า ถ้าอ้วนแล้วก็จะมีความเสี่ยงด้านอื่น เพราะฉะนั้นอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ คอเลสเตอรอลปกติ ก็อาจจะต้องควบคุม ความเสี่ยงอื่นๆ ด้วยนะครับ
ข้อสี่ ทุกคนที่กินยาลดไขมันทำให้เกิดผลข้างเคียงในคนไข้ทุกคนจริงหรือ
     ทุกคนที่กินยาลดไขมันที่เรียกว่ายา Statins(สะแตติน) Atorvastatin (อะทอร์วาสะแตติน) Simvastatin (ซิมวาสะแตติน) ที่เราค้นพบกันเนี่ย นะครับ เพื่อรักษาไขมันเนี่ย จะต้องเกิดปัญหาจากการใช้ยา เช่น ปวดกล้ามเนื้อ จริงอยู่นะครับว่า โอกาสที่จะปวดกล้ามเนื้อจากการใช้ยาลดไขมัน ก็คือ ลักษณะของการเกิดกล้ามเนื้อสลาย เกิดขึ้นได้เยอะนะครับ ผมเจอได้บ่อย ในกรณีที่ใช้ยานี้ร่วมกับใช้ยาบางตัว แล้วเกิด เค้าเรียกว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยาบางตัว อันนี้ก็จะเป็นเหตุผลที่เราพยายามแนะนำคนไข้ให้กินยาอย่างเหมาะสม เพราะเราไม่รู้ว่ายาบางตัวกินไปแล้วทำให้มันตีกัน ทำให้ประสิทธิภาพของกันและกันมันลดลงหรือเปล่า นะครับ แต่หากคนไข้มีความจำเป็นต้องใช้ยา ก็ต้องใช้ยา นะครับ เพียงแต่ข้อโชคดีของการมี คอเลสเตอรอล ก็คือว่า มันเกิดจากอาหารได้ คอเลสเตอรอลส่วนหนึ่งร่างกายผลิตนะครับ อีกส่วนหนึ่งมาจากอาหาร ส่วนที่ร่างการผลิตเองเนี่ย ในระยะหลัง จากประสบการณ์ผม วิจัยพบว่า มาจากอาหารที่ไม่มีคอเลสเตอรอล เช่น ผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำตาล พวกนี้ทำให้ ไตรกลีเซอไรด์คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นได้ นะครับ ดังนั้นเบื้องต้นเนี่ย เราต้องควบคุมการบริโภคก่อน เพราะทำได้ง่าย ลองกลับไปดูวิดีโอก่อนๆ
ข้อห้า คนที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ไม่เสี่ยงจริงหรือ
     และสุดท้ายนะครับ คนไหนที่คอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ คิดว่าตัวเองปลอดภัยจาก เส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจหรือเปล่า อันนี้ไม่จริงนะครับ บอกเลย ข้อมูลของประเทศไทยลงในวารสาร Journal of Stroke and Cerebrovascular Diseases ปี 2014 นะครับ สรุปข้อมูลคนไทยนะครับ ที่เป็นเส้นเลือดในสมองแตก หรือตีบ ที่รักษาอยู่โรงพยาบาลตัวประเทศ ประมาณหลายพันคน นะครับ พบว่าคนที่มีเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ นะครับ ปรากฏว่า 1 ใน 3 ของคนที่เป็นเส้นเลือดเหล่านี้เนี่ย พบว่ามีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง นั่นหมายความว่า คนที่เป็นเส้นเลือดเนี่ย ประมาณ 2 ใน 3 คือ กว่า 60% หรือคนเกือบทั้งหมดเลยนะครับ คือคนที่มีคอเลสเตอรอลปกติแล้ว หรือใช้ยารักษาแล้ว ดังนั้นการที่จะบอกว่า คอเลสเตอรอลต่ำแล้วจะปลอดภัย อันนั้นไม่จริง นะครับ แล้วก็พบว่าคนจำนวนหนึ่งก็จะมีเบาหวาน มีความดัน
     เพราะฉะนั้นความเสี่ยงที่แท้จริงของโรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจนะครับ พวกนี้คือความเสี่ยงแอบแฝง ที่มาจากโรคเบาหวาน ความดัน สูบบุหรี่ นะครับ และความเสี่ยงที่เปลี่ยนไม่ได้คือ อายุและพันธุกรรม นะครับ ดังนั้นหลายคนมักเข้าใจคอเลสเตอรอลผิดว่า ฉัน ต้องมีคอเลสเตอรอลต่ำเป็นหลัก ที่จริงไม่นะครับ สาเหตุที่ต้องไม่ ก็เพราะว่า คอเลสเตอรอลไม่ใช่กระบวนการที่ง่าย เช่น หยุดกินอันนี้ปุ๊บทำให้ คอเลสเตอรอลลง มันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน นะครับ คนไข้คนไหนมีพันธุกรรมแอบแฝงที่จะทำให้คอเลสเตอรอลสูง คนพวกนี้ที่เรียกว่า กินน้อย คอเลสเตอรอลก็จะพุ่งปรี๊ดก็มี พวกนี้เราพิสูจน์ได้จากพันธุกรรม แต่ว่าอยู่ในเชิงของการวิจัย ไม่ได้พิสูจน์กันโดยทั่วๆ ไปเหมือนที่เราจะพิสูจน์ตามตรวจเช็คอัพทั่วไป เพราะฉะนั้นหลักการของผมง่ายๆ ก็คือว่า หากท่านมีความเสี่ยงสูง หรือมีความเสี่ยงสูงในการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมเนี่ย ก็ควรจะหมั่นตรวจสุขภาพ และก็ไม่มีคำแนะนำชัดเจน ว่าแต่ละคนต้องกินเท่าไหร่ เพราะว่า เรารู้ว่าแต่ละคนตอบสนองไม่เหมือนกัน บางคนออกกำลังกายก็จะกินได้เยอะหน่อย บางคนไม่ได้ทำอะไร นั่งๆ นอนๆ แบบนี้กินนิดๆ หน่อยๆ ก็ก่อโรคแล้ว นะครับ
     วันนี้ก็เล่า 5 Concept ที่คนเข้าใจผิดนะครับ เกี่ยวกับคอเลสเตอรอล วันนี้ลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ
[ขอบคุณ นพ.กรภัทร มยุระสาคร สำหรับข้อมูล ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย S.J.Bank]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ไขปัญหาความเข้าใจผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล
ไขปัญหาความเข้าใจผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล
ไขปัญหาความเข้าใจผิดๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhbwygrNY4lAa6xnL_ui3-OBGWHvdL3QermN8Eg9lfK3XONNFoYzr57TCRcK88TzPWNoKps7y0xjZsxQm-pA2WtlY88Pw_YeDhC7nsdRliKQbkaw8nxpajvGRFoL91lf0wUDbdWKciYhtU/s400/Cholesterol.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhbwygrNY4lAa6xnL_ui3-OBGWHvdL3QermN8Eg9lfK3XONNFoYzr57TCRcK88TzPWNoKps7y0xjZsxQm-pA2WtlY88Pw_YeDhC7nsdRliKQbkaw8nxpajvGRFoL91lf0wUDbdWKciYhtU/s72-c/Cholesterol.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_46.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/06/blog-post_46.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy