การรับประทานยาพาราเซตามอลมีผลต่อไตอย่างไร
การรับประทานยาพาราเซตามอลมีผลต่อไตอย่างไร
บรรยายโดย : พญ.กัลย์ยมล ธรรมนิรมล อายุรแพทย์โรคไตที่มา : หมอไตให้คำตอบ โดย พญ.กัลย์ยมล
สวัสดีค่ะ พาราเซตามอล ก็เป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่คนส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้ในการแก้ปวดเป็นตัวแรกๆ นะคะ คนไข้ไตก็สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้เช่นกัน นะคะ แต่ว่ามีรายละเอียดในการใช้พาราเซตามอล ให้ปลอดภัย แบบเป็นแผงก็จะมีแบบนี้นะคะ มีทั้งตัวยาให้เราเห็นว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร และชื่อยาที่กำกับอยู่ แบบนี้ ก็ดูเลยว่าชื่อที่เป็นชื่อการค้าที่เป็นชื่อตัวใหญ่ๆ แบบนี้อะค่ะ อันนี้ก็เป็นแบบชื่อการค้า ตัวพาราเซตามอลที่เป็นตัวชื่อของยาก็จะอยู่ข้างล่างลงมา ก็จะเป็นตัวเล็กๆ ตัวที่เป็นวงเล็บเลข 500 อันนี้ก็คือ ขนาดของยา
พาราเซตามอล ก็เอาไว้ 2 อย่าง ก็คือ แก้ปวดกับลดไข้ ในคนไข้โรคไต ตั้งแต่ไตเรื้อรังระยะที่ 1-4 อันนี้หมอก็แนะนำทาน พาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง คำว่า 1 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง ความหมายก็คือว่า ถ้าเกิดสมมุติตื่นเช้ามา 6 โมงเช้า แล้วปวดศีรษะ และทานยาพาราเซตามอล 1 เม็ด และเราก็ดูอาการก่อน ถ้าเกิดว่าก่อนเที่ยง เช่น สมมุติว่า ซัก 10 โมง อาการปวดนั้นยังไม่ดีขึ้น ยังไม่แนะนำให้ทานเม็ดที่ 2 นะคะ เพราะยังไม่ถึง 6 ชั่วโมง
ไตเรื้อรังยะยะที่ 5 ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ควรจะเป็น 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง (ห้ามกินเม็ดต่อไป ก่อน 8 ชั่วโมง ถ้าครบ 8 ชั่วโมงแล้วไม่ปวด ให้หยุดได้) นะคะ
พาราเซตามอล ผู้ป่วยไตสามารถใช้ได้ แต่ผู้ป่วยตับ ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน นะคะ เพราะพาราเซตามอล มีผลข้างเคียงกับตับ อีกอันหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ จำเป็นที่จะต้องเช็คว่ายาที่เรากำลังจะทานนั้น ไม่หมดอายุนะคะ ดังนั้นการที่เราจะทานยาก็ดูก่อนนะคะว่า ยาที่เราทานอะค่ะ มันหมดอายุวันไหน ก็วิธีดูก็ดูที่แผงแบบนี้อะค่ะ และยาที่เราจะทานไม่เสื่อมสภาพ เช่น เม็ดนี้สีเหลือง และอีกเม็ดสีเหลือง เยิ้มๆ อะไรอย่างนี้อะค่ะ ถ้ายาที่เสื่อมสภาพ หรือ ยาที่ไม่แน่ใจว่าเสื่อมสภาพหรือไม่ อันนั้นก็ไม่ควรที่จะทานค่ะ
การดูวันหมดอายุของยา สังเกตคำที่เขียนว่า Expiration Date หรือ Exp.Date (ตามภาพ)
อาจจะมีตัวยาบางตัวที่มาผสมกับตัวยาพาราเซตามอลเป็นยาหนึ่งเม็ดที่ประกอบด้วยยาพาราเซตามอล+ยาอื่นๆ เช่น อาจจะมารวมกับ Tramadol มารวมกับ Orphenadrine หรือรวมกับ Toperisone กลุ่มนี้คนไข้ไตยังใช้ได้ แต่ว่าควรอยู่ภายใต้ที่แพทย์แนะนำ
ยังมียาพาราเซตามอลที่หมอเคยสอนไปแล้ว ที่ควรจะเลี่ยงก็คือ กลุ่ม NSAID นะคะ โดยทั่วไปเขาก็จะเอาพาราเซตามอลไปรวมกับไอบูโพรเพน เพื่อลดไข้ อันนี้เราก็ต้องรู้ว่า อันนี้มียาพาราเซตามอล แต่มีกลุ่มยาที่เราควรจะเลี่ยงด้วยนะคะ อีกข้อหนึ่งที่เราควรจะต้องรู้ว่ายาพาราเซตามอลอื่น เช่น สมมุติเราได้ยาพาราเซตามอล+Tramadol มาก่อน แล้วทำให้อาการปวดไม่ดีขึ้น เราก็ไม่ควรเบิ้ลพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมอีก เพราะว่าอย่างนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะเกินขนาดแล้ว นะคะ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นนะคะ หมอก็คิดว่ารีบควรไปโรงพยาบาล ไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนะคะ เพราะว่า ต่อให้หมอบอกว่า ยาพาราเซตามอล คนไข้ไตสามารถใช้ได้ แต่ถ้าใช้เกินขนาดหรือ ใช้เป็นเวลานาน ก็มีรายงานว่าพาราเซตามอลอาจจะทำให้เกิดผลกับไต นั่นคือเกิดเรื่องของเลือดเป็นกรด ซึ่งมีความเป็นอันตรายรุนแรงมากทีเดียวนะคะ
สุดท้ายนี้ หมอก็สรุปดังนี้ค่ะ เวลาไปซื้อยาก็ต้องดูชื่อยาก่อนนะคะ ดูว่าข้อบ่งชี้ในการใช้ยาเพื่อลดปวด เพื่อลดไข้ ปรับขนาดของยาตามความเสื่อมของไต ของแต่ละท่าน ผู้ป่วยโรคตับก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน นะคะ ถ้าเกิดว่าจะทานพาราเซตามอล และก็จำเป็นจะต้องดูก่อนว่า ยาไม่หมดอายุ ไม่เสื่อมสภาพ นะคะ สุดท้ายถ้าเกิดทานยาพาราเซตามอล ซักระยะหนึ่งแล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรจะต้องรีบไปพบแพทย์แล้วนะคะ
และสำหรับวันนี้ หมอก็จะจบวิดีโอไว้เพียงเท่านี้นะคะ ท่านใดที่มีคำถามสงสัย ฝากคอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างนะคะ และถ้าใครคิดว่า คลิปนี้มีประโยชน์ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม ฝาก subscribe ให้ด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย S.J.Bank][เป้าหมายของผม คือ การนำข้อมูลที่เป็นไฟล์เสียง ให้มาอยู่ในรูปตัวอักษร เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ให้อยู่บนอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้]