การวัดค่ามวลกระดูกบอกอะไรเรา

การตรวจมวลกระดูกรู้เร็วป้องกันได้


บทความโดย
นพ.ไพสิทธิ์ วรปาณิ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ข้อเข่า ข้อสะโพก
ที่มา HealthToday Magazine, No.209 September 2018
“คุณหมอครับ…คุณแม่ไปเดินงานออกบูธเกี่ยวกับสุขภาพมา เขามีวัดมวลกระดูกที่เท้า แล้วผลออกมาเป็นลบ ตัวเลขเท่าไรผมจำไม่ได้ ไม่ทราบว่าจะเป็นอะไรไหมครับ” นี่เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผมได้รับฟังบ่อย ๆ ในวันที่ตรวจคนไข้ คำถามนี้ก็คงต้องถามหมอกระดูกนั่นแหละครับ มาหาหมอกระดูกจะให้มาถามเรื่องกระเพาะเรื่องปอดหรือครับ คนไข้คงคิดอย่างนั้น ฮ่า ๆ ๆ ได้เลยครับ งั้นวันนี้เรามาดูเรื่อง ‘ค่ามวลกระดูก’ นี้กันดีกว่าครับ
          อย่างแรกเลย ผมขอเปรียบเทียบง่าย ๆ ให้เห็นภาพกันก่อนนะครับ ผมชอบเปรียบเทียบโครงสร้างร่างกายของคนเราเหมือนกับตึก กระดูกก็คงเป็นพวกเสา ขื่อ หรือโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักให้ตึกคงอยู่ได้ เสาหรือพวกโครงสร้างปูนเมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ย่อมผุกร่อนเป็นธรรมดา ทำให้ตึกพังได้ง่ายหรือถึงขั้นล้มลง เหมือนเวลาเราอายุมากขึ้น กระดูกก็จะเกิดการกร่อนหรือผุตามธรรมชาติได้
          ทีนี้ก็กลับมาเรื่องกระดูกของเราจริง ๆ บ้างนะครับ ร่างกายมนุษย์ กระดูกที่ถือว่าเป็นแกนของร่างกาย ทำให้เราทรงตัวเดินไปไหนมาไหนทำอะไรได้ ก็คงจะเป็น ‘กระดูกสันหลัง’ กับ ‘กระดูกสะโพก’ เป็นหลักนะครับ ส่วนมือและเท้าเรามักเรียกว่าเป็นระยางค์ไว้หยิบจับอะไรมากกว่า ดังนั้นเราจึงเน้นว่า กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพกนั้นสำคัญ ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดพรุนหรือทรุดขึ้นมา จะทำให้เราใช้ชีวิตกันลำบาก
          อย่างสมัยก่อนเรามักเห็นคนอายุมาก ๆ เดินหลังค่อมกันบ่อย ๆ หรือเดินกะเผลกใช่ไหมครับ เราจึงนึกว่าถ้าคนเราอายุมากขึ้นหลังจะค่อมเป็นธรรมชาติ แต่เดี๋ยวนี้เรารู้แล้วว่าหลังค่อมเกิดจากกระดูกสันหลังที่เป็นปล้อง ๆ ทรุดตัวลงจากการที่กระดูกเกิดการกร่อนทางธรรมชาติ (ในร่างกายคนเราตามธรรมชาติจะมีการสร้างและทำลายอยู่ตลอดทุกช่วงอายุนะครับ แต่ในคนอายุมาก การทำลายจะมากกว่าการสร้าง) คล้าย ๆ กับตึกที่เสาพังแล้วทรุดตัวลงนั่นแหละครับ
          คราวนี้เขาก็ศึกษากันว่า ทำอย่างไรเราจึงจะรู้ว่ากระดูกของเราพรุนหรือทรุดลงมากน้อยแค่ไหน เลยมีวิธีวัดมวลรวมของกระดูกในร่างกาย (Bone Mass Index) เป็นค่าตัวเลขออกมา ซึ่งค่าที่วัดออกมาเป็นค่าที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลของประชากรทั่วไปแล้วนำมาวิเคราะห์ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นการวัดโดยละเอียดจะวัดที่กระดูกสันหลังและสะโพกครับ แต่บางครั้งเราอาจจะเห็นการวัดที่กระดูกข้อมือหรือข้อเท้า ซึ่งจะได้ค่าออกมาเป็นตัวเลขแบบคร่าว ๆ โดยค่าที่ออกมาจะมี 2 ค่า คือ ค่าที่เรียกว่า Z score และ T score
  • Z score เกิดจากเอาค่าตัวเลขมวลกระดูกในช่วงอายุเท่ากันกับเรามาเปรียบเทียบกัน แล้วดูว่ามวลกระดูกเราแย่กว่าหรือดีกว่าเป็นตัวเลขบวกลบออกมา
  • T score เป็นค่าที่เปรียบเทียบกับคนอายุช่วง 30 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าคนสูงอายุตรวจ ค่าจะออกมาเป็นลบอยู่แล้ว เพราะกระดูกคนสูงอายุย่อมต้องพรุนกว่าหนุ่มสาวเป็นธรรมดา เพียงแต่เราจะดูว่าพรุนมากหรือน้อย โดยทั่วไปตัวเลขจะมาเป็นช่วง ๆ
  • ถ้าอยู่ในช่วง 0 ถึง -1 ถือว่า ปกติ
  • ถ้าอยู่ในช่วง -1 ถึง -2.5 ถือว่า กระดูกบาง
  • ถ้าต่ำกว่า -2.5 ถือว่า กระดูกพรุน โอกาสที่ล้มลงแล้วกระดูกจะหักง่ายมีมากกว่าปกติ
          พวกนี้จริง ๆ ไม่ต้องจำตัวเลขหรอกนะครับ แค่รู้ว่ากระดูกเราอยู่ในช่วงไหนก็พอ จากนั้นก็คงเกิดคำถามว่า แล้วใครบ้างล่ะที่จำเป็นต้องตรวจมวลกระดูก
          ถ้าอ้างอิงจากที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำ ผู้ที่ควรตรวจมวลกระดูก ได้แก่ ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือชายอายุ 70 ปีขึ้นไป หรือถ้าหญิงวัยหมดประจำเดือนอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีภาวะต่าง ๆ เช่น เคยล้มไม่แรงแล้ว กระดูกหัก หรือมีบางโรค เช่น รูมาตอยด์ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือรับประทานยาพวกสเตียรอยด์เป็นประจำ หรือมีญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคกระดูกพรุน พวกนี้ก็ควรมารับการตรวจมวลกระดูกนะครับ
          โรงพยาบาลทั่วไปจะมีเครื่องตรวจนี้ การตรวจก็ง่าย ๆ คล้ายการทำเอกซเรย์ทั่วไป ไม่เจ็บปวดอะไรครับ แต่ถึงผล ออกมาเป็นลบก็ไม่ต้องตกใจ เพราะนี่เป็นค่าตัวเลขเฉย ๆ เรายังสามารถป้องกันหรือชะลอการเสื่อมลงของกระดูกได้ เช่น การออกกำลังกาย กินอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี ก็จะช่วยเสิรมการสร้างกระดูกได้ครับ
          ช่วงนี้จะเห็นว่าคนเราเริ่มใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับที่เราได้ป้องกันอะไรไว้ก่อน โรคบางอย่าง ถ้ารู้ได้เร็วก็ยิ่งสามารถรักษาหรือชะลออาการได้เลยครับ จึงอยากให้ทุกคนลองหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจครับ

ขอบคุณที่มาบทความ  www.healthtodaythailand.in.th

[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การวัดค่ามวลกระดูกบอกอะไรเรา
การวัดค่ามวลกระดูกบอกอะไรเรา
การตรวจมวลกระดูกรู้เร็วป้องกันได้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhPdBfSscgWR8O1I0nvSZMQAaTU2Zq01DtdBADRWW7xwNmDFbmj8b2qOKJDzzDRo3_C9EgA61RheTNEgeBV_bir6Lv-RIXGW6VfRn3QjrAtAsx44_rVrTx1g6Gas1240WSGjQLtD6nKzJo/s320/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhPdBfSscgWR8O1I0nvSZMQAaTU2Zq01DtdBADRWW7xwNmDFbmj8b2qOKJDzzDRo3_C9EgA61RheTNEgeBV_bir6Lv-RIXGW6VfRn3QjrAtAsx44_rVrTx1g6Gas1240WSGjQLtD6nKzJo/s72-c/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_30.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_30.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy