รู้ทันโรคซึมเศร้า รับมือได้ไม่ยาก

โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย หากรู้ไม่เท่าทัน

รู้ทันโรคซึมเศร้า รับมือได้ไม่ยาก

เรื่องโดย : ดนยา สุเวทเวทิน Team Content www.thaihealth.or.th
ที่มา : กิจกรรม “SOS ซึมเศร้าในวัยรุ่น เข้าใจ รับมือได้” ถ่ายทอดผ่านเฟซบุ๊ก SOOK
ภาพประกอบจาก : ณัฐพร ชุ่มลือ Team Content www.thaihealth.or.th และแฟ้มภาพ
เคยไหม...ช่วงนี้ทำไมรู้สึกเบื่อ ๆ เซ็ง ๆ จะหยิบจับทำอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ รู้สึกไม่มีความสุข ไม่อยากทำอะไรแล้ว จนบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าอารมณ์แบบนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าเราเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้ารึเปล่านะ?
          "โรคซึมเศร้า" ขึ้นแท่นโรคยอดฮิตไม่แพ้โรคอื่น ๆ เพราะรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ทั่วโลกมีประชากรกว่า 300 ล้านคน ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งในประเทศไทยติดอันดับต้น ๆ การสูญเสียจากการฆ่าตัวตาย และมีสถิติค่อนข้างสูง เฉลี่ย 6 คนต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนในวัยรุ่นมีสถิติ 5.33 คนต่อประชากร 1 แสนคนที่มีความคิดอยากจะฆ่าตัวตาย
         ในกิจกรรม “SOS ซึมเศร้าในวัยรุ่น เข้าใจ รับมือได้” ที่จัดโดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ได้ ผศ. นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ จิตแพทย์และอาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องภาวะซึมเศร้า
          "ทุกคนต่างเคยเจออารมณ์ซึมหรือเศร้าในช่วงใดช่วงหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการและการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึก บางคนไม่มีความสุขไปครึ่งวันเมื่อได้ยินข่าวไม่ดี บางคนอาจจมกับความรู้สึกนั้นไป 3 วัน 5 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ซึ่งทางการแพทย์ยึดหลักว่าหากอารมณ์เศร้าซึมอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ คุณอาจเข้าข่ายเป็นภาวะซึมเศร้า" ผศ.นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ จิตแพทย์และอาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบาย
          ผศ.นพ.ภุชงค์ อธิบายต่อว่า ซึมเศร้าไม่ใช่แค่ความรู้สึกเศร้าหรือรู้สึกเหงาหงอยแต่รวมถึงการไม่มีความสุขจากสิ่งที่เคยสร้างความสุข เช่น อาหารโปรดที่ชอบกินกินแล้วไม่อร่อยเหมือนเดิม กิจกรรมที่เคยชอบทำก็ไม่สนุก รู้สึกเฉย ๆ ไม่อยากทำเหมือนก่อน บางคนบอกว่ารู้สึกหมองๆ มัว ๆ เบลอ ๆ บางคนไปถึงจุดที่เกิดความสงสัยกับตัวเองว่าจะอยู่บนโลกนี้ต่อไปทำไม ยิ่งหากเป็นคนที่ไม่พอใจตัวเองมากพอก็อาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองหรือมีความคิดและความพยายามฆ่าตัวตายได้
          ก่อนจะบอกต่อว่า สมองคนเราจะแปรเปลี่ยนวิธีคิดไปตามอารมณ์ เช่น รู้สึกผิดหวัง ก็อาจคิดว่าคงไม่มีหนทางไหนจะดีขึ้นกว่านี้ ไม่มีอะไรสามารถแปรเปลี่ยนได้ หมดหวัง สิ้นหวัง โทษตัวเอง ในเบื้องต้นคนรอบข้างอาจช่วยจากการพาไปทำกิจกรรม เพราะคนไข้บางรายเมื่อได้ออกไปทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากขึ้น ขยับตัวมากขึ้น รู้ข่าวสารจากโลกภายนอกมากกว่าความคิดภายในหัวตัวเองก็สามารถช่วยได้ แต่หากเริ่มสังเกตว่าเขาเริ่มพูดเรื่องการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตายต้องรีบพามาพบจิตแพทย์โดยด่วน
          "เป็นมะเร็งอาจจะยังเหลือเวลาอยู่ได้เป็นปี ๆ แต่ถ้าคิดจะฆ่าตัวตายแล้วทำได้สำเร็จ ชีวิตก็คือจบเลยตรงนั้น" ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจมีระดับความรุนแรงกว่า เนื่องจากเป็นวัยที่พยายามหาสิ่งที่เข้ามาทดแทนทำให้ตัวเองรู้สึกมีความสุข บางคนอาจอยากทำอะไรที่สะใจ หรืออาจใช้อบายมุขหรือสารเสพติดในการแก้ปัญหา เพราะสิ่งเหล่านี้ให้ผลอย่างรวดเร็ว ขณะที่วัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุที่มีภาวะและโรคนี้ก็อาจอยากอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ มากกว่า

การให้คุณค่าและความหมาย

          ผศ.นพ.ภุชงค์ กล่าวว่า การใช้โซเชียลมีเดีย 99% มีผลต่ออารมณ์และจิตใจ เพราะเป็นสิ่งเร้าที่อาจทำให้รับรู้การเปรียบเทียบได้ค่อนข้างเยอะ คนส่วนใหญ่อาจอ่อนไหวและตีความกับสื่อต่าง ๆ ที่เราได้รับ เช่น หลายคนวัดคุณค่าและความหมายของชีวิตว่าชีวิตที่ดีหรือชีวิตที่มีความสุขจะต้องซื้อรองเท้ารุ่นนี้เหมือนคนนั้น ไปเที่ยวที่นั่น กินข้าวร้านนี้ เราอาจใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัววัดคุณค่าของเรา ซึ่งความจริงแล้ว คุณค่าของคนไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน บางคนอาจยึดผลการเรียน บางคนแค่ได้เล่นเกมก็รู้สึกดีมีความสุขแม้คนอื่นอาจจะมองว่าการเล่นเกมของเขาไม่เกิดประโยชน์ก็ตาม

การรักษา

ผศ.นพ.ภุชงค์ แนะนำว่า ต้องกินยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ อย่าหยุดยาเอง หากกินยาแล้วมีผลข้างเคียง เช่น ง่วง ซึม ไม่สามารถทำงานได้ ควรลดปริมาณยาและกลับไปปรึกษาแพทย์ให้จ่ายยาในปริมาณที่เหมาะสมกับตนเอง
          นอกจากการใช้ยาแล้วยังใช้จิตบำบัดในการรักษา คือการนั่งพูดคุยกัน ตั้งคำถามเชิงบวกที่จะไปสู่การแก้ปัญหา เป็นเหมือนการป้อนชุดคำที่ทำให้สมองเกิดการคิดตาม เพราะการพูดคุยเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้คลี่คลายเข้าใจกันได้ เป็นการเปิดใจฟังของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นตัวคนไข้ หรือผู้ปกครอง เช่น ลูกทำงานมาแล้วบ่นว่าเหนื่อย หากพ่อแม่สวนกลับมาว่า ไม่ต้องบ่น พ่อกับแม่ทำงานนี่เหนื่อยกว่าเยอะ ก็ทำให้ลูกไม่อยากจะพูดอะไรต่อ และกลับทำให้เขารู้สึกเหนื่อยมากขึ้นด้วยซ้ำ
          หรือแม้กระทั่งคนที่กำลังรู้สึกไม่โอเคกับชีวิต ไม่อยากอยู่ต่อ สมองก็จะเลือกเรื่องหรือเหตุผลมากมายที่สอดคล้องกับความคิดตัวเอง แต่หากลองเปลี่ยนมาตั้งคำถามเชิงบวก เช่น คนที่อยากจะมีชีวิตที่น่าอยู่ต่อไป จะต้องเป็นอย่างไร สมองก็จะตั้งคำถามตามที่สั่ง
          “การออกกำลังกายเป็นการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างเห็นผล ในระดับนานาชาติพบว่าการออกกำลังกายมีผลเป็นบวกและเป็นตัวช่วยอย่างชัดเจน เช่น เลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย จิตใจโฟกัสมากขึ้น ที่สำคัญคือตัวเองเริ่มรู้สึกว่าทำได้เหมือนคนอื่น เป็นเสมือนการลิ้มรสความสำเร็จเล็ก ๆ ที่ดี” ผศ.นพ.ภุชงค์ กล่าวทิ้งท้าย

          การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงถือเป็นสิ่งที่ต้องมีคู่กันดั่งคำที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” สสส. สนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาวะดี ออกกำลังกาย หากิจกรรมที่ได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่สดใสนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สสส
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: รู้ทันโรคซึมเศร้า รับมือได้ไม่ยาก
รู้ทันโรคซึมเศร้า รับมือได้ไม่ยาก
โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย หากรู้ไม่เท่าทัน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjppRocZKLwxE8cCr0t04-nuLx6YpuY4Jl8uS7_OYPTyRyzSvw-rsxIEmaTIp8oQBZbdufSK9RgFSsk2vK2j1scZUUMK1YKwx_Ej9jPb4loXhcTeCSaYb4wN3PjEYuI8G32H9W0DSbcEOc/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2+%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599+%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjppRocZKLwxE8cCr0t04-nuLx6YpuY4Jl8uS7_OYPTyRyzSvw-rsxIEmaTIp8oQBZbdufSK9RgFSsk2vK2j1scZUUMK1YKwx_Ej9jPb4loXhcTeCSaYb4wN3PjEYuI8G32H9W0DSbcEOc/s72-c/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2+%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599+%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_3.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_3.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy