ยาลดไขมันในเลือด

กลไกการทำงานของยาลดไขมันในเลือด


  • บทความโดย
  • ผู้ช่วยอาจารย์ ภญ. วิภารักษ์ บุญมาก
  • ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มีความเข้าใจว่าไขมันในเลือดสูงทำให้อ้วน จึงรับประทานยาลดไขมันเพื่อลดความอ้วน ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องเพราะไขมันในเลือดสูงและอ้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ต่างกัน
ในยุคปัจจุบันที่ความรู้ทางการแพทย์พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีการรักษาและการใช้ยาที่มีคุณภาพมากขึ้น ประชากรทั่วโลกจึงมีอายุขัยยาวนานขึ้น แต่ก็ปรากฎว่า โรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (non-communicable disease หรือ NCD) เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคเบาหวาน เป็นต้น ได้กลายมาเป็นเพื่อนร่วมทางของประชากรในช่วงอายุที่เรียกว่า “วัยกลางคน” ไปจนถึง “วัยชรา” และก่อภาระทางสุขภาพและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งเราจะได้ยินได้อ่านเรื่องราวของโรค NCD นี้ในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือจากข่าววิทยุโทรทัศน์ เนืองๆ โรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถหายขาดได้ จำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุมโรคไปตลอด อีกทั้งโรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วก็จะมีการดำเนินไปของโรคที่จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่มักจะไม่แสดงอาการออกมา จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าหายแล้วและอาจหยุดรับประทานยา ซึ่งเป็นผลให้การดำเนินไปของโรครุดหน้าไปอีก และเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้ยาหลายชนิด หรือรับประทานยาวันละหลายครั้ง ผู้ป่วยอาจเกิดความเบื่อหน่าย หรือเป็นกังวลกับการรับประทานยาต่อเนื่องว่าจะปลอดภัยหรือไม่ โดยเฉพาะยาลดไขมันในเลือด ซึ่งเป็นยาชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยโรค NCD มักจะได้รับ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับไขมันต่างๆ ในเลือดกันก่อน หากแบ่งอย่างคร่าวๆ ไขมันจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ โคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ หากค่าไขมันทั้งสองชนิดนี้สูงกว่าเกณฑ์ปกติก็ถือว่าเป็นโรคไขมันในเลือดผิดปกติ

โคเลสเตอรอลในเลือดยังแบ่งได้อีกหลายชนิด แต่มีอยู่ 2 ชนิดที่ควรรู้จัก คือ LDL (low density lipoprotein) -cholesterol หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า ไขมันตัวร้าย เนื่องจากพบว่า LDL ที่มากเกินไปจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบในหลอดเลือด นำไปสู่การสะสมของไขมันทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดได้ ส่วนไขมันตัวดี หรือ HDL (high density lipoprotein) -cholesterol มีหน้าที่ทำความสะอาดหลอดเลือดจากการสะสมของโคเลสเตอรอลที่มากเกินไป จึงช่วยปกป้องหลอดเลือดจากกระบวนการอักเสบและการอุดตัน ดังนั้น หากมี LDL ในเลือดสูงกว่าปกติจะถือว่าผิดปกติ แต่หากมี HDL ในเลือดน้อยกว่าค่าปกติจึงจะถือว่าผิดปกติ

โรคไขมันในเลือดผิดปกติหรือ dyslipidemia เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรค NCD ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีระดับไขมันในเลือดต่างไปจากเกณฑ์ปกติ เมื่อมีไขมันชนิดต่างๆ เหล่านี้ในเลือดผิดปกติ สิ่งที่ตามมาคือ กระบวนการอักเสบในหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดอันจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ (medical emergency) เนื่องจากเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย และต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน

หัวใจสำคัญของการรักษาโรคไขมันในเลือดผิดปกติ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นการใช้ยาลดไขมันในเลือดโดยมีเป้าหมายในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว เป้าหมายของการรักษาจะเปลี่ยนเป็นการใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวกับการรักษาโรคนี้คือ แนวทางในการรักษากำลังมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความรู้และหลักฐานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยมีมุ่งไปที่ระดับ LDL และใช้ยากลุ่มใดก็ได้เพื่อให้ได้ LDL อยู่ในระดับที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล กลายมาเป็นมุ่งเน้นการใช้ยากลุ่มที่มีชื่อว่า HMG-CoA reductase inhibitors หรือยากลุ่มที่มีชื่อลงท้ายว่า statin (สะแตติน) ในขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละความเสี่ยงของผู้ป่วยเนื่องจากมีหลักฐานทางวิชาการรองรับชัดเจนในแง่การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ แม้ว่าจะยังมีข้อถกเถียงกันในรายละเอียดและอาจจะต้องรอหลักฐานทางวิชาการที่กำลังจะออกมาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันแนวคิดนี้ ยากลุ่ม statin ก็ได้กลายมาเป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดผิดปกติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ยากลุ่มนี้เป็นยาที่สามารถลดปริมาณไขมันตัวร้าย รวมถึงมีความสามารถในการลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มปริมาณไขมันตัวดีได้ด้วย ยากลุ่มนี้ยังมีฤทธิ์เพิ่มเติมอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากการลดไขมัน เช่น ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ

สมาชิกของยาในกลุ่มนี้มีด้วยกันหลายชนิด เช่น atorvastatin (อะทอร์วาสะแตติน), fluvastatin (ฟลูวาสะแตติน), pitavastatin (พิทาวาสะแตติน), pravastatin (พราวาสะแตติน), rosuvastatin (โรซูวาสะแตติน) และ simvastatin (ซิมวาสะแตติน) ซึ่งมีชื่อการค้าต่างๆ กันไป ยาแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในแง่ของประสิทธิภาพในการลด LDL, cholesterol ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยา วิธีการในการทำลายและขับยาออกจากร่างกาย รวมถึงความมากน้อยของการเกิดผลข้างเคียงและปฏิกิริยาระหว่างยา จึงเป็นข้อดีที่แพทย์ผู้ใช้ยาสามารถเลือกยาได้อย่างหลากหลายตามลักษณะและปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย

ยากลุ่มสะแตตินนี้เป็นยาเม็ด โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน เนื่องจากกระบวนการสร้างโคเลสเตอรอลจะเกิดขึ้นมากในช่วงเวลากลางคืน (ช่วงเที่ยงคืนในผู้ป่วยที่มีเวลาการตื่นนอนและเข้านอนเป็นปกติ) อย่างไรก็ตามยาลดไขมันรุ่นใหม่บางชนิดมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่ยาวนานเพียงพอที่จะใช้ในเวลาอื่นๆได้ เช่น หลังอาหารเช้า เป็นต้น ดังนั้น แนะนำให้รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยให้ปรึกษาเภสัชกร เมื่อรับประทานยาจนได้ระดับของไขมันในเลือดเป็นที่น่าพอใจแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องรับประทานยาลดไขมันนั้นๆ ต่อไป เนื่องจากไขมันในเลือดที่เห็นเป็นผลมาจากการรับประทานยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยนั่นเอง นอกจากนี้อาจจะต้องระวังการใช้อาหารเสริมหรือสมุนไพรที่โฆษณาว่าช่วยลดไขมันในเลือด เนื่องจากอาหารเสริมหรือสมุนไพรบางชนิดอาจรบกวนการออกฤทธิ์ของยา รวมถึงเพิ่มผลข้างเคียงได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมใดๆ ร่วมด้วย

หากก่อนนอน ลืมรับประทานลดไขมัน แล้วนึกได้ในเวลาเช้าของอีกวัน ให้รับประทานยาของวันนั้นตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา เนื่องจากประสิทธิภาพของการลดไขมันโดยรวมจะไม่กระทบมากนัก การรับประทานยาเกินขนาดกลับจะเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น

ในกรณีที่รับประทานยาลดไขมันตอนเช้าอยู่แล้ว และนึกได้ในวันเดียวกัน สามารถรับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่หากนึกได้ในวันถัดไปก็ให้รับประทานยาของวันนั้นตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

แม้ว่าระดับไขมันในเลือดจะลดลงด้วยการรับประทานยาลดไขมัน แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยก็ยังคงมีความสำคัญ กล่าวคือ ผู้ป่วยควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริมการลดลงของ LDLและ cholesterol แล้วยังช่วยให้สุขภาพร่างกายโดยรวมแข็งแรงมากขึ้น และระบบการเผาผลาญในร่างกายดีขึ้นด้วย นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ผู้ป่วยควรเลิกสูบบุหรี่ (ในรายที่สูบบุหรี่) เพราะจากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ส่งเสริมให้กระบวนการอักเสบของร่างกายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ได้รับประโยชน์ในแง่ของการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไขมันในเลือดสูงที่ได้รับจากยาลดลง อีกทั้งการรับประทานอาหารที่เหมาะสม (เน้นรับประทานผักและผลไม้, ไขมันต่ำ) และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก็มีความสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการควบคุมไขมันในเลือดได้ดีมากยิ่งขึ้น

มีความเข้าใจว่าไขมันในเลือดสูงทำให้อ้วน จึงรับประทานยาลดไขมันเพื่อลดความอ้วน ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องเพราะไขมันในเลือดสูงและอ้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ต่างกัน

โรคไขมันในเลือดสูงเป็นปัญหาที่เกิดจากการมีโคเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปในเลือด ผลเสียที่ตามมาคือการอุดตันของหลอดเลือดต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่ความอ้วนเกิดจากการสะสมของ “เนื้อเยื่อไขมัน” ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันเหล่านี้จะสร้างสารที่กระตุ้นให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์และอวัยวะบางชนิดทำงานผิดปกติ เหนี่ยวนำให้ตับอ่อนหลั่งอินสุลินลดลงและอาจจะตามมาด้วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างอ้วน และการใช้ยาลดไขมันก็ไม่สามารถทำให้การสะสมของเนื้อเยื่อไขมันลดลงในคนอ้วนได้

กล่าวโดยสรุป โรคไขมันในเลือดสูงเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมโรค ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีเป้าหมายของการรักษาและชนิดของยาที่ใช้แตกต่างกันไป การดูแลตนเองและรับประทานยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถควบคุมโรคได้ดี นอกจากนี้ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อติดตามผลของการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ อย่าเบื่อหน่ายการรับประทานยา เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถควบคุมโรคไขมันในเลือดสูงได้


เอกสารอ้างอิง
  1. Stone NJ, Robinson J, Lichtenstein AH, Merz NB, Blum CB, Eckel RH, et al. 2013 ACC/AHA Guideline on the Treatment of Blood Cholesterol to Reduce Atherosclerotic Cardiovascular Risk in Adults: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. J Am Coll Cardiol. 2014 Jul 1;63(25 Pt B):2889-934.
  2. Reiner Z, Catapano AL, Backer GD, Graham I, Taskinen M, Wiklund O, et al. ESC/EAS guidelines for the management of dyslipidemias. Eur Heart J 2011;32:1769-1818.
  3. Bonetti PO, Lerman LO, Napoli C, Lerman A. Statin effects beyond lipid lowering--are they clinically relevant? Eur Heart J 2003;24:225–48.
  4. Saito Y, Yoshida S, Nakaya N, Hata Y, Goto Y. Comparison between morning and evening doses of simvastatin in hyperlipidemic subjects. A double-blind comparative study. Arterioscler Thromb. 1991 Jul-Aug;11(4):816-26.
  5. Martin PD, Mitchell PD, Schneck DW. Pharmacodynamic effects and pharmacokinetics of a new HMG-CoA reductase inhibitor, rosuvastatin, after morning or evening administration in healthy volunteers. Br J Clin Pharmacol. Nov 2002;54(5):472–7.
  6. Plakogiannis R, Cohen H, Taft D. Effects of morning versus evening administration of atorvastatin in patients with hyperlipidemia. Am J Health Syst Pharm. 2005 Dec 1;62(23):2491-4.


[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ยาลดไขมันในเลือด
ยาลดไขมันในเลือด
กลไกการทำงานของยาลดไขมันในเลือด
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjAE-K1PixHVWZ6-zIPXYivRDSmGDO3yBBiQ9uUsbxFCSLOkfgEfyo2jmA0XPUeOeZj6OpqY1-H2MbnRsu-1ac3kW4IOO34HVRl0pFPStxWfPM7fr3sAYd_EHzSTM__SuPz8PY42079bxE/s320/%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjAE-K1PixHVWZ6-zIPXYivRDSmGDO3yBBiQ9uUsbxFCSLOkfgEfyo2jmA0XPUeOeZj6OpqY1-H2MbnRsu-1ac3kW4IOO34HVRl0pFPStxWfPM7fr3sAYd_EHzSTM__SuPz8PY42079bxE/s72-c/%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_17.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_17.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy