เจาะลึกสาเหตุของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเอง ตอนที่ 1

ไขคำตอบสาเหตุสำคัญของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาตัวเอง

หัวข้อบรรยาย : ห้าสาเหตุสำคัญของโรคซึมเศร้า ที่ไม่ใช่เรื่องสารเคมีในสมอง ช่วงบรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล 
                      (จิตเวชศาสตร์ทั่วไป  ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
เริ่มต้นจากการที่มีการเสียชีวิตของนักศึกษาจากการฆ่าตัวตาย แล้วก็ลงข่าวว่า ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งก็มีช่วงที่เกิดเหตุการณ์ซ้ำ ๆ กันหลายวัน
          สวัสดีครับ ผมหมอประเวช เป็นจิตแพทย์ครับ เราพบกันทุกคืน วันอาทิตย์เวลา 20:00 นะครับ สำหรับคืนวันนี้ วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2562 เรามีนัดกันในหัวข้อ “5 สาเหตุสำคัญของโรคซึมเศร้า ที่ไม่ใช่เรื่องสารเคมีในสมอง” นะครับ หัวข้อนี้ เริ่มต้นจากการที่มีการเสียชีวิตของนักศึกษาจากการฆ่าตัวตาย แล้วก็ลงข่าวว่า ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งก็มีช่วงที่เกิดเหตุการณ์ซ้ำ ๆ กันหลายวัน สถาบันการศึกษาก็ติดต่อมาที่ผม ซึ่งผมไม่สามารถจัดเวลาเดินสายไปคุยได้นะครับ แต่ก็คิดว่าหัวข้อนี้เนี่ย ถ้าเราเข้าใจเรื่องสาเหตุได้ดีขึ้น ก็จะทำให้เรารู้วิธีป้องกันและรู้วิธีดูแลรักษาได้อย่างรอบด้านมากขึ้นนะครับ ซึ่งเราก็เคยคุยกันในเรื่องของโรคซึมเศร้ามาในหลากหลายแง่มุมนะครับ
          ครั้งนี้ ผมจะเจาะลึกในปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสารเคมีในสมองนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม Live  และขอบคุณท่านที่ช่วยแชร์นะครับ ผมจะเริ่มต้นอย่างนี้นะครับ อย่างแรกก็คือ เราคงจะเห็นนะครับว่า ปัจจุบันโรคซึมเศร้าจากเดิมที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักกัน กลายเป็นคำที่คนพูดถึงบ่อย แล้วก็เวลาผมไปเจอคนในเวทีต่าง ๆ เขาก็มักจะถามว่า อย่างนี้เนี่ย ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าไหม นะครับ ซึ่งในวันนี้ผมจะไม่ลงรายละเอียดของอาการของโรคซึมเศร้า นอกจากจะแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ค้นจาก Google ได้เลย นะครับ ในอินเทอร์เน็ตมี หรือลองค้นแบบประเมินโรคซึมเศร้า ก็จะทำให้ท่านรู้อาการพร้อมประเมินความรุนแรงของตัวเองได้ด้วย นะครับ
          แต่เวลาที่เราอธิบายว่า โรคซึมเศร้า คือ ความผิดปกติของสารเคมีในสมองเนี่ย มันมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดี ก็คือ มันทำให้คนเข้าใจว่ามันเป็นความเจ็บป่วยที่ไม่ได้คิดเอาเอง แล้วก็ต้องการการรักษา ซึ่งก็ต้องการใช้เวลาในการรักษานะครับ อันนี้เป็นข้อดี แต่ข้อเสีย ก็คือ มันทำให้คนสงสัยครับ ว่า เอ๊ะ บางคนหลังเลิกกับแฟนแล้วกลายเป็นโรคซึมเศร้า มันใช่โรคจริงหรือเปล่านะครับ แล้วมันเป็นความผิดปกติของสารเคมีได้อย่างไร อันนี้คือสิ่งที่เราจะมีการไขคำตอบกัน นะครับ เวลาที่เราพูดถึงว่าความเป็นโรคและก็เป็นเรื่องทางสมองเนี่ย คำถามหนึ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ กรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องไหม นะครับ เพราะถ้าเป็นโรคเนี่ย แล้วเป็นเรื่องของระบบชีวภาพ กรรมพันธุ์ก็ต้องมีบทบาท ไม่มากก็น้อย กรณีของโรคซึมเศร้าเนี่ย กรรมพันธุ์มีน้ำหนักของการเกิดโรคประมาณสัก 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ครับ ไม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ดี ซึ่งในจำนวนนี้ก็แปลว่าอะไรครับ แปลว่า ถ้าจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ จะต้องมีปัจจัยอย่างอื่นที่ไม่ใช่เรื่องของชีวภาพในร่างกายเรามากระตุ้นให้ยีนทำงานเกิดเป็นโรค สิ่งที่มันกลับมาเปิดสวิตช์ของยีนให้ทำงานแล้วเกิดเป็นโรค ก็คือ ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม อันนี้เป็นคำรวม ๆ นะครับ แล้วมันก็แปลว่า ถ้าไม่มีปัจจัยมาเปิดสวิตช์การทำงานของยีน โรคนี้แม้เราจะมีกรรมพันธุ์ ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องป่วยเป็นโรคนี้ ฟังดูจะให้คล้าย ๆ กันเลยกับโรคเบาหวาน นะครับ คือเบาหวาน เราก็เข้าใจว่ามันเกิดจากความผิดปกติ ที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง อันนี้ชื่อตามโรคนะครับ แต่คนมีกรรมพันธุ์ของการเป็นเบาหวานไม่ได้เป็นทุกคนที่จะต้องเป็นเบาหวาน มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยนะครับ อันนี้เป็นหลักการเดียวกันเลย
          ดังนั้น เวลาที่เราจะเข้าใจและรักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคเบาหวานได้ดี เราต้องเข้าใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่มาประกอบ แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร นะครับ ซึ่งคำอธิบายในทางว่าสารเคมีในสมองผิดปกติเนี่ย มีทั้งฝ่ายที่สนับสนุน ซึ่งส่วนใหญ่ ก็คือ ฝ่ายที่เป็นแพทย์ นะครับ ในวงการจิตแพทย์ก็จะถือว่าคำอธิบายนี้เป็นคำอธิบายมาตรฐาน แต่ก็มีฝ่ายแย้งครับ ซึ่งฝ่ายแย้งนี้ก็พยายาม จะบอกว่า ข้อมูลหลักฐานในการบอกว่าเป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมองเนี่ย มันมีน้ำหนักไม่ได้มากนักนะ แล้วมันมีข้อมูลที่เป็นเรื่องปัจจัยอื่น ๆ อีกเยอะมากเลย เนี่ยนะครับ ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้คุยกัน แต่เนื่องจากมันมาเยอะมาก ผมต้องจัดหมวดหมู่ให้ง่ายกับการเข้าใจ ก็เลยขมวดมาลงอยู่เป็น 5 ปัจจัย นะครับ
          ในทางคลินิก เวลาที่เราเจอคนที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งเป็นไปตามการวินิจฉัยว่าถ้ามีอาการครบแบบนี้แล้ว เรารักษาด้วยยาเนี่ยนะครับ เราก็จะพบว่า บางคนตอบสนองดีต่อยามาก บางคนตอบสนองไม่ค่อยดีต่อยา ทั้งนี้ก็เกิดขึ้นอยู่กับว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของแต่ละคนมันเกิดขึ้นจากอะไร นะครับ และที่สำคัญก็อย่างที่ผมเรียนครับ มีงานวิจัยทางจิตวิทยาและทางสังคมวิทยาอยู่มากพอสมควร ที่ทำให้เห็นว่า อะไรทำให้คนกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น ซึ่งผมก็จะไล่ไปทีละปัจจัย มี 5 ปัจจัย นะครับ

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุโรคซึมเศร้า : รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนเปลี่ยนไป

          ปัจจัยแรก ครับ ที่ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นกันมากขึ้น ก็คือ ปัจจุบันนี้รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนเปลี่ยนไป คนเราเนี่ยอยู่ ห่างไกลกันมากขึ้น สมัยก่อนเราจะอยู่เป็นชุมชนนะครับ อยู่ในเขตชนบทเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งจะต้องร่วมแรงร่วมใจกัน แต่ละวันเราอยู่ในชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่ เราไม่ได้รับรู้ความเป็นไปของสถานที่ห่างไกล แต่ในปัจจุบันนี้เนี่ย คนย้ายเข้าเขตเมืองมากขึ้น บ้านที่ติดกัน ห้องพักที่ติดกัน แทบจะไม่ได้คุยกันเลยนะครับ ในบ้านเดียวกัน พ่อแม่ก็มีเวลาให้ลูกน้อยลง บางทีนั่งอยู่ในที่เดียวกัน ก็ต่างคนต่างมีหน้าจอของตัวเอง ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ คนอยู่โดดเดี่ยวกันมากขึ้น และคนมีความเหงามากขึ้นกว่าเดิมครับ ความเหงาและความโดดเดี่ยวที่เกิดจากสายสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปนี้ มีส่วนกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ครับ ซึ่งก็เป็นได้ทั้งว่า เหงา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า หรือในอีกด้านหนึ่ง โรคซึมเศร้าก็มีอาการของความเหงาได้ด้วยเช่นกัน แล้วเขารู้ได้ไงว่าเป็นทั้งสองทาง อันนี้ก็เกิดจากงานวิจัยที่พบ ซึ่งผมจะขอไม่ลงรายละเอียดนะครับ เดี๋ยวท่านจะถูกข้อมูลท่วมมากเกินไป แต่ในเบื้องต้น ก็คือ จะบอกว่า รูปแบบความสัมพันธ์ที่เรามีกับคนอื่นที่เปลี่ยนไป ที่มันห่างเหิน ที่มันโดดเดี่ยว ที่ไม่ใกล้ชิด ไม่มีคนเข้าใจเหมือนเดิมเนี่ย เป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง
         งานวิจัยยังพบว่า ความเหงานี่ ส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายและจิตใจ นะครับ คนที่เหงาจะเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่มีความผูกพันดีนะครับ งานวิจัยนี้ชัดเจนมาก แล้วท่านคงเคยได้ยินว่า ประเทศอังกฤษมีการตั้งกระทรวงดูแลความเหงาของประชาชนนะครับ ทีนี้ เวลาที่เราดูการทิศทางการพัฒนาของสังคมโลกตอนนี้ มันเป็นการขยับไปสู่การอยู่ในสังคมเมืองซึ่งไม่มีความใกล้ชิด ไม่มีความคุ้นเคย ไม่มีการช่วยเหลือกัน เหมือนอย่างแต่ก่อน ครับ และอย่างที่ผมบอก ครอบครัวก็กำลังค่อย ๆ อ่อนแอลง
          ถ้าพูดแบบนี้ ท่านคงเห็นจุดแรกเลยนะครับว่า ถ้าท่านจะป้องกันโรคซึมเศร้าได้ หนึ่งในนั้น ก็คือ ทำยังไงให้เกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของละแวกบ้านหรือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมชุมชน ถ้าสถาบันการศึกษา ทำยังไงให้นักศึกษารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษา มีเพื่อน มีครูอาจารย์ที่พูดคุยได้ มีบรรยากาศของความเป็นชุมชน อันนี้ ก็คือ ปัจจัยที่ 1 นะครับ ที่มีผลกับการเกิดเป็นโรคซึมเศร้า

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุโรคซึมเศร้า : ค่านิยมและรูปแบบการทำงานของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป

          ปัจจัยที่สอง ครับ สาเหตุที่สอง ก็คือ ค่านิยมและรูปแบบการทำงานของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปครับ ตอนที่มนุษย์เราทำงานเกษตรหรืออยู่ในช่วงเริ่มต้นเนี่ย คน ๆ หนึ่งจะทำหลากหลายมากนะครับ แต่พอเราพัฒนาเป็นสังคมอุตสาหกรรม แต่ละคนก็จะเริ่มแบ่งหน้าที่กัน การแบ่งหน้าที่นี้ก็ทำให้หลายคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในสายการผลิตจะทำงานเฉพาะหน้าที่ของตัวเองนะครับ การทำหน้าที่ของตัวเอง ก็เป็นสิ่งที่ซ้ำ ๆ เกิดขึ้นเป็นประจำแล้วก็เริ่มเบื่อง่ายขึ้น มันมองไม่เห็นว่างานที่ตัวเองทำอยู่ มันไปก่อให้เกิดผลอะไรดี ๆ กับชีวิตของคนอื่นบ้าง หลายคนต้องทนอยู่กับงานที่ตัวเองไม่ชอบ เพราะมันเป็นแหล่งรายได้ของเขา หลาย ๆ คนก็ยอมทำงานที่ตัวเองไม่รัก โดยหวังว่าจะมีรายได้สูง เพราะเราเอาความสำเร็จในชีวิตมาผูกกับเม็ดเงินที่ได้ ผูกกับรายได้ที่คนเราได้ในแต่ละเดือน ในแต่ละช่วงเวลานะครับ พอเรามีเงิน เราก็ไปซื้อของ และของนี้ก็กลายเป็นสิ่งแสดงสถานะและคุณค่าของเรา คนก็เลยติดกับดักอยู่ตรงนี้ครับ คือในด้านหนึ่ง เขาก็อยากจะมีเงินเยอะ อีกด้านหนึ่งเขาก็ต้องทำงานที่เขาไม่ได้ชอบ หรือบางครั้ง เขาไม่ได้เจอตัวเองด้วยซ้ำ ขณะเดียวกัน เขาก็เห็นคนทั้งหมดอยู่ในโซเชียลมีเดีย ที่มีชีวิตที่ดูเหมือนดีกว่าเขาทั้งนั้นเลย นะครับ ดูเห็นดารามีรายได้ออกงานครั้งหนึ่งเป็นเลข 6 หลัก นะครับ ตัวเลขของคนที่ทำงานบันเทิงสูงนะครับ ขณะที่บางคน รายได้จบปริญญาตรีมา ต่อเดือนยังเอาตัวเองอยู่ไม่ได้พอนะครับ แค่ค่าเช่า ค่าเดินทาง ค่าอาหารก็แทบจะไม่พอแล้วนะครับ ความรู้สึกภูมิใจในงานหายไปนะครับ ซึ่งในความภูมิใจในชีวิตแต่ละวัน ที่เป็นผลจากงาน หรือถ้าเป็นนักเรียน ก็คือ ความภูมิใจในแต่ละวันที่ได้ทำอะไรบางอย่าง ที่เขารู้สึกว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าเนี่ย มันหดหายไปจากชีวิตของคนเราครับ


[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: เจาะลึกสาเหตุของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเอง ตอนที่ 1
เจาะลึกสาเหตุของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเอง ตอนที่ 1
ไขคำตอบสาเหตุสำคัญของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาตัวเอง
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiOU7QtD5cD22mdtiFud00_CWLHd_ptxDpeO5rSosqpCm7ke8U_YPdmgETv_aUz0GLXzQI-SHeMb5NN7aqdddl0lKeC7nPL765aPmZAYHemrayl1KbadObEKCsbLuXvTW0Eu0Sk5p5aEk4/s320/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiOU7QtD5cD22mdtiFud00_CWLHd_ptxDpeO5rSosqpCm7ke8U_YPdmgETv_aUz0GLXzQI-SHeMb5NN7aqdddl0lKeC7nPL765aPmZAYHemrayl1KbadObEKCsbLuXvTW0Eu0Sk5p5aEk4/s72-c/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/08/1.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/08/1.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy