การเยียวยาทางจิตใจ ต้องอาศัยหลายวิธี เพราะแต่ละวิธีจะมีผลเชื่อมโยงต่อกัน
หัวข้อบรรยาย : สี่วิธีเยียวยาจิตใจ ช่วงบรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
(จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
ซึ่งกระบวนการปรับความรู้สึกนึกคิดนี้ จะประกอบไปด้วย 2 เรื่องใหญ่ ๆ ครับ เรื่องแรก ก็คือ การฝึกมองโลกแง่ดี ซึ่งไม่เหมือนกับการคิดบวก ผมเคยพูดไปหลายครั้งแล้ว ท่านที่ยังไม่เคยฟังลองไปหาดูครับ กับอีกอันหนึ่ง ที่ผมเคยอ้างอิงงานวิจัยอยู่เยอะมากด้วย เช่นกัน ก็คือ การที่เราจะฝึกสติรู้ทันความคิดที่ดึงความรู้สึกของเราให้มันจมลง เพราะฉะนั้น ในชั้นนี้เนี่ย จะเป็นชั้นที่จับต้องได้ยากกว่าการออกกำลังกาย และจับต้องได้ยากกว่าการมีเพื่อนที่รู้ใจนะครับ แต่เป็นชั้นที่เมื่อฝึกดีแล้ว จะเป็นประโยชน์กับการที่เราเติบโตภายใน แล้วก็จะแปลงการไม่สบายในครั้งนั้นให้กลายเป็นการพัฒนาภายใน ชั้นนี้เป็นชั้นที่ต้องอาศัยคนช่วย ถ้าจะทำเองก็ต้องเป็นคนที่ขยันในการเรียนมากนะครับ นี่คือ ชั้นที่ 3 แล้ว นะครับ
ส่วนชั้นที่ 4 คนที่เป็นซึมเศร้าเนี่ย มีความต้องการ มีความปรารถนาอะไรบ้างภายในใจ เนื่องกลไกทางจิตของคนเป็นซึมเศร้าที่เจอบ่อย เช่น หนึ่ง เขาจะวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง และรู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกผิดต่อตัวเอง รู้สึกผิดกับสิ่งที่ทำ รู้สึกผิดกับคนอื่น กระบวนการนี้ก็แปลว่า เขาจะเชื่อมต่อ แล้วก็ยอมรับตัวเอง แล้วก็สามารถที่จะไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองมากจนกระทั่งรู้สึกแย่กับตัวเอง เพราะฉะนั้นตัวนี้เนี่ย ข้างนอก ใครจะมาช่วยก็ไม่ได้ผล มีคนชมมา เราก็จะคิดว่าเขาไม่จริงใจ เพราะมันมีกลไกทางจิตเป็นตัวกรองอันใหญ่เลย แล้วก็ทำให้เราหลุดออกจากการเชื่อมโยงกับตัวเอง แต่คนซึมเศร้าต้องการ การเชื่อมโยงกลับไปเชื่อมโยงกับตัวตนของตัวเองที่ดี และสามารถเชื่อมโยงกับคนรอบตัวได้ดีด้วย ซึ่งการที่เราจะตระหนักว่านี่คือความต้องการในส่วนลึก แล้วมีวิธีการในการแปลงออกมาเป็นการกระทำภายนอกเนี่ย เป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ เนื่องจากคนซึมเศร้าจะไปติดอยู่กับชั้นของความทุกข์ใจ แล้วทำให้ไม่เหลือพลังงาน คือ ถูกความนึกคิด ความเศร้าดูดพลังงาน จนจะไปออกกำลังกายก็ยังไม่มีแรง จะไปคุยกับเพื่อน บางทีก็ยังเชื่อว่า ตัวเองคุยไปก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ต้องพูดถึงว่าเขาอาจจะไม่ตระหนักว่า ความต้องการในส่วนลึกของเขาคืออะไร
แต่ถ้าเราช่วยให้คนซึมเศร้าเชื่อมโยงกับตัวตนภายในได้ แล้วสื่อสารกับตัวเอง ในระดับที่ให้การยอมรับ ให้กำลังใจตัวเอง ในแบบที่ไม่ใช่เพียงการคิดวิเคราะห์นะครับ แต่เป็นการเชื่อมที่ความรู้สึกลึก ๆ ซึ่งนี้คือ ความปรารถนาความต้องการลึก ๆ เนี่ย ที่ไม่สามารถใช้คำพูดหรือการคิดเชิงเหตุผลล้วน ๆ ไปเชื่อมได้อย่างเดียว แต่ต้องใช้ความรู้สึก(sense) ใช้ความรู้สึกเนี่ย ตัวนี้จะเป็นตัวที่มีความสำคัญมาก
4 ระดับของการเยียวยา จึงแตกต่างกันไปในแต่ละคน ถ้าคุณเคยอกหักแล้วคุณเศร้า คุณอาจจะพบว่า ไปอยู่กับธรรมชาติ ไปพูดคุยกับคน ไปออกกำลังกาย ทำอะไรเพลิน ๆ พอล่ะ พอสบายใจขึ้น คุณเริ่มฉุกคิดขึ้นได้ว่า จริง ๆ แฟนคนนี้ก็ไม่เท่าไหร่นะ เขาก็มีข้อเสียเหมือนกัน เริ่มทำใจยอมรับ อันนี้คือ เพียงพอกับการเยียวยา นะครับ แต่คนที่จะติดกับโจทย์ที่ชั้นที่ต้องแก้ที่ระดับลึกเนี่ย ส่วนใหญ่มักจะมีปมของเก่าที่มาขวางการเข้าถึงชั้นของความต้องการในส่วนลึก มันเหมือนเป็นโจทย์ค้างใจ ที่มันมีมาก่อน แล้วมันทำให้ทุกอย่างที่เหนือกว่านั้นมันรวนไปหมด นะครับ
นั่นก็เป็นเหตุที่ทำให้คนบางคน มีตัวอย่างส่งมา นะครับ ส่งมาถามว่า น้องสาวเนี่ยป่วยเป็นซึมเศร้า หลังจากผิดหวังในรัก แล้วการผิดหวังนั้น ก็ยังต้องไปอยู่ในจุดที่รับรู้ว่าฝ่ายชายซึ่งเป็นอดีตแฟนไปมีรักใหม่ แล้วก็แต่งงาน มีครอบครัว มีความสุขอบอุ่น มีความสำเร็จดีในชีวิต น้องสาวที่ป่วยซึมเศร้าก็ออกจากงาน นะครับ แล้วก็มีอาการซึมเศร้าครบรูปแบบครับ ไม่ดูแลตัวเอง นอนไม่หลับ ไม่จูงใจอะไรเลย ระบบร่างกายผิดเพี้ยนไปหมด ปวดหัว ทั้งลำไส้แปรปรวน และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้น ก็คือ เวลาผ่านมา 10 ปี กว่า 10 ปี นะครับ ทุก ๆ ครั้ง ที่ได้เรื่องราว ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ชายคนนั้น ก็จะกลับมาเป็นใหม่ ซึ่งก็แปลว่าเขาไม่ดีขึ้นเลย คือ ดีขึ้นเวลาที่ห่างหายไป แต่พอได้ยินข่าวปุ๊บ จิตตก เป็นใหม่ครับ พี่สาวท่านนี้ก็ส่งมาถามว่า จะทำยังไงให้เขาดีขึ้น แต่เวลาแนะนำอะไรไปเขาก็ไม่ค่อยทำ เหมือนกับเขาไม่เปิดฟังคำแนะนำ จนสงสัยว่าน้องสาวเสพติดความทุกข์หรือเปล่า แต่ก็คิดว่าไม่น่าใช่ คนเราไม่มีใครอยากมีทุกข์ นะครับ
ดังนั้น ตัวนี้ก็จะเห็นตัวอย่างได้ชัดนะครับว่า เวลาที่เกิดเหตุการณ์ภายนอก คือ เราผิดหวังในรักเนี่ย ปฏิกิริยาของเราที่มีต่อความผิดหวังในรักไม่เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดกับความปรารถนาภายในใจนะครับ หรือปมค้างใจ ถ้าคนผิดหวังในรัก บางคนก็เติบโต เข้าใจชีวิตมากขึ้น ไม่กี่วันก็ยิ้มได้กับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่คนผิดหวังในรักบางคน เศร้าแล้วเศร้าอีกเป็น 10 ปีไม่หาย หัวใจสำคัญ ก็คือ อย่าไปคิดว่า ความผิดหวังในรักคือสาเหตุที่ทำให้เขาเศร้านาน แต่กระบวนการเยียวยาไม่ใช่อยู่ที่สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่อยู่ที่พฤติกรรม แต่ต้องเป็นการปรับรื้อระบบความรู้สึกนึกคิดและเชื่อมโยงถึงความต้องการในส่วนลึกของจิตใจนะครับ กรณีนี้ ผมนึกออกเลยครับ คนที่จะผิดหวังในรักและเศร้าได้นาน มักจะไม่ได้อยู่แค่ความสูญเสียคนรักในครั้งนั้น แต่มันมากระทบกับตัวตน เช่น รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าหรือรู้สึกโกรธแค้น แต่ก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ควรโกรธแค้น แล้วก็เก็บความโกรธแค้นเข้าไว้ในใจ แล้วก็โกรธตัวเอง ที่โกรธไม่เลิก แล้วก็รู้สึกผิดนะครับ ไอ้ตัวนี้มันจะวิ่งอยู่ในหัวนะครับ วิ่งอยู่ในใจลึกๆ ซึ่งทำให้ฟื้นตัวไม่ได้ครับ กรณีนี้ เมื่อเราแนะนำว่า ให้ไปออกกำลังกายนะ ให้ฟังธรรมนะ ให้สวดมนต์นะ นะครับ เขาไม่เหลือพลังในการทำระดับที่เป็นการกระทำพฤติกรรมภายนอก เพราะกระบวนการข้างในมันดูดกลืนพลังงานเข้าไปหมด
แน่นอนนะครับ กรณีเช่นนี้เนี่ย การช่วยเหลือต้องทำทุกชั้นก็จริง แต่เราอาจจะต้องเลือกว่า ก้าวแรกของการเยียวยาของกรณีนี้ควรจะเป็นที่ไหน นะครับ บ้างกรณี ถ้าเป็นมาก แน่นอนครับ ยามีส่วนมีบทบาท สิ่งแวดล้อมช่วยได้ไหม มีคนเคยอกหักกับคนรักที่อยู่ในที่ทำงานเดียวกัน และคนรักก็มีแฟนอยู่ที่ทำงานเดียวกัน เขาถามผมว่าควรจะย้ายงานไหม เพื่อจะได้ไม่ต้องเจอกัน คำถามนี้เป็นคำถามเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนครับ ถ้าไม่ต้องเจอกันมันก็อาจจะไม่มีตัวกระตุ้นให้เรารู้สึกแย่ แต่มันต้องขึ้นอยู่กับว่า เมื่อเขาย้ายที่ทำงานแล้วเนี่ย เขามีพฤติกรรมที่ดูแลจิตใจของตัวเองยังไง เขามองเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างไร และเขายอมรับ เขาเห็นเป็นบทเรียน เขาสามารถไม่เชื่อมการผิดหวังในรัก กลายเป็นการมองตัวเองว่าไม่มีคุณค่าได้ดีเพียงใด นะครับ
ดังนั้น การจัดสิ่งแวดล้อม ก็เป็นหนึ่งในมาตรการ แต่มันอาจจะไม่ได้ผล เหมือนกับกรณีน้องสาวของสมาชิกท่านนี้ ที่ออกจากงานแล้วกลับมาอยู่บ้านแล้ว แล้วก็แค่ได้ข่าวของแฟนเก่า ซึ่งเป็นอดีตไปนานมากแล้ว ก็สามารถดึงตัวเองให้จมลงไปได้ เพราะว่าโจทย์ที่ต้องการการเยียวยา มันไม่ใช่แก้ได้ด้วยพฤติกรรม มันต้องแก้ด้วยการปรับระบบความนึกคิด ความรู้สึก แล้วก็ต้องแก้ด้วยการกลับมาเชื่อมโยงกับตัวเอง ค้นหาความปรารถนาที่เป็นแหล่งพลังชีวิตขึ้นมาให้ได้ ซึ่งนี่ก็กลายเป็นสาเหตุ ที่ผมต้องแยกระดับของการเยียวยาออกเป็น 4 ชั้นให้เห็นชัดเจนขึ้นครับ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ทั้ง 4 ชั้นนี่ มันเชื่อมโยงถึงกัน ระบบชีวภาพ การทำงานของสมอง วิถีชีวิต สภาพนิสัยทางความคิด ไปจนถึงกับตัวการมีปมเก่าหรือไม่มีปมเก่า วัยเด็กได้รับพื้นฐานที่เพียงพอดีไหม นะครับ พวกนี้ล้วนแล้วแต่มีผลกับกระบวนการเยียวยาครับ
ถ้าคุณตระหนักว่า คุณมีโจทย์บางอย่างค้างใจอยู่ในวัยเด็ก ก็แปลว่า เวลาเยียวยาเนี่ย บางที คุณจะไปมองแต่การเยียวยาภายนอก อาจจะไม่ได้ผล คุณอาจจะต้องการการเยียวยาเข้าไปข้างในให้ลึกซึ้งกว่านั้น นะครับ
[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
(จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : www.morprawate.com
รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าหรือรู้สึกโกรธแค้น แต่ก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ควรโกรธแค้น แล้วก็เก็บความโกรธแค้นเข้าไว้ในใจ แล้วก็โกรธตัวเอง ที่โกรธไม่เลิก แล้วก็รู้สึกผิด นะครับ ไอ้ตัวนี้มันจะวิ่งอยู่ในหัวนะครับ วิ่งอยู่ในใจลึกๆ ซึ่งทำให้ฟื้นตัวไม่ได้ ไม่เหลือพลังในการ...พอมาในเรื่องของระดับพฤติกรรม ว่าจะทำอะไรที่จะดีกับอารมณ์เศร้า นะครับ มี 2 อย่างที่มีงานวิจัยเยอะมาก แต่อย่างอื่นก็มีเยอะพอสมควร แต่ 2 อย่างนี้ ผมอยากจะเริ่มต้นก่อนเลย ก็คือ การออกกำลังกาย ซึ่งมีหลายคนเล่าให้ผมฟังว่า แม้ว่าเขาจะฝึกสมาธิ ฝึกสติมาก่อน แต่มันให้ประโยชน์ต่ออาการซึมเศร้าของเขาไม่เหมือนกับการออกกำลังกาย ครับ พลังที่มันได้มาไม่เหมือนกัน ดังนั้น ออกกำลังกายดีกับซึมเศร้า การทำกิจกรรมเพลินก็ดีกับการเป็นซึมเศร้า กิจกรรมที่เคยมีทำแล้วมีความสุขเพลิดเพลิน ทำก็จะทำให้อารมณ์มันดีขึ้นได้ นะครับ แต่คุณฟัง 2 ชั้นนี้แล้ว คุณคิดว่าโรคซึมเศร้าจะหายไหมครับ มันดีสำหรับคนที่เป็นระดับน้อยถึงแตะชั้นปานกลาง แต่ถ้าเป็นระดับปานกลางไปจนถึงมาก นอกจากเราจะใช้ยาช่วยเริ่มต้นระบบใหม่แล้ว เรายังต้องเรียนรู้การปรับกระบวนการความรู้สึกนึกคิดภายในใจของเรา
ซึ่งกระบวนการปรับความรู้สึกนึกคิดนี้ จะประกอบไปด้วย 2 เรื่องใหญ่ ๆ ครับ เรื่องแรก ก็คือ การฝึกมองโลกแง่ดี ซึ่งไม่เหมือนกับการคิดบวก ผมเคยพูดไปหลายครั้งแล้ว ท่านที่ยังไม่เคยฟังลองไปหาดูครับ กับอีกอันหนึ่ง ที่ผมเคยอ้างอิงงานวิจัยอยู่เยอะมากด้วย เช่นกัน ก็คือ การที่เราจะฝึกสติรู้ทันความคิดที่ดึงความรู้สึกของเราให้มันจมลง เพราะฉะนั้น ในชั้นนี้เนี่ย จะเป็นชั้นที่จับต้องได้ยากกว่าการออกกำลังกาย และจับต้องได้ยากกว่าการมีเพื่อนที่รู้ใจนะครับ แต่เป็นชั้นที่เมื่อฝึกดีแล้ว จะเป็นประโยชน์กับการที่เราเติบโตภายใน แล้วก็จะแปลงการไม่สบายในครั้งนั้นให้กลายเป็นการพัฒนาภายใน ชั้นนี้เป็นชั้นที่ต้องอาศัยคนช่วย ถ้าจะทำเองก็ต้องเป็นคนที่ขยันในการเรียนมากนะครับ นี่คือ ชั้นที่ 3 แล้ว นะครับ
ส่วนชั้นที่ 4 คนที่เป็นซึมเศร้าเนี่ย มีความต้องการ มีความปรารถนาอะไรบ้างภายในใจ เนื่องกลไกทางจิตของคนเป็นซึมเศร้าที่เจอบ่อย เช่น หนึ่ง เขาจะวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง และรู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกผิดต่อตัวเอง รู้สึกผิดกับสิ่งที่ทำ รู้สึกผิดกับคนอื่น กระบวนการนี้ก็แปลว่า เขาจะเชื่อมต่อ แล้วก็ยอมรับตัวเอง แล้วก็สามารถที่จะไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองมากจนกระทั่งรู้สึกแย่กับตัวเอง เพราะฉะนั้นตัวนี้เนี่ย ข้างนอก ใครจะมาช่วยก็ไม่ได้ผล มีคนชมมา เราก็จะคิดว่าเขาไม่จริงใจ เพราะมันมีกลไกทางจิตเป็นตัวกรองอันใหญ่เลย แล้วก็ทำให้เราหลุดออกจากการเชื่อมโยงกับตัวเอง แต่คนซึมเศร้าต้องการ การเชื่อมโยงกลับไปเชื่อมโยงกับตัวตนของตัวเองที่ดี และสามารถเชื่อมโยงกับคนรอบตัวได้ดีด้วย ซึ่งการที่เราจะตระหนักว่านี่คือความต้องการในส่วนลึก แล้วมีวิธีการในการแปลงออกมาเป็นการกระทำภายนอกเนี่ย เป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ เนื่องจากคนซึมเศร้าจะไปติดอยู่กับชั้นของความทุกข์ใจ แล้วทำให้ไม่เหลือพลังงาน คือ ถูกความนึกคิด ความเศร้าดูดพลังงาน จนจะไปออกกำลังกายก็ยังไม่มีแรง จะไปคุยกับเพื่อน บางทีก็ยังเชื่อว่า ตัวเองคุยไปก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ต้องพูดถึงว่าเขาอาจจะไม่ตระหนักว่า ความต้องการในส่วนลึกของเขาคืออะไร
แต่ถ้าเราช่วยให้คนซึมเศร้าเชื่อมโยงกับตัวตนภายในได้ แล้วสื่อสารกับตัวเอง ในระดับที่ให้การยอมรับ ให้กำลังใจตัวเอง ในแบบที่ไม่ใช่เพียงการคิดวิเคราะห์นะครับ แต่เป็นการเชื่อมที่ความรู้สึกลึก ๆ ซึ่งนี้คือ ความปรารถนาความต้องการลึก ๆ เนี่ย ที่ไม่สามารถใช้คำพูดหรือการคิดเชิงเหตุผลล้วน ๆ ไปเชื่อมได้อย่างเดียว แต่ต้องใช้ความรู้สึก(sense) ใช้ความรู้สึกเนี่ย ตัวนี้จะเป็นตัวที่มีความสำคัญมาก
4 ระดับของการเยียวยา จึงแตกต่างกันไปในแต่ละคน ถ้าคุณเคยอกหักแล้วคุณเศร้า คุณอาจจะพบว่า ไปอยู่กับธรรมชาติ ไปพูดคุยกับคน ไปออกกำลังกาย ทำอะไรเพลิน ๆ พอล่ะ พอสบายใจขึ้น คุณเริ่มฉุกคิดขึ้นได้ว่า จริง ๆ แฟนคนนี้ก็ไม่เท่าไหร่นะ เขาก็มีข้อเสียเหมือนกัน เริ่มทำใจยอมรับ อันนี้คือ เพียงพอกับการเยียวยา นะครับ แต่คนที่จะติดกับโจทย์ที่ชั้นที่ต้องแก้ที่ระดับลึกเนี่ย ส่วนใหญ่มักจะมีปมของเก่าที่มาขวางการเข้าถึงชั้นของความต้องการในส่วนลึก มันเหมือนเป็นโจทย์ค้างใจ ที่มันมีมาก่อน แล้วมันทำให้ทุกอย่างที่เหนือกว่านั้นมันรวนไปหมด นะครับ
นั่นก็เป็นเหตุที่ทำให้คนบางคน มีตัวอย่างส่งมา นะครับ ส่งมาถามว่า น้องสาวเนี่ยป่วยเป็นซึมเศร้า หลังจากผิดหวังในรัก แล้วการผิดหวังนั้น ก็ยังต้องไปอยู่ในจุดที่รับรู้ว่าฝ่ายชายซึ่งเป็นอดีตแฟนไปมีรักใหม่ แล้วก็แต่งงาน มีครอบครัว มีความสุขอบอุ่น มีความสำเร็จดีในชีวิต น้องสาวที่ป่วยซึมเศร้าก็ออกจากงาน นะครับ แล้วก็มีอาการซึมเศร้าครบรูปแบบครับ ไม่ดูแลตัวเอง นอนไม่หลับ ไม่จูงใจอะไรเลย ระบบร่างกายผิดเพี้ยนไปหมด ปวดหัว ทั้งลำไส้แปรปรวน และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้น ก็คือ เวลาผ่านมา 10 ปี กว่า 10 ปี นะครับ ทุก ๆ ครั้ง ที่ได้เรื่องราว ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ชายคนนั้น ก็จะกลับมาเป็นใหม่ ซึ่งก็แปลว่าเขาไม่ดีขึ้นเลย คือ ดีขึ้นเวลาที่ห่างหายไป แต่พอได้ยินข่าวปุ๊บ จิตตก เป็นใหม่ครับ พี่สาวท่านนี้ก็ส่งมาถามว่า จะทำยังไงให้เขาดีขึ้น แต่เวลาแนะนำอะไรไปเขาก็ไม่ค่อยทำ เหมือนกับเขาไม่เปิดฟังคำแนะนำ จนสงสัยว่าน้องสาวเสพติดความทุกข์หรือเปล่า แต่ก็คิดว่าไม่น่าใช่ คนเราไม่มีใครอยากมีทุกข์ นะครับ
ดังนั้น ตัวนี้ก็จะเห็นตัวอย่างได้ชัดนะครับว่า เวลาที่เกิดเหตุการณ์ภายนอก คือ เราผิดหวังในรักเนี่ย ปฏิกิริยาของเราที่มีต่อความผิดหวังในรักไม่เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดกับความปรารถนาภายในใจนะครับ หรือปมค้างใจ ถ้าคนผิดหวังในรัก บางคนก็เติบโต เข้าใจชีวิตมากขึ้น ไม่กี่วันก็ยิ้มได้กับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่คนผิดหวังในรักบางคน เศร้าแล้วเศร้าอีกเป็น 10 ปีไม่หาย หัวใจสำคัญ ก็คือ อย่าไปคิดว่า ความผิดหวังในรักคือสาเหตุที่ทำให้เขาเศร้านาน แต่กระบวนการเยียวยาไม่ใช่อยู่ที่สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่อยู่ที่พฤติกรรม แต่ต้องเป็นการปรับรื้อระบบความรู้สึกนึกคิดและเชื่อมโยงถึงความต้องการในส่วนลึกของจิตใจนะครับ กรณีนี้ ผมนึกออกเลยครับ คนที่จะผิดหวังในรักและเศร้าได้นาน มักจะไม่ได้อยู่แค่ความสูญเสียคนรักในครั้งนั้น แต่มันมากระทบกับตัวตน เช่น รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าหรือรู้สึกโกรธแค้น แต่ก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ควรโกรธแค้น แล้วก็เก็บความโกรธแค้นเข้าไว้ในใจ แล้วก็โกรธตัวเอง ที่โกรธไม่เลิก แล้วก็รู้สึกผิดนะครับ ไอ้ตัวนี้มันจะวิ่งอยู่ในหัวนะครับ วิ่งอยู่ในใจลึกๆ ซึ่งทำให้ฟื้นตัวไม่ได้ครับ กรณีนี้ เมื่อเราแนะนำว่า ให้ไปออกกำลังกายนะ ให้ฟังธรรมนะ ให้สวดมนต์นะ นะครับ เขาไม่เหลือพลังในการทำระดับที่เป็นการกระทำพฤติกรรมภายนอก เพราะกระบวนการข้างในมันดูดกลืนพลังงานเข้าไปหมด
แน่นอนนะครับ กรณีเช่นนี้เนี่ย การช่วยเหลือต้องทำทุกชั้นก็จริง แต่เราอาจจะต้องเลือกว่า ก้าวแรกของการเยียวยาของกรณีนี้ควรจะเป็นที่ไหน นะครับ บ้างกรณี ถ้าเป็นมาก แน่นอนครับ ยามีส่วนมีบทบาท สิ่งแวดล้อมช่วยได้ไหม มีคนเคยอกหักกับคนรักที่อยู่ในที่ทำงานเดียวกัน และคนรักก็มีแฟนอยู่ที่ทำงานเดียวกัน เขาถามผมว่าควรจะย้ายงานไหม เพื่อจะได้ไม่ต้องเจอกัน คำถามนี้เป็นคำถามเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนครับ ถ้าไม่ต้องเจอกันมันก็อาจจะไม่มีตัวกระตุ้นให้เรารู้สึกแย่ แต่มันต้องขึ้นอยู่กับว่า เมื่อเขาย้ายที่ทำงานแล้วเนี่ย เขามีพฤติกรรมที่ดูแลจิตใจของตัวเองยังไง เขามองเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างไร และเขายอมรับ เขาเห็นเป็นบทเรียน เขาสามารถไม่เชื่อมการผิดหวังในรัก กลายเป็นการมองตัวเองว่าไม่มีคุณค่าได้ดีเพียงใด นะครับ
ดังนั้น การจัดสิ่งแวดล้อม ก็เป็นหนึ่งในมาตรการ แต่มันอาจจะไม่ได้ผล เหมือนกับกรณีน้องสาวของสมาชิกท่านนี้ ที่ออกจากงานแล้วกลับมาอยู่บ้านแล้ว แล้วก็แค่ได้ข่าวของแฟนเก่า ซึ่งเป็นอดีตไปนานมากแล้ว ก็สามารถดึงตัวเองให้จมลงไปได้ เพราะว่าโจทย์ที่ต้องการการเยียวยา มันไม่ใช่แก้ได้ด้วยพฤติกรรม มันต้องแก้ด้วยการปรับระบบความนึกคิด ความรู้สึก แล้วก็ต้องแก้ด้วยการกลับมาเชื่อมโยงกับตัวเอง ค้นหาความปรารถนาที่เป็นแหล่งพลังชีวิตขึ้นมาให้ได้ ซึ่งนี่ก็กลายเป็นสาเหตุ ที่ผมต้องแยกระดับของการเยียวยาออกเป็น 4 ชั้นให้เห็นชัดเจนขึ้นครับ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ทั้ง 4 ชั้นนี่ มันเชื่อมโยงถึงกัน ระบบชีวภาพ การทำงานของสมอง วิถีชีวิต สภาพนิสัยทางความคิด ไปจนถึงกับตัวการมีปมเก่าหรือไม่มีปมเก่า วัยเด็กได้รับพื้นฐานที่เพียงพอดีไหม นะครับ พวกนี้ล้วนแล้วแต่มีผลกับกระบวนการเยียวยาครับ
ถ้าคุณตระหนักว่า คุณมีโจทย์บางอย่างค้างใจอยู่ในวัยเด็ก ก็แปลว่า เวลาเยียวยาเนี่ย บางที คุณจะไปมองแต่การเยียวยาภายนอก อาจจะไม่ได้ผล คุณอาจจะต้องการการเยียวยาเข้าไปข้างในให้ลึกซึ้งกว่านั้น นะครับ
[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]