โรคมะเร็งปอดที่เกิดจากความผิดปกติของยีนซึ่งไม่เกิดจากการสูบบุหรี่
โรคมะเร็งปอดกับคนที่ไม่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเกิดจากอะไร
รายงานพิเศษหัวข้อ : EGFR mutation ถึงไม่สูบบุหรี่ก็เป็นมะเร็งปอดได้บรรยายโดย : อ.พญ. ศิริโสภา เตชะวัฒนวรรณา
(อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีบำบัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล )
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
เคยสังเกตไหมบางคนไม่สูบบุหรี่เลย ออกกำลังกายทุกวัน สุขภาพแข็งแรง แต่สุดท้ายกลับป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด เป็นไปได้อย่างไร บางครั้งโรคมะเร็งปอดก็สามารถเกิดกับผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ได้ เพราะสาเหตุเกิดจาก ยีน EGFR ที่อยู่ในตัวของเราเกิดการกลายพันธุ์ปัจจุบันนี้เนี่ย เรื่องของโรคมะเร็งปอด เราอาจจะแบ่งคร่าว ๆ ว่า เป็นเซลล์ชนิดที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ หรือไม่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่
EGFR Mutation ถึงไม่สูบบุหรี่ ก็เป็นมะเร็งปอดได้
ค่ะ สำหรับตัว EGFR Mutation(การกลาย) ชื่อเต็มของ EGFR คือ Epidermal Growth Factor Receptor นะคะ เป็นรหัสทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งที่อยู่บนผิวเซลล์ ซึ่งในคนเราปกติมันก็มีอยู่แล้ว แต่พอวันหนึ่งเขามีความผิดปกติระดับยีน ทำให้การแบ่งตัวของเขาไม่สามารถควบคุมได้ ปกติแล้วหน้าที่ของยีน ก็คือว่า มันจะมีการตรวจสอบ เมื่อยีนทั้งสายเนี่ยเกิดการตรวจสอบ ยีนไหนผิดปกติมันก็จะถูกกำจัดด้วยกระบวนการของร่างกาย แต่เมื่อ EGFR ตัวนี้มันผิดปกติ และความผิดปกตินี้มันสร้างขึ้นเรื่อย ๆ จนมันโตขึ้น ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดขึ้นมาจำนวนผู้ป่วยที่พบ ที่มีการกลายของ EGFR
จำนวนของผู้ป่วยที่มี EGFR Mutation ที่มีความผิดปกติของ EGFR เราเจอได้เยอะพอสมควรเลยค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเทียบกับผู้ป่วยมะเร็งปอด 100% นะคะ ในประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเชียเอง เราเจอผู้ป่วยที่เป็น EGFR แสดงที่ผิวเซลล์ ได้ถึง 60%อาการของโรคมะเร็งปอดที่เกิดจากยีนที่กลายพันธ์ุ : EGFR Mutation
อาการของโรคมะเร็งปอดที่เกิดจากยีนที่กลายพันธุ์ ไม่ได้แตกต่างจากโรคมะเร็งปอดอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยอาการหอบเหนื่อย อาจจะมีเรื่องของน้ำท่วมปอด ทำให้นอนราบไม่ได้ และก็อาจจะมีเรื่องของ ไอเป็นเลือด แต่ถ้าเราเจอว่ามีการตอบสนองต่อยีน EGFR Mutation นั่นหมายความว่า เรามีโอกาสที่การรักษาจะได้ตรงประเด็นมากขึ้น คนไข้ส่วนใหญ่ที่มาเจอ เรามักจะเจอเป็นระยะที่ 4 เพราะว่า ด้วยตัวโรคเองเนี่ย อาการมันค่อนข้างกำกวมค่ะ หลาย ๆ คน อาจจะมาด้วยเรื่องไอนิดหน่อย น้ำหนักเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หรือว่าอาจจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งกว่าที่จะมาเนี่ย อาการก็ค่อนข้างช้าแล้ว
(คนไข้) สวัสดีค่ะคุณหมอ
(หมอ) สวัสดีค่ะ วันนี้มีอะไรให้หมอช่วยบ้างคะ
(คนไข้) ตอนนี้มีปัญหาว่า เวลาทำงานบ้าน 3 เดือนหลังมานี้รู้สึกว่าเหนื่อยมากขึ้น มีอาการแบบนี้
(หมอ) อ๋อ ประมาณ 3 เดือนนี้
(คนไข้) ใช่ค่ะ
การตรวจโรคมะเร็งปอด
ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอด และก็พบว่ามีก้อนเนื้องอกเป็นระยะที่ 4 เราจะส่งตรวจ EGFR ด้วย 2 วิธีการก็คือ หนึ่งคือ เจาะเลือด อย่างที่สอง คือ เอาจากตัวชิ้นเนื้อที่เราเจาะมาแล้วเอาไปตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ
(หมอ) ค่ะ สำหรับวันนี้ ผลเลือดที่ตรวจออกมา อาจจะไม่ใช่ข่าวดีนัก เราเจอว่ามีการตรวจพบ EGFR ในเลือด ซึ่งการผิดปกติของ EGFR เราสามารถเจอได้ในเนื้อร้ายของปอด ก็คือ มะเร็งนั่นเอง
การรักษามะเร็งปอด
สำหรับการรักษามะเร็งปอด นะคะ เราจะต้องแบ่งเป็น "ระยะเพื่อหวังผลการหายขาด" หรือ "ระยะของโรคเพื่อรักษาแบบประคับประคอง" ให้เขาอยู่รอดชีวิตได้ยาวขึ้น รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ไม่แย่มากนัก
ในกลุ่มแรก ระยะที่ 1-3 (ระยะเพื่อหวังผลการหายขาด) การรักษานั้นจะเป็นบทบาทของ การผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายแสง จะไม่มีบทบาทการรักษา "แบบมุ่งเป้า" ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ทันทีที่โรคเป็นระยะที่ 4 และก็มีการตรวจพบเรื่องของ EGFR Mutation ที่แสดงอยู่บนผิวเซลล์ หรือเป็นการตรวจจากเลือด เราจะต้องมาคุยถึงการรักษาด้วยยา "การรักษาแบบมุ่งเป้า"
(หมอ) วันนี้หมอจะให้ยาไป หมอคงจะต้องนัดมาตรวจติดตาม เรื่องผลการรักษาและผลข้างเคียง ในอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า
วิธีป้องกันโรคมะเร็งปอด
วิธีป้องกันโรคมะเร็งปอด ชนิดที่เป็น "EGFR" อันนี้เราไม่มีวิธีการป้องกันนะคะ เพราะอย่างแรกสุดเลย เราไม่รู้หรอกว่า "ใครจะเป็น EGFR Mutation ได้บ้าง" และที่สำคัญก็คือว่า ตัว EGFR Mutation ส่วนมากไม่ได้สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่
ถ้าเกิดว่า คุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแล้ว กำลังคิดที่จะใช้ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน ชนิดใดก็ตาม ขอแนะนำว่า เอามาให้หมอดูนิดหนึ่ง เพราะว่าหมอไม่ทราบหรอกว่า ยาเหล่านั้นมันจะไปกระตุ้นหรือยับยั้ง เมื่อรู้ตัวเองว่าเป็นมะเร็ง
หมออยากให้เข้มแข็งนะ อย่าไปคิดว่าเราจะแย่ เราจะเหลือเวลาอีกไม่นานแล้ว เราจะต้องทุกข์ทรมาน หมอรู้วันมันยาก และหมอรู้ว่ามันไม่ง่ายเลย แต่หมออยากให้เรายิ้มสู้ไปด้วยกัน แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน
[ขอขอบคุณ อ.พญ. ศิริโสภา เตชะวัฒนวรรณา อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube : Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook : https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล : https://www.mahidol.ac.th/th
Website : https://www.mahidolchannel.com