ลดความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 4 อ.

ลดความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยาทำอย่างไร


บทความโดย
นพ.ชวโรจน์ เกียรติกำพล อายุรแพทย์
HealthToday Magazine, No.206 June 2018
หลายครั้งที่หมอพบว่าผู้ป่วยค่อนข้างตกใจเมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากโรคนี้อาจนำไปสู่ภาวะที่ร้ายแรงที่สุดถึงขนาดก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันซึ่งทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้มักมีคำถามสำคัญที่ผู้ป่วยมักถามบ่อย ๆ ว่า…
“ผมต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตตลอดชีวิตเลยใช่มั้ยครับหมอ?”
“เราจะหยุดรับประทานยาได้บ้างไหมค่ะ?”
“มีวิธีอื่นอีกหรือเปล่าถ้าไม่อยากรับประทานยา?”
วันนี้หมอเลยขอชวนผู้อ่านมาทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและวิธีรับมือกับโรคนี้แบบไม่ต้องใช้ยาดูบ้างดีกว่า
          โรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนมาก โดยที่ทางการแพทย์เรายังไม่รู้สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงแน่ชัดนัก แต่จากหลายการศึกษาก็ทำให้เราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นครับ และเพราะว่าโรคนี้ไม่มีอาการใด ๆ จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ “เพชฌฆาตเงียบ” เพราะผู้ป่วยไปรู้ตัวอีกทีก็มักตรวจพบโรคแทรกซ้อนมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ทางเดียวที่เราจะตรวจพบได้ก็คือ การวัดความดันโลหิต ซึ่งทำกันได้โดยง่าย ไม่ต้องเจ็บปวดอะไร
          ความดันโลหิตประกอบด้วยตัวเลข 2 จำนวน เช่น 120 / 80 ตัวเลขแรกหรือตัวเลขตัวบน คือความดัน systolic เป็นค่าแรงดันเมื่อหัวใจบีบตัว ส่วนตัวเลขหลังหรือตัวเลขล่างคือความดัน diastolic หรือแรงดันเมื่อหัวใจคลายตัว โดยทั่วไปเราเชื่อว่าจุดที่ควรเริ่มได้รับการใส่ใจดูแลคือสูงกว่า 120 / 80 ซึ่งถือเป็นจุดที่มีความเสี่ยงที่จะพบปัญหาแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงเมื่อมีความดันโลหิตสูงเกิน 140 / 90 (หรือแพทย์บางท่านอาจถือเอาตัวเลข 130 / 80 แล้วแต่แนวทางการรักษานะครับ)
          สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ การอ่านค่าความดันโลหิตเพียงครั้งเดียวอาจทำให้ไขว้เขวได้ หลายคนมีภาวะที่เรียกว่าความดันโลหิตสูงเทียม เช่น มีความดันโลหิตสูงผิดปกติเฉพาะเวลาที่ไปพบแพทย์ ซึ่งมักเกิดจากความวิตกกังวล ดังนั้นถ้าค่าความดันโลหิตไม่ได้สูงมาก ๆ ก็อาจรอดูอาการสัก 24 ชั่วโมงก่อนจะตัดสินใจรับการรักษาก็ได้ครับ การวัดความดันโลหิตซ้ำที่บ้านถือเป็นทางเลือกที่ดีในการตัดภาวะความดันโลหิตสูงเทียมนี้ได้ดีเลยทีเดียว
          สิ่งสำคัญในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงนอกจากยาลดความดันโลหิตแล้ว เรายังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตได้โดยไม่ต้องพึ่งยา หมอเองมักแนะนำผู้ป่วยทุกคนให้เริ่มปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตามหลักฐานทางการแพทย์ที่พบว่าทำแล้วมีประโยชน์ ลดความดันโลหิตได้จริงร่วมด้วยเสมอแม้จะใช้หรือไม่ใช้ยาก็ตาม หมอขอเรียกสั้น ๆ เป็นตัวย่อว่า หลัก “4 อ.” ครับ เพราะเวลาหมอท่องไปใช้งานก็จำ “4 อ.” แบบนี้จริง ๆ ไม่ค่อยลืม ใช้กันง่ายดี ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ครับ

อ1 – อาหาร

          ในแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ได้แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีชื่อเรียกว่า DASH หรือ Dietary Approaches to Stop Hypertension ซึ่งเป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มีงานวิจัยพบว่า ช่วยลดความดันโลหิตได้จริง โดยมีการเน้นให้
  • จำกัดการรับประทานเกลือโซเดียมให้ไม่เกิน 1,500 มก.ต่อวัน (ประมาณ 2/3 ช้อนชา) ระวังอาหารที่มีเกลือแฝงสูง เช่น ผงชูรส ไส้กรอก ลูกชิ้น น้ำแกง อาหารแช่แข็ง หมอแนะนำว่าควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนบริโภคทุกครั้งครับ
  • ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ผักใบเขียว  โยเกิร์ต เห็ด แครอท ฟักทอง มะละกอ
  • ลดการใช้น้ำมันในอาหาร โดยในหนึ่งวันควรรับประทานไม่เกิน 1 ช้อนชา เน้นการปรุงอาหารด้วยการต้มหรือนึ่งเป็นหลัก
  • รับประทานถั่วชนิดต่าง ๆ 4-5 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ (1 หน่วยบริโภค เท่ากับ 2 ช้อนโต๊ะ) เพราะถั่วเป็นแหล่งของโปรตีน ไขมันชนิดดี และแร่ธาตุแมกนีเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยลดความดัน แต่ต้องเลือกเป็นถั่วธรรมชาติชนิดไม่ปรุงรส และไม่ใช่แบบทอดด้วยนะครับ
  • รับประทานโปรตีนที่ดีจากเนื้อปลาและไก่ไม่ติดหนัง
  • รับประทานไข่แดงไม่เกิน 4 ฟองต่อสัปดาห์
  • รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5 หน่วยบริโภคต่อวัน
  • รับประทานธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือยเพื่อให้ได้เส้นใยอาหารและแร่ธาตุ

อ2 – ออกกำลังและลดน้ำหนักตัว

          หมอเคยเขียนเรื่องประโยชน์และวิธีการออกกำลังกายไว้แล้วในฉบับที่ผ่านมา คิดว่ายังพอหาอ่านได้ครับจะไม่ขอลงรายละเอียดมาก แต่ขอนำงานวิจัยมาให้ดูเป็นตัวอย่างครับ มีงานวิจัยหนึ่งของมหาวิทยาลัยดุ๊กซึ่งรายงานไว้ในปี ค.ศ.2000 ได้แบ่งชายและหญิง 133 คนที่มีน้ำหนักเกินและใช้ชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มที่ออกกำลังกายอย่างเดียวด้วยการวิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยานสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที และกลุ่มที่ 3 ซึ่งออกกำลังกายและเข้ารับการอบรมเรื่องการลดน้ำหนักตัว ผลที่ได้เป็นไป ตามคาดหมาย คือกลุ่มควบคุมลดลงน้อยที่สุดที่ 0.9 / 1.4 มิลลิเมตรปรอท กลุ่มที่ออกกำลังกายอย่างเดียวลดลง 4.4 / 4.3 ส่วนกลุ่มที่ใช้วิธีผสมผสานมีความดันโลหิตลดลง 7.4 / 5.6 จะเห็นได้ว่าการออกกำลังและควบคุม น้ำหนักนั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการรับประทานยาเม็ดลดความดันฯ ราคาแพงเลยทีเดียว

อ3 – แอลกอฮอล์

          การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ครับ มีหลักฐานจากงานวิจัยหลายงานวิจัยในเรื่องนี้ แต่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในเรื่องปริมาณการดื่มที่อันตราย แต่โดยทั่วไปการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 แก้วจึงจะปลอดภัยต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองครับ

อ4 – อารมณ์และความเครียด

          อย่างที่เราทราบกันมานานแล้วครับว่าความเครียดและอารมณ์ด้านลบจะส่งผลให้ความดันโลหิตในร่างกายสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากความผิดปกติของระบประสาทอัตโนมัติที่ถูกกระตุ้น กิจกรรมหนึ่งที่หมอมักแนะนำให้ผู้ป่วยลองทำในแง่นี้ก็คือ การฝึกทำสมาธิเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งมีบางรายงานพบว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้น ทั้งนี้รวมถึงยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย
          เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มใช้ยาลดความดันโลหิตสูง เราสามารถลองควบคุมความดันโลหิตด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตได้ครับ โดยที่หลายคนนั้นเพียงแค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตก็เพียงพอแล้วต่อการควบคุมความดัน แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดความดันโลหิต ก็ควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง แต่อย่าลืมใช้หลัก “4 อ.”ดังกล่าวข้างต้นร่วมด้วยนะครับ หากปฏิบัติตามอย่างจริงจังแล้ว หมอเชื่อว่าความดันโลหิตสูงจะไม่ใช่โรคที่น่าตกใจอีกต่อไปครับ

ขอบคุณที่มาบทความนี้จาก www.healthtodaythailand.in.th
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ลดความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 4 อ.
ลดความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 4 อ.
ลดความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยาทำอย่างไร
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhqACXZgSScDuvegwYPkiVmkg-ZoxqhJyCJaQI3xvsdCuRgmUCrOvaVDjKdIt9tE6WVVhAj9QgXwcMkh-131QREzGPe430ic9l4zB4jNGbwfEyT6tbrelFnnm8848CciT_UwFYQB9gUM24/s320/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581+4+%25E0%25B8%25AD..jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhqACXZgSScDuvegwYPkiVmkg-ZoxqhJyCJaQI3xvsdCuRgmUCrOvaVDjKdIt9tE6WVVhAj9QgXwcMkh-131QREzGPe430ic9l4zB4jNGbwfEyT6tbrelFnnm8848CciT_UwFYQB9gUM24/s72-c/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581+4+%25E0%25B8%25AD..jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/4.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/4.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy