วิธีการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจให้ได้ผล ตามหลักของจิตแพทย์ ตอนที่ 1

การเยียวยาบาดแผลทางจิตใจมีหลายระดับชั้น แต่ละระดับมีวิธีที่แตกต่างกัน


หัวข้อบรรยาย : สี่วิธีเยียวยาจิตใจ ช่วงบรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
                      (จิตเวชศาสตร์ทั่วไป  ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
ช่วงที่เป็นซึมเศร้าแรก ๆ จะอาบน้ำไม่ได้ แปรงฟันไม่ได้ เข้าห้องน้ำก็จะคิดแต่เรื่องที่เครียด และจมอยู่กับปัญหา ไม่สามารถหยุดความคิดได้ ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้คิด
          สวัสดีครับ ผมหมอประเวช เป็นจิตแพทย์ครับ เราพบกันทุกคืน วันอาทิตย์เวลา 20:00 น. สำหรับคืนวันนี้ วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พุทธศักราช 2562 เรานัดกันในหัวข้อ "4 วิธีเยียวยาจิตใจ" นะครับ ที่จริงเวลาผมตั้งหัวข้อ ว่า 4 วิธี มันก็ไม่เชิงเป็น 4 วิธี นะครับ มันเป็น 4 ระดับของการเยียวยาจิตใจ แต่ละระดับมีหลากหลายวิธี นะครับ แต่ถ้าผมเขียนชื่อว่า 4 ระดับการเยียวยาจิตใจ คนอาจจะงงกัน ก็เลยใช้คำให้ง่าย ๆ หน่อยหนึ่ง ว่าเป็น 4 วิธี นะครับ
          ซึ่งเราก็จะคุยกันในหัวข้อภายใต้โจทย์คำถามหลักข้อหนึ่ง นะครับ ว่าเวลาที่เรามีสิ่งรบกวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ หรือเรื่องใหญ่ ๆ เนี่ย เรามีกระบวนการเยียวยาจิตใจตัวเองได้ยังไง ซึ่งกระบวนการเยียวยาจิตใจที่หลากหลายเนี่ย ผมก็จัดหมวดหมู่เป็น 4 ระดับความลึกซึ้งของการเยียวยา นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่เราเลิกกับคนรัก หรือคนรักไปมีกิ๊ก หรือเรามีหนี้สินที่เราไม่ได้คาดคิด แล้วเราต้องแก้ไข เราพบว่าตัวเองเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือจะเป็นปัญหาสุขภาพอื่น ๆ นะครับ ตกงานก็ได้ ครับ คือทุก ๆ เรื่องของชีวิตที่มันเป็นโจทย์ที่กระทบจิตใจของเราเนี่ย เราจะเยียวยามันได้ยังไง นะครับ ซึ่งกระบวนการเยียวยานี้ แต่ละคนก็จะมีบทเรียนมีเทคนิควิธีการของตัวเอง แต่ในการคุยกันคราวนี้ผมก็หวังว่า ผมจะจัดระบบเพื่อให้ท่านเข้าใจว่า ถ้าท่านมีวิธีการที่ใช้แล้ว เป็นของใช้วิธีการประจำตัว นะครับ ถ้าท่านอยากจะลองวิธีใหม่ ๆ จะใช้วิธีคิดอะไร เพื่อค้นหาวิธีใหม่ ๆ นั้น นะครับ ซึ่งนี้ก็คือหัวข้อที่เราจะคุยกันในคืนวันนี้
          โดยจะแบ่งเนื้อหา เป็นการคุยกันเหมือนเดิม คือ 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกเป็นการบรรยายเนื้อหา ช่วงที่ 2 เป็นการตอบคำถาม นะครับ หัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อที่ผมนำไปบรรยายให้กับกลุ่มอาสาสมัครคนไทยจากหลากหลายประเทศที่มารวมตัวกัน เขาบินกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดแล้วก็ใช้เวลาประมาณ 4 วัน ไปรวมตัวกันในโรงแรม เพื่อเข้าร่วมการอบรมตลอด 4 วันเต็มนะครับ โดยผมได้ไปทำหน้าที่ให้ในครั้งนี้น้อยกว่าปกติหน่อยหนึ่ง ประมาณวันครึ่งจาก 4 วัน งานก็มีเจ้าภาพ คือ กระทรวง พม. นะครับ ที่เราเรียกกันย่อ ๆ แล้วก็มีคนไทยจากหลายประเทศมากเลยครับ ญี่ปุ่นมา 10 กว่าคน ยุโรปมา หลากหลายประเทศ อีกประมาณสัก 20-30 คน นะครับเพราะมาหลายประเทศ แล้วก็มีออสเตรเลีย มีอังกฤษ ยุโรป นี่ผมจำได้ไม่หมดเลยนะครับ ก็ถ้าท่านที่เข้าร่วมอบรมฟังอยู่ แล้วผมไม่ได้กล่าวชื่อประเทศที่ท่านมา ต้องขออภัยครับ
          ผมจะเริ่มต้นแบบนี้ครับ ผมอยากจะให้คุณลองทบทวนดูนะครับ ว่าเวลาที่คุณมีเรื่องราวที่รบกวนใจ แล้วคุณรู้สึกว่า คุณต้องการกระบวนการเยียวยา กระบวนการดูแลจิตใจ ส่วนใหญ่แล้ว คุณนึกถึงวิธีการอะไรครับ และวิธีการที่คุณนึกถึงก็จะมีส่วนคล้ายคลึงกันกับวิธีการที่คนหลายคนส่งมาให้ผม นะครับ ซึ่งก็มีตัวอย่างที่ดี ให้เห็นถึงภาพรวมเลยนะครับกับตัวอย่างที่ทำให้เห็นถึงแนวโน้มของคน ที่เวลาพูดถึงการเยียวยาเนี่ย จะไปทำอะไรบ้าง ขออนุญาตยกตัวอย่าง ตัวอย่างหนึ่ง นะครับ ซึ่งก็เป็นตัวอย่างของสมาชิกท่านหนึ่ง ที่ส่งเข้ามา เขาบอกว่า ช่วงที่เป็นซึมเศร้าแรก ๆ จะอาบน้ำไม่ได้ แปรงฟันไม่ได้ เข้าห้องน้ำก็จะคิดแต่เรื่องที่เครียด และจมอยู่กับปัญหา ไม่สามารถหยุดความคิดได้ ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้คิด   สิ่งที่เคยเป็นความสามารถเดิม เช่น การคิดเลขในใจ ก็ไม่สามารถทำได้ สูตรคูณที่จำได้ก็ลืม มันท่องไม่คล่อง เหม่อลอย ร้องไห้กับคำพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่น่าจะมีความอ่อนไหวทางอารมณ์ขนาดนั้น แล้วก็นอนนิ่งเฉย ๆ ไม่อยากเจอผู้คน ซึ่งนี้ก็เป็นอาการของคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
          แต่สำหรับสมาชิกท่านนี้ เขาก็พูดว่า แต่เพราะรู้สึกว่าตัวทุกข์มาก เรา เพราะเราอยากหยุดคิด และอยากทำในสิ่งที่อยากทำ แต่ทำไม่ได้ ประกอบกับรู้ว่าตัวเองอายุไม่น้อยแล้ว คือ 38 ปี มีคำถามในใจว่า เราจะอยู่อย่างไรให้มีความสุข กว่าจะถึงวันตาย นะครับ อยากจะมีความสุขเป็น ดังนั้น ก็เลยนึกถึงสิ่งที่คุณแม่เคยแนะนำ ว่าให้สวดมนต์ก่อนนอน นะครับ ก็เลยมาเริ่มต้นสวดมนต์ก่อนนอน แล้วก็ฟังธรรมะทุกคืน ในช่วงเวลาที่เขารู้สึกแย่ ๆ ก็จะฟัง นะครับ แล้วก็มาเริ่มเรียนรู้เนื้อหาส่วนหนึ่งจาก Live ในเพจในรายการนี้ ก็ไปเริ่มต้นออกกำลังกาย พอออกกำลังกายก็รู้สึกมีพลัง แล้วก็รู้สึกดี แล้วก็ดีขึ้น อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง แต่ที่เขาทำเนี่ยเป็นระดับพฤติกรรม นะครับ ขออภัยอยู่ ๆ ก็เคืองคอ นะครับ คุณล่ะครับ เวลาที่คุณมีเรื่องราวรบกวนใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องโรคซึมเศร้า นะครับ คุณใช้วิธีไหนครับ แต่ถ้าจะให้ผมแบ่ง 4 ระดับความลึก ผมจะแบ่งแบบนี้ครับ

วิธีการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจระดับที่ 1 คือ การเลือกออกแบบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับตัวเรา

          ระดับที่ 1 ก็คือ เราเลือกจัดสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยเราในการเยียวยาจิตใจของเรา เรื่องของสิ่งแวดล้อม ก็คือ เราจะไปอยู่สถานที่แบบไหน เราจะอยู่กับใคร ตัวนี้มีผลกับสภาพจิตใจของเราครับ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลย ก็คือว่า ถ้าคุณไปในที่ธรรมชาติ แล้วคุณเห็นต้นไม้สีเขียวหรือเห็นท้องทะเล เห็นแสงแดด ได้ยินเสียงลมพัด สูดอากาศได้เต็มปอด ธรรมชาตินี่มีฤทธิ์ในการเยียวยาโดยตัวมันเอง สิ่งแวดล้อมแบบนี้ก็เป็นวิธียาแบบง่ายที่สุด และก็เป็นชั้นที่ผิวที่สุดนะครับ เพราะว่า 4 ชั้นที่ผมกำลังจะเล่า จะลงลึกไปเรื่อย ๆ นะครับ คุณอยู่กับใครนะครับ ถ้าคุณอยู่กับคนที่เข้าใจ รับฟัง ไม่กล่าวโทษ ไม่ชี้แนะให้มากเกิน แล้วก็ให้กำลังใจ คุณก็จะรู้สึกได้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ถ้าคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อยู่กับคนที่คุณไปรักเขา แต่ความสัมพันธ์ทำให้คุณรู้สึกแย่กับตัวเอง ยิ่งอยู่ด้วยกันคุณก็ยิ่งรู้สึกแย่ แบบนี้ก็แปลว่าสิ่งแวดล้อมนั้นให้โทษกับคุณ
          ผมมีเพื่อนคนหนึ่ง เขาป่วยเป็นซึมเศร้า ซึ่งเขาก็ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน รวมถึงการกินยานะครับ แต่หลังจากที่เขาพอดีขึ้นบ้างแล้ว เขาก็ตัดสินใจย้ายที่ทำงาน เขาก็เล่าให้ผมฟังว่า การเปลี่ยนที่ทำงานเนี่ย เขาพบเลยว่า มันมีผลกับเขามาก ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม มันทำให้ใจของเขา มันเบาขึ้นเยอะนะครับ ดังนั้น การเยียวยาตัวเองขั้นที่ 1 ที่ง่ายที่สุด แต่บางคนก็ยังอาจจะทำไม่ได้ดีนัก ก็คือ การเลือกออกแบบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับตัวเรา ที่เอื้อให้เรา กลับมาอยู่กับตัวเองอย่างสงบ สามารถที่จะอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มีความเข้าใจ หรือห่างไกลจากผู้คนสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เราได้เรียบเรียงความคิด ได้กลับมาทบทวนโจทย์ต่าง ๆ ที่กำลังเข้ามากระทบชีวิตของเรานะครับ การเยียวยานี้ เป็นหน้าที่ของเราเอง ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นนะครับ ถ้าเรามีโจทย์ภายในใจเรา เราต้องรับผิดชอบที่จะออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับตัวเรา

โปรดอ่านต่อในตอนที่ 2

[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: วิธีการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจให้ได้ผล ตามหลักของจิตแพทย์ ตอนที่ 1
วิธีการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจให้ได้ผล ตามหลักของจิตแพทย์ ตอนที่ 1
การเยียวยาบาดแผลทางจิตใจมีหลายระดับชั้น แต่ละระดับมีวิธีที่แตกต่างกัน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgS-dmyYy6jA5q5P-6IsD8LPmV8rHIEaiB6CqcizKYnP31V2rurvfmHwHkEHyNIM8WplRisxQkv-p313Z57S-SH6p9ah5iEs1wcod6UIUmh40OfvYxmY9SkyScclilfQNkBuSEvFEBsUpU/s320/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2588-1.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgS-dmyYy6jA5q5P-6IsD8LPmV8rHIEaiB6CqcizKYnP31V2rurvfmHwHkEHyNIM8WplRisxQkv-p313Z57S-SH6p9ah5iEs1wcod6UIUmh40OfvYxmY9SkyScclilfQNkBuSEvFEBsUpU/s72-c/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2588-1.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/08/1_8.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/08/1_8.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy