การปรับสิ่งแวดล้อมแล้วปรับพฤติกรรมต่อมาก็ปรับวิธีคิดและการกำหนดเป้าหมายในชีวิต
หัวข้อบรรยาย : สี่วิธีเยียวยาจิตใจ ช่วงบรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
(จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
ดังนั้น สามชั้นแรกนี่มันเชื่อมถึงกันนะครับ เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ใจเราก็สงบ เราก็มีแรงไปเดินออกกำลังกาย 3 ชั้นนี่มันส่งผลถึงกัน นะครับ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี อยู่ในที่ธรรมชาติก็เป็นชั้นที่ 1 ระดับที่ 1 ทำให้จิตใจเราสงบลง ก็เป็นระดับที่ 2 และขณะเดียวกัน เราก็มีความรู้สึกอยากสัมผัสธรรมชาติ อยากเดิน อันนี้ก็เป็นย้อนกลับมาที่ระดับพฤติกรรม นะครับ
สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิด ก็เป็น 3 อันดับแรก โดยที่สิ่งแวดล้อม คือ เราออกแบบสิ่งแวดล้อมที่ดีกับการที่เราจะฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยทั่วไป ก็คือ ธรรมชาติและผู้คนที่เข้าใจ ส่วนพฤติกรรม ก็คือ ทำสิ่งที่ดีกับร่างกายและจิตใจของเรา อาจารย์ของผม ที่เป็นอาจารย์สอนด้านจิตบำบัด เขาก็ใช้วิธีฟื้นฟูพลังด้วยการฟังเพลงคลาสสิค เขาก็เล่าว่า เขาไม่ได้ทำสมาธิ แต่เขาฟังเพลงคลาสสิค แล้วเวลาที่เขาฟังเพลงคลาสสิค เขาก็เข้าไปในโลกของดนตรี นี้เป็นฝรั่งนะครับ เป็นชาวแคนาดา จริง ๆ ก่อนหน้านั้นเขาอยู่ในยุโรป แล้วย้ายไปแคนาดา นั่นคือ ระดับการกระทำส่งผลต่อระดับสภาพจิตใจ หรือความรู้สึกนึกคิด นะครับ
อันนี้คือ 3 ชั้นแล้วนะครับ ซึ่งในแต่ละชั้นนี้เนี่ยนะครับ ในชั้นที่ 1 คือ อยู่ที่ไหนอยู่กับใคร ชั้นที่ 2 คือ ทำอะไร ส่วน ชั้นที่ 3 ที่ผมกำลังพูดถึงความรู้สึกนึกคิดเนี่ย หลัก ๆ ง่าย ๆ ก็คือ เรากำลังคิดอะไรอยู่ในใจครับ เราหยุดพักความคิดหรือเรากำลังคิดในมุมที่ทำให้เรารู้สึกแย่ หรือเรากำลังคิดในมุมที่ทำให้เรารู้สึกดีแล้วมีกำลังใจ
โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ เวลาที่บอกว่า เยียวยาจิตใจตัวเอง มักจะนึกถึง 2 ชั้นแรก เพราะมันเห็นได้จับต้องได้ เช่น จัดสิ่งแวดล้อม ลงมือทำอะไรบางอย่างครับ แต่จริง ๆ ตัวที่มีผลกับการเยียวยามาก ๆ ก็คือ ความรู้สึกนึกคิดภายในใจของเรา ซึ่งผมก็ได้เล่าไปแล้วว่า อยู่ในที่ธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อม ก็จะทำให้เรารู้สึกโปร่งโล่ง สงบลง ความคิดนิ่งขึ้น อารมณ์สงบผ่อนคลาย เราก็ไปทำสิ่งดี ๆ ได้ดีขึ้น นี่คือ 3 ชั้นที่ส่งผลถึงกันนะครับ
ดังนั้น เวลาที่ท่านนึกถึงการเยียวยาเนี่ย พยายามอย่ามองแต่ชั้นของสิ่งแวดล้อมและชั้นของพฤติกรรมนะครับ การเยียวยาในกรณีของการทำจิตบำบัดเนี่ย เราอาจจะคุยเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้ เราอาจจะคุยเรื่องพฤติกรรมก็ได้ แต่เวลาส่วนใหญ่ในกระบวนการทำจิตบำบัดจะลงไปที่การปรับระบบความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด ด้วยการหยิบเอาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมากางให้เห็น แล้วก็เมื่อเราเห็น ความคิดของเรา เราจะเริ่มเห็นเองครับ ว่า “โอ๊ย! ความคิดแบบนี้เนี่ยมันพาเราไปยังไง” นะครับ แล้วก็เริ่มต้นเรียนรู้ที่จะจัดการความรู้สึกนึกคิดในใจได้ดีขึ้น แม้แต่คนที่พยายามจะทำการคิดบวกหรือคนที่พยายามจะไปเลือกการทำเทคนิคต่าง ๆ ก็เป็นความพยายามจะมาแก้ที่ระบบความคิด ความเชื่อตัวนี้ ครับ
แล้ว 4 ชั้นนี้มันก็เชื่อมถึงกัน ซึ่งเดี๋ยวผมจะขอยกตัวอย่าง เพื่อขยายความดูว่า อย่างกรณีโรคซึมเศร้าหรือคนที่ซึมเศร้าเนี่ย 4 ชั้นนี้ทำอะไรได้บ้าง 4 ชั้นนี้ ก็คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ที่ไหนอยู่กับใคร พฤติกรรมจะทำอะไร กับความรู้สึกนึกคิดที่จะคิดยังไงดี ถึงจะเอื้อต่อการเดินหน้าต่อ แล้วก็ความปรารถนา ความต้องการลึก ๆ คือ เราต้องการอะไร และเราจะทำสิ่งต่าง ๆ ไปเพื่ออะไร เป็นคำถามใหญ่ประจำชีวิต
คราวนี้กรณีของคนเป็นซึมเศร้า ก็มีการเยียวยาได้ทั้ง 4 ระดับครับ จริง ๆ แล้ว โจทย์ทุกข้อในชีวิต เราสามารถเยียวยาได้ทั้ง 4 ระดับครับ แล้วเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราสามารถเยียวยาได้ทั้ง 4 ระดับ คุณจะพบว่า พลังขับเคลื่อนในการเยียวยาจะยิ่งสูง ดังนั้น ผมจะลองยกตัวอย่าง กรณีซึมเศร้าดู นะครับ กรณีซึมเศร้าเนี่ย สิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง ที่มีงานวิจัยที่บอกว่าดีกับคนเป็นโรคซึมเศร้า อยู่กับธรรมชาติดีไหม คนจำนวนหนึ่งจะรู้สึกว่าอยู่กับธรรมชาติและจิตใจสงบลง ซึ่งอันนี้เป็นการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม การรู้จักเลือกคบคนก็มีผลกับอารมณ์ของเรานะครับ การมีสายสัมพันธ์ที่เกื้อกูล ซึ่งตรงนี้ก็คือ เรื่องของความสัมพันธ์นะครับ
งานวิจัยในเรื่องของการรักษาโรคซึมเศร้า สกุลบำบัดหนึ่ง ก็คือ กระบวนการฝึกให้มีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพที่ดี เพราะเวลาที่เรามีคนรอบตัวที่เข้าใจและเกื้อกูลกันมันเป็นความอุ่นใจ มันช่วยคลายเหงา ดังนั้น เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมาก คนซึมเศร้ายังต้องการกัลยาณมิตร อันนี้ คือ สิ่งแวดล้อม เพียงแต่บางครั้งเนี่ย คนซึมเศร้ามีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้คนรอบข้างรู้สึกรำคาญได้ จากที่เราเคยคุยกันไป เพราะเขาไปจมอยู่กับความรู้สึกนึกคิดนะครับ แต่ในชั้นภายนอกเนี่ย ให้รู้เลยว่า การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี จะช่วยเรื่องอารมณ์ได้ ไม่มากก็น้อยครับ
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
(จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
โดยส่วนใหญ่ ในกระบวนการทำจิตบำบัดจะลงไปที่การปรับระบบความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด ด้วยการหยิบเอาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมากางให้เห็น แล้วก็เมื่อเราเห็นความคิดของเราแล้ว เราก็จะเริ่มต้นเรียนรู้ที่จะจัดการความรู้สึกนึกคิดในใจได้ดีขึ้นอย่างหนึ่งที่พบบ่อย ก็คือ บางครั้งผู้หญิงที่อยู่ในความสัมพันธ์กับผู้ชายที่เธอถูกทำให้รู้สึกแย่ และถูกทำร้าย ร่างกายผู้หญิงจำนวนหนึ่ง ไม่สามารถที่จะเอาตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมนั้นได้ นะครับ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะมันมีโจทย์ที่เป็นปมที่ต้องเยียวยาที่อยู่ลึกไปกว่านั้น แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีปมลึกซึ้งมาก ๆ โดยทั่วไปแล้วก็มักจะตระหนักว่าการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมจะช่วยได้มาก นะครับ ซึ่งตัวอย่างเมื่อสักครู่นี้ ที่ได้เล่าให้ฟัง ตัวอย่างแรกไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใช่ไหมครับ เขาเปลี่ยนที่พฤติกรรม ซึ่งเขาไปสวดมนต์ ที่เมื่อกี้เล่าถึงคุณผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งมีอาการแบบซึมเศร้า แล้วก็เริ่มสวดมนต์ฟังธรรมะ ต่อมาก็เริ่มออกกำลังกาย และก็อ่านหนังสือธรรมะ เนี่ยนะครับ
วิธีการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจระดับที่ 2 คือ การเปลี่ยนพฤติกรรม ทำในสิ่งที่เรารู้ว่าดีกับตัวเอง
คราวนี้ก็คือ ระดับที่ 2 ของการเยียวยาตัวเองครับ ระดับที่ 2 นี้ ก็คือ เราเริ่มลงมือทำในสิ่งที่เรารู้ว่าดีกับตัวเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ก็หมายถึง การดูแลตัวเองทางร่างกายให้ดี นอนให้พอ กินให้ดี ออกกำลังกาย นะครับ พวกนี้เนี่ยหลายคนเล่าให้ฟังว่า พอทำแบบนี้แล้ว พลังมันกลับฟื้นฟูขึ้นมา รวมถึงพฤติกรรมอื่น เช่น ฟังเพลง สวดมนต์ ออกไปพบปะเพื่อนฝูง ออกไปเดิน เจอแสงแดด แล้วก็มีสมาชิกท่านหนึ่งเขียนมาว่า คุณหมอแนะนำให้ไปทำอะไรก็ได้ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายนะครับ ซึ่งการเลือกทำอะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ก็เป็นการเยียวยาตัวเองอย่างหนึ่ง บางคนก็อาจจะเลือกการทำสมาธิหรือสวดมนต์ฟังธรรม อันนี้คือ เรื่องระดับพฤติกรรมนะครับ เพียงแต่ระดับพฤติกรรมนี้เนี่ย เวลาที่เราทำมันจะส่งผลกระทบต่อไปในระดับที่ลึกไปกว่านั้นอีกชั้นหนึ่งวิธีการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจระดับที่ 3 คือ การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ วิธีคิด
ก็คือ ระดับที่ 3 เรื่องของความรู้สึกนึกคิดหรือสภาพจิตใจนั่นเอง นะครับ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราทำสมาธิ สวดมนต์ ฟังธรรมเนี่ย นะครับ มันจะมีผลต่อระบบความคิดของเรา เช่น เราอาจจะพักจากความคิดที่ว้าวุ่นใจลง สับสน แล้วเราก็ถอยออกมาได้ การถอยออกมามีใจที่สงบ ก็ช่วยให้เรามองเห็นปัญหาได้ชัดขึ้น ก็ทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นดังนั้น สามชั้นแรกนี่มันเชื่อมถึงกันนะครับ เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ใจเราก็สงบ เราก็มีแรงไปเดินออกกำลังกาย 3 ชั้นนี่มันส่งผลถึงกัน นะครับ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี อยู่ในที่ธรรมชาติก็เป็นชั้นที่ 1 ระดับที่ 1 ทำให้จิตใจเราสงบลง ก็เป็นระดับที่ 2 และขณะเดียวกัน เราก็มีความรู้สึกอยากสัมผัสธรรมชาติ อยากเดิน อันนี้ก็เป็นย้อนกลับมาที่ระดับพฤติกรรม นะครับ
สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิด ก็เป็น 3 อันดับแรก โดยที่สิ่งแวดล้อม คือ เราออกแบบสิ่งแวดล้อมที่ดีกับการที่เราจะฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยทั่วไป ก็คือ ธรรมชาติและผู้คนที่เข้าใจ ส่วนพฤติกรรม ก็คือ ทำสิ่งที่ดีกับร่างกายและจิตใจของเรา อาจารย์ของผม ที่เป็นอาจารย์สอนด้านจิตบำบัด เขาก็ใช้วิธีฟื้นฟูพลังด้วยการฟังเพลงคลาสสิค เขาก็เล่าว่า เขาไม่ได้ทำสมาธิ แต่เขาฟังเพลงคลาสสิค แล้วเวลาที่เขาฟังเพลงคลาสสิค เขาก็เข้าไปในโลกของดนตรี นี้เป็นฝรั่งนะครับ เป็นชาวแคนาดา จริง ๆ ก่อนหน้านั้นเขาอยู่ในยุโรป แล้วย้ายไปแคนาดา นั่นคือ ระดับการกระทำส่งผลต่อระดับสภาพจิตใจ หรือความรู้สึกนึกคิด นะครับ
อันนี้คือ 3 ชั้นแล้วนะครับ ซึ่งในแต่ละชั้นนี้เนี่ยนะครับ ในชั้นที่ 1 คือ อยู่ที่ไหนอยู่กับใคร ชั้นที่ 2 คือ ทำอะไร ส่วน ชั้นที่ 3 ที่ผมกำลังพูดถึงความรู้สึกนึกคิดเนี่ย หลัก ๆ ง่าย ๆ ก็คือ เรากำลังคิดอะไรอยู่ในใจครับ เราหยุดพักความคิดหรือเรากำลังคิดในมุมที่ทำให้เรารู้สึกแย่ หรือเรากำลังคิดในมุมที่ทำให้เรารู้สึกดีแล้วมีกำลังใจ
โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ เวลาที่บอกว่า เยียวยาจิตใจตัวเอง มักจะนึกถึง 2 ชั้นแรก เพราะมันเห็นได้จับต้องได้ เช่น จัดสิ่งแวดล้อม ลงมือทำอะไรบางอย่างครับ แต่จริง ๆ ตัวที่มีผลกับการเยียวยามาก ๆ ก็คือ ความรู้สึกนึกคิดภายในใจของเรา ซึ่งผมก็ได้เล่าไปแล้วว่า อยู่ในที่ธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อม ก็จะทำให้เรารู้สึกโปร่งโล่ง สงบลง ความคิดนิ่งขึ้น อารมณ์สงบผ่อนคลาย เราก็ไปทำสิ่งดี ๆ ได้ดีขึ้น นี่คือ 3 ชั้นที่ส่งผลถึงกันนะครับ
ดังนั้น เวลาที่ท่านนึกถึงการเยียวยาเนี่ย พยายามอย่ามองแต่ชั้นของสิ่งแวดล้อมและชั้นของพฤติกรรมนะครับ การเยียวยาในกรณีของการทำจิตบำบัดเนี่ย เราอาจจะคุยเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้ เราอาจจะคุยเรื่องพฤติกรรมก็ได้ แต่เวลาส่วนใหญ่ในกระบวนการทำจิตบำบัดจะลงไปที่การปรับระบบความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด ด้วยการหยิบเอาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมากางให้เห็น แล้วก็เมื่อเราเห็น ความคิดของเรา เราจะเริ่มเห็นเองครับ ว่า “โอ๊ย! ความคิดแบบนี้เนี่ยมันพาเราไปยังไง” นะครับ แล้วก็เริ่มต้นเรียนรู้ที่จะจัดการความรู้สึกนึกคิดในใจได้ดีขึ้น แม้แต่คนที่พยายามจะทำการคิดบวกหรือคนที่พยายามจะไปเลือกการทำเทคนิคต่าง ๆ ก็เป็นความพยายามจะมาแก้ที่ระบบความคิด ความเชื่อตัวนี้ ครับ
วิธีการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจระดับที่ 4 คือ การค้นหาตัวเองให้พบ เราควรทำอะไร เพื่ออะไร
แต่มันมีระดับของการเยียวยาอีกชั้นหนึ่งที่ลึกกว่านั้น ซึ่งระดับนี้เนี่ย มันเป็นเรื่องของความต้องการลึก ๆ ภายในใจของเรา ที่เป็นฐานที่ลึกไปกว่าความรู้สึกนึกคิดที่เรารับรู้ได้ นะครับ มันเป็นเรื่องของความปรารถนาภายในใจ ซึ่งคำถามใหญ่ข้อนี้ ก็คือ เราต้องการอะไร แล้วที่เราทำอยู่นี้ เราจะทำไปเพื่ออะไร คำถามประเภทว่า เพื่ออะไรหรือต้องการอะไรเนี่ย หลายคนไม่ค่อยมีเวลาได้ใช้ ได้ใช้ตัวเองอยู่กับสภาวะของการตั้งคำถามระดับลึกมากขึ้น ลงไปตรงนี้ นะครับ แต่เมื่อเราตระหนักชัด ว่าเราต้องการอะไรในชีวิต เมื่อเราตระหนักชัดว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เราทำอยู่ เราจะทำไปเพื่ออะไร และทำให้เราพร้อมที่จะทิ้งการกระทำบางอย่างลงพร้อมที่จะเริ่มต้นทำอะไรบางอย่าง ที่เรารู้ดีว่าจะตอบความต้องการในใจเราได้ดีกว่านี้ ตรงนี้ก็จะทำให้เราเข้าถึงแหล่งพลังภายใน ซึ่งชั้นนี้เป็นชั้นที่ผมพบว่า การจะมาเยียวยาถึงชั้นนี้ได้มักจะต้องผ่านเวลาที่ยาวนานพอสมควร ถ้าทำด้วยตัวเองนะครับ แต่ถ้าทำโดยมีผู้ช่วยเหลือ คือ คนที่เข้าใจเรื่องของกลไกทางจิตและสามารถช่วยทำการทำจิตบำบัดได้ กระบวนการนี้ก็อาจจะใช้เวลาสั้นลงครับแล้ว 4 ชั้นนี้มันก็เชื่อมถึงกัน ซึ่งเดี๋ยวผมจะขอยกตัวอย่าง เพื่อขยายความดูว่า อย่างกรณีโรคซึมเศร้าหรือคนที่ซึมเศร้าเนี่ย 4 ชั้นนี้ทำอะไรได้บ้าง 4 ชั้นนี้ ก็คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ที่ไหนอยู่กับใคร พฤติกรรมจะทำอะไร กับความรู้สึกนึกคิดที่จะคิดยังไงดี ถึงจะเอื้อต่อการเดินหน้าต่อ แล้วก็ความปรารถนา ความต้องการลึก ๆ คือ เราต้องการอะไร และเราจะทำสิ่งต่าง ๆ ไปเพื่ออะไร เป็นคำถามใหญ่ประจำชีวิต
คราวนี้กรณีของคนเป็นซึมเศร้า ก็มีการเยียวยาได้ทั้ง 4 ระดับครับ จริง ๆ แล้ว โจทย์ทุกข้อในชีวิต เราสามารถเยียวยาได้ทั้ง 4 ระดับครับ แล้วเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราสามารถเยียวยาได้ทั้ง 4 ระดับ คุณจะพบว่า พลังขับเคลื่อนในการเยียวยาจะยิ่งสูง ดังนั้น ผมจะลองยกตัวอย่าง กรณีซึมเศร้าดู นะครับ กรณีซึมเศร้าเนี่ย สิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง ที่มีงานวิจัยที่บอกว่าดีกับคนเป็นโรคซึมเศร้า อยู่กับธรรมชาติดีไหม คนจำนวนหนึ่งจะรู้สึกว่าอยู่กับธรรมชาติและจิตใจสงบลง ซึ่งอันนี้เป็นการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม การรู้จักเลือกคบคนก็มีผลกับอารมณ์ของเรานะครับ การมีสายสัมพันธ์ที่เกื้อกูล ซึ่งตรงนี้ก็คือ เรื่องของความสัมพันธ์นะครับ
งานวิจัยในเรื่องของการรักษาโรคซึมเศร้า สกุลบำบัดหนึ่ง ก็คือ กระบวนการฝึกให้มีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพที่ดี เพราะเวลาที่เรามีคนรอบตัวที่เข้าใจและเกื้อกูลกันมันเป็นความอุ่นใจ มันช่วยคลายเหงา ดังนั้น เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมาก คนซึมเศร้ายังต้องการกัลยาณมิตร อันนี้ คือ สิ่งแวดล้อม เพียงแต่บางครั้งเนี่ย คนซึมเศร้ามีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้คนรอบข้างรู้สึกรำคาญได้ จากที่เราเคยคุยกันไป เพราะเขาไปจมอยู่กับความรู้สึกนึกคิดนะครับ แต่ในชั้นภายนอกเนี่ย ให้รู้เลยว่า การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี จะช่วยเรื่องอารมณ์ได้ ไม่มากก็น้อยครับ
[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]