เจาะลึกสาเหตุของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเอง ตอนที่ 3 (จบ)

สารเคมีในสมองไม่ใช่เป็นปัจจัยต้นเหตุของโรคซึมเศร้ม

หัวข้อบรรยาย : ห้าสาเหตุสำคัญของโรคซึมเศร้า ที่ไม่ใช่เรื่องสารเคมีในสมอง บรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
                      (จิตเวชศาสตร์ทั่วไป  ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์มีอิทธิพลทำเกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานในระบบร่างกายเรา ซึ่งทำให้สารเคมีในสมองรวนไปได้
      บางครั้งเหตุการณ์ อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจเลย นะครับ ผมจะยกตัวอย่างเช่น ผมมีโอกาสให้การปรึกษากับคน ๆ หนึ่ง ซึ่งเขาเล่าว่า เขาเติมโตมาในบ้านที่แม่ เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว แล้วแม่เลี้ยงเดี่ยวนี้เนี่ย ตอนที่แม่ตั้งครรภ์เขาอายุยังไม่ถึง 20 แล้วเขาอยู่ในสังคมตะวันตก ในการที่แม่เขาต้องทำงาน นะครับ ก็จะไม่มีเวลาให้เขาเลย แล้วแน่นอนครับ แม่เขาอายุน้อย ก็ยังอยากจะสนุก อยากจะไปเที่ยวกับเพื่อน ดังนั้น ในวัยเด็กของเขาก็เป็นวัยเด็กที่ขาดแคลน เหมือนเด็กถูกทอดทิ้ง นะครับ โตมาเขาก็มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะบุคลิกแบบหนึ่ง และก็โจทย์ข้อหนึ่งที่เขาเจอบ่อย ก็คือ การยอมคนอื่นมาก คู่กันกับการดื่ม แล้วก็คู่กันกับปัญหาที่เหมือนมีอาการซึมเศร้าเรื้อรังอยู่ในใจเขา นะครับ
          อีกคนหนึ่งครับ คนนี้เป็นคนไทย เขาเล่าให้ฟังว่า ตอนเขาอายุประมาณใกล้ ๆ จะเข้าเด็กประถมหรือเด็กประถมตอนต้น เขาจำไม่ได้แน่ เขาผิดสั่งแม่คำหนึ่ง แล้วแม่ไล่ออกจากบ้าน จับไปวางหน้าบ้าน แล้วก็ไล่บอกให้ไป นะครับ ตอนนั้นเนี่ย แม่ก็คงอารมณ์เสีย นะครับ แต่แม่ส่วนใหญ่อารมณ์เสียเนี่ย เพราะห่วงลูก และโกรธลูกเพราะอารมณ์เสีย เพราะแม่จัดการอารมณ์ตัวเองไม่เป็น แต่ลูกเนี่ยถูกผลกระทบที่รุนแรงมาก นะครับ เหตุการณ์ประเภทนี้ ในแต่ละครั้ง แต่ละครั้งเนี่ย มันจะฝังเข้าไป กลายเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำที่จะโผล่ขึ้นมาบ่อย ๆ และความทรงจำที่เป็นปมค้างใจเรานี้ ก็กลายเป็นตัวที่มากระตุ้น ให้อารมณ์ของเขา ถูกดึงลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อมีความเครียดจากอะไรก็ตาม เข้ามาในชีวิต ก็จะเข้าสู่กระบวนการของการเกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ นะครับ
          สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่า ตัวเองมีปมค้างใจหรือเปล่า ท่านอาจจะสังเกตดูว่ามีความทรงจำอะไรโผล่เข้ามาบ่อยไหม นะครับ แต่ต้องบอกอย่างหนึ่งนะครับ มีบางคนเข้าใจผิด คิดว่า ถ้าเราจำเหตุการณ์ได้ แปลว่า เราแก้ปัญหาได้แล้ว ผมเคยเจอคน ๆ หนึ่ง เขาบอกว่า อ๋อ ดิฉันจำได้แล้ว ตอนเด็ก ๆ เนี่ย เกิดอย่างเกิดเหตุการณ์นั้น เหตุการณ์นี้ แล้วเขาเข้าใจว่าการจำได้ คือ การแก้ปัญหาแล้ว อันนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง นะครับ การจำได้ มันเป็นเพียงการจำเหตุการณ์บางเหตุการณ์ได้ครับ แต่ปมที่มันอยู่ในจิตใต้สำนึกเนี่ย ยังไม่ได้ถูกคลี่คลาย นะครับ และขณะเดียวกัน ถ้าท่านจำเหตุการณ์อะไรไม่ได้เลย ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีปมนะครับเพราะปมบางปมก็เก็บอยู่ใต้จิตสำนึกจริง ๆ นะครับ
          ดังนั้น 5 ปัจจัยนี้ นะครับ ก็คือ ทั้งการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ นะครับ ทั้งการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบงานและค่านิยมในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตที่ห่างไกลจากความเป็นธรรมชาติของระบบชีวภาพของมนุษย์เรา การมีระบบคิดและการจัดการปัญหา ที่ไม่เอื้อต่อการเอาชนะอุปสรรคหรือเสี่ยงต่อการที่จะรู้สึกท้อแท้เนี่ยนะครับและการมีปมค้างใจ ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุ ที่มาผสมและทำให้เรามีอาการซึมเศร้าครับ อย่างที่บอกนะครับว่า 3 สาเหตุแรก อาจจะรู้สึกว่า เราทำอะไรไม่ได้โดยตรงจากฟากของเรา โดยเฉพาะกระแสของประเทศต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ที่เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจเนี่ย ก็พบว่า มันก่อให้เกิดปัญหาสังคมและปัญหาสุขภาพจิตกันเยอะมาก มีกระแสใหม่กระแสหนึ่ง ที่ผมหวังว่า ประเทศไทยเราจะสามารถผสมผสานเข้าไปได้ดีขึ้น เรื่อย ๆ ครับ กระแสนั้น ก็คือ กระแสที่เราวัดการพัฒนาประเทศ ด้วยการดูที่ความสุขของประชาชน ซึ่งจะเน้นการพัฒนาที่สมดุลมากขึ้น นะครับ
          พอครบทั้ง 5 ปัจจัย ท่านก็จะเห็นนะครับว่า การใช้ยาเพียงอย่างเดียวเนี่ย เหตุใด มันจึงไม่ได้ผลเพียงพอ นะครับ แต่ในประสบการณ์ของผมมีทั้งใช้ยา แล้วได้ผลดีมาก ใช้ยาที่ได้ผลปานกลาง กับใช้ยาที่ไม่ค่อยได้ผล นะครับ ซึ่งเมื่อผมมีประสบการณ์มากขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น ผมก็พบว่า ใครที่มีโจทย์ใน 5 ปัจจัยนี้เยอะ ยาก็จะได้ผลน้อย นะครับ พูดง่าย ๆ มันเป็นไปตามสาเหตุเลย นะครับ

แนวทางการป้องกันโรคซึมเศร้า ในส่วนสถาบันการศึกษา

          ในแง่ของการป้องกัน เราทำอะไรได้บ้าง ถ้าสมมุติว่า เราจะพูดถึงสถาบันการศึกษาสักแห่งหนึ่ง นะครับ เดี๋ยวผมจะลงกลับมาตอบโจทย์ทีหลัง นะครับ แต่ตอนนี้ผมจะลองยกตัวอย่างว่า ถ้าสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง อยากจะหาวิธีที่ป้องกันและดูแลนักศึกษาของตัวเอง ทำอะไรได้บ้าง เมื่อกี้ผมได้เสนอไปแล้ว นะครับว่า มีทางไหมที่จะมีหลักสูตรพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ตัวเองและมีทักษะในการจัดการอารมณ์และจัดการปัญหา นะครับ หลักสูตรเรื่องของความสุขในมหาวิทยาลัยต่างชาติที่เริ่มเปิด กลายเป็นหลักสูตรที่มีความนิยมมากที่สุดล่าสุดหลักสูตรหนึ่ง เพราะมันเป็นการเรียนรู้ตัวเองครับ มหาวิทยาลัยไทย ผมไม่ทราบนะครับว่ามีใครมองในเรื่องนี้ไหม นะครับ แต่ถ้าถามผม ผมคิดว่าต้องมีหลักสูตรที่เป็นการปูพื้นฐานเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองให้มากพอ
          จากนั้นมีโปรแกรมอะไรที่เราสามารถทำได้บ้าง หนึ่ง ก็คือ เราทำยังไง ให้นักศึกษามีความรู้สึกสำเร็จ มีความรู้สึกสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มีการฝึกทักษะความคิดระหว่างความคิดเปรียบเทียบ ระวังค่านิยมที่ต้องการความสำเร็จแบบเร็ว ๆ อยากมีเงิน รวย แล้วก็เกษียณได้ตั้งแต่อายุ 30-40 เนี่ยนะครับ ทำอย่างไร ให้นักศึกษามีเวลาอยู่กับธรรมชาติ ได้มีเวลาออกกำลังกาย และมีเวลานอนเพียงพอ แค่นี้ก็กลายเป็นโจทย์ใหญ่พอสมควรแล้ว นะครับ ที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอาจจะต้องไปออกแบบ แล้วจะต้องออกแบบโดยความเข้าใจในนักศึกษาและก็ว่าชีวิตของชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยแห่งนั้น สถาบันการศึกษาแห่งนั้น นะครับ
          การฝึกทักษะทางความคิดและอารมณ์จะเป็นประโยชน์มากครับ เพราะว่า ถ้าท่านไปตามดูทักษะสำคัญในโลกศตวรรษที่ 21 ที่หลาย ๆ ประเทศได้เรียบเรียงไว้ว่า เขาพยายามจะพัฒนาคนรุ่นใหม่ของเขาให้มีทักษะอะไรบ้าง นะครับ ท่านจะพบว่า ทักษะส่วนใหญ่เป็นทักษะทางอารมณ์และสังคม ร่วมกันกับทักษะทางความคิดครับ ดังนั้นแปลว่า ถ้าเราฝึกเด็กของเราให้คิดเป็น จัดการอารมณ์เป็น เข้าใจและสื่อสารเป็น นะครับ พวกนี้จะเอื้อ และจะสอดคล้องกันกับการไปอยู่กับโลกในอนาคต ซึ่งกำเปลี่ยนแปลงเร็วมาก นะครับ ผมคิดว่าโรงเรียน จำเป็นที่จะต้องจัดน้ำหนักให้ดี ระหว่างการพัฒนาเด็กในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งกับการพัฒนาเด็กในฐานะที่เป็นการวัดผลสำเร็จของโรงเรียน ว่าเด็กของตัวเองสอบได้คะแนนดีมากน้อยแค่ไหน นะครับ คุณอยากจะให้โรงเรียนของลูกของคุณหรือโรงเรียนในชุมชนหรือในประเทศไทย เน้นให้ลูกหลานเรียนรู้การแข่งขันในด้านการสอบหรืออยากให้เขามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น อันนี้ล่ะครับ คือโจทย์ ข้อที่ระบบสังคมและระบบการศึกษาของเราจะต้องตอบให้ดี นะครับ
          ก่อนที่ผมจะจบเนื้อหาช่วงบรรยาย ผมจะตอบข้อคำถามข้อหนึ่ง ซึ่งจะช่วยท่าน ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนในสาเหตุได้ดีขึ้น นะครับ คำถามที่ส่งเข้ามา แล้วตอบข้อเดียวก่อน ก่อนที่จะจบส่วนของเนื้อหาบรรยาย นะครับ

ข้อสงสัยที่ว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ และมีอาการต่างกันหรือไม่

          คำถามนี้ถามว่า “ถ้าโรคซึมเศร้าเกิดจากภาวะอารมณ์อย่างเดียว และไม่ใช่เกิดจากเคมีในสมอง จะมีอาการป่วยแสดงออกแตกต่างกันไหมคะ”นะครับ คำถามนี้นะครับ เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ตอนที่ผมยังเรียนเป็นจิตแพทย์อยู่ คือ จบแพทย์มาแล้ว ไปทำงานมาแล้วปีหนึ่ง แล้วไปเรียนจิตแพทย์ ในยุคนั้น จะมีการจำแนกโรคซึมเศร้า ออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ประเภทที่เรียกว่าเกิดจากระบบชีวภาพภายในของเขา นะครับ แล้ว ประเภทที่ 2 ก็เกิดจากเหตุการณ์ในชีวิตที่ทำให้มีปฏิกิริยาทางอารมณ์เศร้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ นะครับ อาจารย์ผมก็สอนว่า วงการจิตเวชแบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่อาการ ไม่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ นะครับ ซึ่งในยุคแรก ๆ ที่ผมเป็นจิตแพทย์ ผมพบว่ามีบางคนที่ผมหาสาเหตุไม่เจอ นะครับ แล้วผมก็คิดว่า อ๋อ นี่เป็นแบบระบบชีวภาพ แต่ที่เหลือส่วนใหญ่ ผมหาสาเหตุเจอ นะครับ
          แต่เมื่อผมมีฝีมือมากขึ้นเรื่อย ๆ 10 กว่าปีมานี้ ผมไม่เคยเจอคนเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ผมก็อยากรู้เหมือนกัน ครับว่า ต่างประเทศเขามีข้อมูลอะไรบ้าง ก็ปรากฏว่าเขาก็มีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ถ้าตอบคำถามนะครับ อาการไม่ต่างกัน ต่อมาก็คือ จริง ๆ แล้ว มันไม่ได้แยกสองโรครับ จริง ๆ แล้ว ผู้เชี่ยวชาญ นะครับ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคซึมเศร้า ที่ไม่ได้ติดในเรื่องของสารเคมีในสมอง คนที่ 1 บอกว่า เป็นความเข้าใจผิด ไม่มีโรคที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยตัวมันเอง ทุกคนล้วนแล้วแต่มีสาเหตุ อันนี้คือ คนที่ 1 ตอบแบบนี้ นะครับ คนที่ 2 ตอบว่า น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเป็นโรคซึมเศร้าแบบไม่มีสาเหตุเลย สองคนนี้ตอบคล้าย ๆ กัน กับประสบการณ์ส่วนตัวของผมมากเลยครับ แล้วมีคนที่ 3 ยังบอกว่า อย่างมากก็ไม่เกิน 5% ของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ที่เกิดจากระบบรวนอย่างเดียวในระบบร่างกายของเขา ในสมองของเขา แปลว่าที่เหลือ คือ มันต้องมีเหตุในชีวิต แล้วนั่นก็เป็นเหตุที่เราต้องจัดการแก้ไขได้ด้วยนะครับ
          ดังนั้น ถ้าจะกลับมาตอบคำถามนี้ ก็คือ จริง ๆ แล้ว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ใน 5 ปัจจัยที่เราคุยกัน มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานในระบบร่างกายเรา ซึ่งทำให้สารเคมีในสมองรวนไปได้ แต่สารเคมีในสมองมันไม่ได้รวนโดยตัวมันเอง มันรวนจากการที่มันมีสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์เข้ามากระทบต่อกัน แล้วทำให้ระบบชีวภาพของเรามันเปลี่ยนการทำงานไป ซึ่งเกิดขึ้นได้ก็เพราะว่า สมองมันเป็นอวัยวะที่มีความสามารถในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามประสบการณ์ นะครับ ซึ่งผมยกบ่อยว่า ถ้าเราไป ยกตัวอย่างงานวิจัยนะครับ คนขับแท็กซี่ในนครลอนดอน จะมีสมองส่วนที่จดจำสถานที่และตำแหน่ง ในทิศทาง ใหญ่กว่าคนทั่วไป เพราะเขาใช้มันบ่อยครับ
          ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของสมอง โดยตัวมันเอง ไม่ใช่สาเหตุ มันเป็นเพียงสถานะ ของที่เกิดขึ้นมาพร้อมกันกับการเกิดเป็นโรคซึมเศร้าครับ ถ้าผมอธิบายแบบนี้ ผมจะได้ชวนคุณมองว่า อย่าไปแยกครับว่า คนที่ป่วยเพราะสารเคมีในสมองผิดปกติ คนนี้ป่วยเพราะมีเหตุเกิดขึ้นในชีวิตเพราะเขาอกหักซ้ำ ๆ จริง ๆ แล้ว 2 เรื่องนี้มันเชื่อมถึงกัน เพราะระบบชีวภาพของเรามันสัมพันธ์กันกับกิจวัตร กิจกรรม วิธีคิดและวิถีชีวิตของเราครับ การแก้ปัญหาโรคซึมเศร้าจึงจำเป็นที่จะต้องมองชีวิตทั้งระบบชีวภาพ ทั้งกระบวนการทางจิตใจและทั้งสังคมสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป อันนี้คือ มาตรฐานของการรักษาโรคซึมเศร้าที่ถูกต้องตามหลักวิชาการครับ
          สำหรับท่านที่สนใจจะเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาซึมเศร้า ในส่วนที่ไม่ใช้ยา ซึ่งผมต้องย้ำนะครับว่า ยาได้ผลดีมากสำหรับบางคน ได้ผลปานกลางสำหรับคนจำนวนไม่น้อย นะครับ แต่ถ้าท่านอยากเรียนรู้ เรื่องของการดูแลโรคซึมเศร้าในส่วนที่ไม่ใช่ยานั้น ท่านสามารถเรียนออนไลน์ในโปรแกรมแก้ซึมเศร้าแบบไม่ใช้ยา ที่เว็บไซต์ซึ่งเพิ่งเปิดพร้อมบริการในวันนี้ นะครับ เว็บไซต์อยู่บนหน้าจอแล้ว นะครับ อันนี้ ก็จะเป็นช่วงของเนื้อหาการบรรยาย

[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: เจาะลึกสาเหตุของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเอง ตอนที่ 3 (จบ)
เจาะลึกสาเหตุของโรคซึมเศร้าเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเอง ตอนที่ 3 (จบ)
สารเคมีในสมองไม่ใช่เป็นปัจจัยต้นเหตุของโรคซึมเศร้ม
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEherkgIVqwUlg7Mrfg7Hzeumn3ljBcXk-Mp0MhnDnYlIb3MCD94VjnTWRVjhE88DoAAdMNW7pIbeDZDP6bNrO3x_XH_06tOSA5cQNCsGjSytBEt5iWKCMtIX7-ZWsxOkkpifoUF0NdQJ_k/s320/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEherkgIVqwUlg7Mrfg7Hzeumn3ljBcXk-Mp0MhnDnYlIb3MCD94VjnTWRVjhE88DoAAdMNW7pIbeDZDP6bNrO3x_XH_06tOSA5cQNCsGjSytBEt5iWKCMtIX7-ZWsxOkkpifoUF0NdQJ_k/s72-c/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/08/3.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/08/3.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy