หลังจากรับเชื้อ HIV จะตรวจพบได้ภายในกี่วัน
การรับเลือดบริจาคมีโอกาสติดเชื้อ HIV ได้มากน้อยแค่ไหน
รายงานพิเศษหัวข้อ : รับเลือดบริจาค เสี่ยงติดเชื้อ HIV?บรรยายโดย : อ.นพ.วิโรจน์ จงกลวัฒนา
(ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)
ที่มาคลิป : พบหมอมหิดล
เป็นประเด็นสังคมเกี่ยวกับ "ความปลอดภัยในการรับเลือดบริจาคแล้วคนไข้ติดเชื้อ HIV" จากการรักษา ตามสถิติแล้วความเสี่ยงในการติดเชื่อ HIV จากการรับเลือดบริจาคมีโอกาสเกิดขึ้นได้เพียง 1 ใน 5 ล้านคน โอกาสเสี่ยงมีน้อยมาก แต่เราจะมั่นใจในความปลอดภัยในการรับเลือดบริจาคได้อย่างไร ตลอดจนวิธีการป้องกันของปัญหานี้คืออะไร การใช้เลือดตัวเองได้หรือไม่ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) จากการรับเลือด เกิดขึ้นได้อย่างไรนะครับ
ถ้าเกิดผู้บริจาคเลือดไปมีพฤติกรรมความเสี่ยง เช่น ไปมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน หรือไม่ได้มีการป้องกัน อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ที่เป็นความเสี่ยง ที่ร่างกายอาจจะได้รับเชื้อ ทั้งที่รู้และทั้งที่ไม่รู้ ถ้าเกิดการรับเชื้อนั้น เกิดขึ้นในระยะต้น เช่น 2-3 วัน แล้วผู้บริจาคผู้นั้นบังเอิญมาบริจาคเลือด ตอนได้รับเชื้อ ได้รับเชื้อไม่เยอะหรอก ดังนั้น ต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่ง ที่เชื้อจะแบ่งตัวมากขึ้น ๆ นะครับ
คนที่ติดเชื้อ HIV สามารถตรวจพบได้เร็วที่สุด ภัยในกี่วัน
สำหรับเอชไอวี (HIV) ในชุดการตรวจ ณ ปัจจุบัน สามารถจะตรวจการติดเชื้อ สำหรับผู้ที่เพิ่งได้รับเชื้อ เร็วที่สุดประมาณ 11 วัน ในช่วงก่อน 11 วัน การตรวจนั้นอาจจะยังไม่สามารถตรวจเจอได้ครับ ในเทคโนโลยีปัจจุบันที่เราทำได้ค่อนข้างดี เราตรวจในระดับ molecular แล้วนะครับ ก็ยังไม่สามารถจับได้ อันนี้ยังคงเป็น ความเสี่ยงสำหรับผู้รับเลือดอยู่ แต่ไม่อยากให้ผู้ป่วยตระหนก ตกใจกันขนาดนั้นนะครับ เพราะความเสี่ยงนี่ อยู่ในระดับ 1 ใน 5 ล้าน ก็ว่าได้นะครับ ถือว่าน้อยมากนะครับเราไม่เคยเห็นผู้ป่วยรายใหม่ ที่ได้รับการติดเชื้อจากการได้รับเลือด อีกเลย ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่างานธนาคารเลือดในประเทศไทย ในทุก ๆ สถาบัน เราก็ทำได้เทียบเท่ามาตรฐานในอเมริกามาตรฐานในยุโรป ในทุก ๆ ประเทศแล้วนะครับ
ในส่วนของการตรวจ PCR หรือ ตรวจหาสารพันธุกรรม พวกนี้จะมีความไวในการตรวจเชื้อได้เร็วกว่า วิธีที่เราตรวจกรองการติดเชื้อธรรมดา จากการติดเชื้อใช้เวลานาน แต่ถ้า PCR นี่ หลังการติดเชื้อ ในรายที่เป็นเอชไอวี หลังจากได้รับเชื้อ 11 วัน ถ้าวิธีการที่ตรวจ PCR จะสามารถตรวจเชื้อได้ แต่ถ้าผู้บริจาคเลือด ได้รับเชื้อมา ในเวลาสมมุติว่า 5 วัน แล้วคุณมาบริจาคเลือด เลือดถุงนี้ เราก็จะตรวจไม่เจอเชื้อ เลือดถุงนี้ ถ้าเราตรวจไม่เจอก็คือ ส่งต่อไปถึงคนไข้ คือจะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยที่ทางเราก็ยังไม่ทราบด้วยซ้ำ จนกว่าเชื้อที่ไปถึงคนไข้แล้ว เพิ่มจำนวนในตัวคนไข้ สมมุติว่าเลือดในถุงนี้ เราจะต้องแบ่งให้เด็ก ซึ่งเลือด 1 ถุง อาจจะแบ่งให้เด็ก ได้อีกตั้ง 3 คน 4 คน แล้วแต่ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดว่าเชื้อที่อยู่ในถุงนี้ไปถึงเด็ก ก็คือ เด็กคนนี้จะได้รับเชื้อตั้งแต่เล็กเลย
คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะบริจากเลือด
ในส่วนของผู้บริจาคเลือด ก่อนบริจาค ดูแลตัวเอง แล้วก็มั่นใจว่า เลือดของตัวเอง สามารถให้ผู้อื่นได้ พฤติกรรมความเสี่ยงบางอย่าง ก่อนมาบริจาคเลือด ก็อยากให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ แล้วสิ่งสำคัญก็คือ ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาผู้บริจาคเลือดบางคน ตัวเองมีพฤติกรรมเสี่ยงมาเร็ว ๆ นี้ ไม่อยากจะไปตรวจที่โรงพยาบาล ไม่อยากจะไปเสียเงิน แต่อาศัยการบริจาคเลือด มาในสถาบันที่เขารับบริจาคเลือด แล้วก็นั่งรอที่บ้านเพื่อรอผลแจ้งว่า ปกติ หรือว่าติดเชื้อ ไม่อยากให้ใช้การบริจาคเลือด มาเป็นตัว เพื่อจะตรวจการติดเชื้อในตัวเองนะครับ เพราะผลร้ายอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ที่เราไม่รู้จักเลยก็ได้
โรคอะไรบ้างที่ติดเชื้อจากการได้รับเลือด
โรคอะไรที่สามารถถ่ายทอดจากการได้รับเลือด จากเลือดผู้บริจาคถูกไหมครับ ต้องยอมรับว่าการตรวจในปัจจุบัน เราไม่ได้ตรวจเชื้อโรคทุกตัว เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว เราตรวจเฉพาะซิฟิลิสตัวเดียว ต่อจากนั้นมาอีกประมาณ 10 กว่าปี เราเริ่มมาตรวจไวรัสตับอักเสบ B ปี 2530 เราเริ่มมาตรวจเอชไอวี หลังจากตรวจเอชไอวีมา เราก็เริ่มมาตรวจไวรัสตับอักเสบ Cถ้าจำเป็นต้องรับเลือด จะมีวิธีป้องกันการติดเชื้อ HIV อย่างไร
ณ ปัจจบุัน การให้เลือดให้ตัวเองยังสามารถทำได้อยู่ ทำในเฉพาะกลุ่มคนที่ มีการวางแผนล่วงหน้าของการผ่าตัด เช่น จะต้องผ่าตัดในอีก 1 เดือนข้างหน้า สามารถจะติดต่อโรงพยาบาลนั้น พิจารณาว่าคุณไม่ซีดนะ คุณมีความเข้มข้นของเลือดดีนะ คุณสามารถจะบริจาคเลือดให้ตัวเองได้ 3-4 ถุงได้ แล้วเลือดตรงนั้นเองนั่นละครับ จะไปให้คุณในวันที่คุณได้รับการผ่าตัดอ่านบทความเพิ่มเติม เรื่อง HIV / เอดส์ รู้จักป้องกัน...รู้ทันโรค ได้ที่นี่
[ขอขอบคุณ อ.นพ.วิโรจน์ จงกลวัฒนา ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : https://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | https://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://www.mahidolchannel.com | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/