คนที่มีเชื้อ HIV นั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป
เกี่ยวกับโรคเอดส์อาจมีบางเรื่องที่คุณยังไม่ทราบ
รายงานพิเศษหัวข้อ : HIV / เอดส์ รู้จักป้องกัน...รู้ทันโรคบรรยายโดย : อ.นพ.สกิทา ม่วงไหมทอง
(อาจารย์และสูตินรีแพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล)
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
“9,000 - 100,000 คน คือจำนวนของผู้ป่วยใหม่ที่ติดเชื้อ HIV / เอดส์ในแต่ละปี” ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า HIV / เอดส์ ยังคงเป็นโรคที่อันตรายและเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก HIV และ เอดส์ ต่างกันอย่างไร สามารถติดต่อกันทางใดได้บ้าง อาการเป็นอย่างไร เมื่อติดเชื้อแล้วควรดูแลและรักษาตัวอย่างไร?โรคเอชไอวีเอดส์ ก็จะเป็นโรคเกี่ยวกับ การติดเชื้อไวรัสเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา ในแต่ละปีก็จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ ประมาณ 9,000 – 100,000 คนครับ
การติดเชื้อ HIV / เอดส์
การติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ หลัก ๆ เชื้อก็จะมีในสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในปริมาณแตกต่างกัน อย่างเช่น น้ำลายก็จะมีค่อนข้างน้อย ในเลือด ในน้ำอสุจิ จะมีปริมาณเชื้อค่อนข้างสูง ก็จะเป็นสองเส้นทางหลักใหญ่ ๆ ก็คือเรื่องของการได้เลือดและก็ทางเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบันเรื่องของการรับบริจาคเลือดน้อยลงมาก เนื่องจากว่ามีมาตรการในการตรวจเช็ก ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แต่ก็จะมีกลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยา ใช้ยาเสพติดโดยผ่านการฉีด พวกนี้ก็ยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงอยู่(หมอ) สวัสดีครับ
(คนไข้) สวัสดีครับ
(หมอ) สำหรับเรื่องผลเลือด คุณไก่ทราบแล้วใช่ไหมครับ
(คนไข้) ครับ
การตรวจหาเชื้อ HIV / เอดส์
(หมอ) การตรวจหลัก ๆ ปัจจุบันเป็นการตรวจเลือด ดูเรื่องของภูมิคุ้มกัน และก็ดูเรื่องของการติดเชื้อ ในทางการแพทย์ระยะแรกของการติดเชื้อ เราจะเรียกว่า HIV Infection แต่ถ้าเกิดว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน เราจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์ระยะและอาการของเชื้อ HIV / เอดส์
ระยะและอาการของเชื้อ HIV / เอดส์ แบ่งออกเป็น ระยะแรก ระยะ A ระยะ B และก็ระยะ Cสำหรับกลุ่ม A จะเป็นกลุ่มที่ติดเชื้อช่วงแรก ได้รับเชื้อเข้ามาในร่างกาย ก็จะมีอาการคล้าย ๆ กับไข้หวัดทั่วไป ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย แต่ว่าก็สามารถแพร่เชื้อได้
ระยะ B เป็นระยะที่เริ่มมีอาการ เนื่องจากว่าเชื้อเอชไอวี มันจะไปทำลายการทำงานของเม็ดเลือดขาว ร่างกายก็จะมีความอ่อนแอลง
และก็ระยะ C พอเม็ดเลือดขาวลดลงเรื่อย ๆ มีการติดเชื้อฉวยโอกาสเข้ามา ก็จะเข้าสู่ระยะเอดส์ ก็คือระยะที่ภูมิคุ้มกันต่ำลงมาก ๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ครับ
การรักษาเชื้อ HIV / เอดส์
(คนไข้) อย่างนี้มันจะรักษาหายไหมครับหมอ หรือว่าแค่ช่วยบรรเทาครับ(หมอ) จริง ๆ โรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่ว่าในปัจจุบันสามารถควบคุมอาการได้ ปัจจุบันมีการพัฒนาในแง่ของยา มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี สามารถควบคุมอาการได้ คล้ายกับเป็นโรคเรื้อรังแบบหนึ่ง
นอกจากยาต้านไวรัส ก็จะเป็นการให้ยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน พวกเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆอันนี้ขึ้นอยู่กับระดับของเม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า CD4 ถ้าเกิดว่า CD4 ต่ำ ๆ โอกาสติดเชื้อฉวยโอกาสเพิ่มขึ้น คุณหมอก็จะให้ยาที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ
(หมอ) การรักษาในปัจจุบัน ถ้าเกิดว่ารักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อยู่ในสังคมได้ จะคล้ายกับการรักษาโรคเรื้อรังต่าง ๆ อย่างเช่น เบาหวาน ความดัน ซึ่งโรคนี้ไม่หายเหมือนกัน ต้องทานยาควบคุมไปตลอด
นอกจากยาต้านไวรัสก็จะเป็นการให้ยาป้องกัน ก่อนสัมผัสโรคและหลังสัมผัสโรค มันจะมีคำว่า PrEP และก็คำว่า PEP ทั้งสองกลุ่มเป็นยาต้านไวรัสเหมือนกัน แต่ว่าสูตรที่ใช้ไม่เหมือนกัน PrEP คือการป้องกันก่อนที่จะสัมผัสเชื้อ แนะนำสำหรับกลุ่มที่มีโอกาสสัมผัสโรค อย่างเช่น ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ท่านต้องทานยาต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในอนาคต
ในขณะที่ PEP เป็นการป้องกัน หลังจากที่สัมผัสโรคมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจากการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้รับการป้องกัน ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งท่านสามารถลดโอกาส ที่จะติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ได้
(คนไข้) แล้วอย่างการติดเชื้อ ถ้าเรากินข้าวร่วมกัน สามารถแพร่เชื้อได้ไหมครับ
(หมอ) เอชไอวีจะติดต่อผ่านทางเลือด และก็ทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก สำหรับกิจกรรมที่ทำร่วมกัน กับผู้ป่วยเอชไอวีเอดส์ได้ โดยที่ไม่มีการติดหรือว่าไม่ได้มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการกอด การสัมผัสบริเวณผิวหนัง การจูบ
อีกกลุ่มหนึ่งก็คือ การมีความสัมพันธ์ทางด้านร่างกาย ที่ไม่ได้สอดใส่ ในแง่ของออรัลเซ็กส์ หรือว่าเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก โอกาสที่จะติดเชื้อค่อนข้างต่ำมาก ถ้าไม่ได้มีแผล หรือว่าไม่ได้มีโรคภายในช่องปาก
วิธีการป้องกัน การติดเชื้อ HIV/AIDS
วิธีป้องกันหลัก ๆ เลย ก็เรื่องของเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นช่องทางการติดเชื้อที่เจอบ่อยที่สุด ต้องมีการป้องกันโดยใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันเรื่องของเอชไอวีแล้ว ก็ช่วยป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย สำหรับเรื่องของการแจ้งคู่นอน อันนี้ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ในแง่ของการรักษาและการควบคุมโรค ถ้าเกิดพบการติดเชื้อก็ให้การรักษา พร้อม ๆ กับตัวผู้ป่วยซึ่งก็จะทำให้ผลการรักษาดีกว่า ถ้ามีปัญหาทางสุขภาพ อย่าลืมมาพบหมอนะครับ
[ขอขอบคุณ อ.นพ.สกิทา ม่วงไหมทอง อย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://www.mahidolchannel.com | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/