โรคหลอดเลือดสมอง รู้เท่ากัน ป้องกันไว้ก่อน

โรคหลอดเลือดสมองไม่มีการเตือนล่วงหน้า การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

โรคหลอดเลือดสมอง รู้เท่ากัน ป้องกันไว้ก่อน


ความร้ายกาจของโรคที่คร่าชีวิต มักจะมาโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่มีการเตือนล่วงหน้า แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

          โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
(1) ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic Stroke) มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมัน หินปูน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนา นูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้หลอดเลือดค่อย ๆ ตีบแคบ พบได้ประมาณ 70–85%
(2) ภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง หรือเยื่อหุ้มสมอง เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บและทำให้เนื้อสมองตาย มักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเปราะและโป่งพอง พบได้ประมาณ 15–30%
(3) ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack) คล้ายโรคสมองขาดเลือด แต่มีอาการชั่วคราวไม่เกิน 24 ชั่วโมง เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องพบแพทย์เพราะเสี่ยงที่จะเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต พบได้ประมาณ 15% อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกาย และคอยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอยู่เสมอ

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

         อาการของโรคหลอดเลือดสมองในแต่ละคนจะแสดงออกมาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่เกิดการผิดปกติ วันนี้ทีมเว็บไซต์ สสส. นำเสนอ 10 สัญญาณเตือน ที่หากคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าวควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยในทันที
1. อาการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก
2. อาการชาครึ่งซีก
3. สูญเสียการทรงตัว
4. มองไม่เห็นภาพครึ่งหนึ่งของลานสายตา
5. ตามองไม่เห็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
6. มองเห็นภาพซ้อนเป็น 2 ภาพ
7. พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง
8. มีความผิดปกติของการใช้ภาษา พูดคุยไม่ค่อยรู้เรื่องหรือฟังไม่เข้าใจ พูดไม่ออก นึกคำไม่ได้ ใช้ภาษาผิด คำนวณไม่ได้
9. มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน
10. ปวดศีรษะรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
          ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ เป็นโรคที่ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า หากมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบพาไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและให้การรักษา กรณีที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบ จะทำการรักษาโดยฉีดยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งจะมีผลในการรักษาอย่างมากหากมาพบแพทย์ภายในเวลาไม่เกิน 3 ชม.หลังจากมีอาการ ส่วนกรณีหลอดเลือดสมองแตกจะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

เทคนิคการป้องกันจากโรคหลอดเลือดสมอง

          โรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำ หากขาดการป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายและป้องกันการเป็นซ้ำจึงควรทำดังนี้
1. ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
2. ควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
3. เลิกสูบบุหรี่
4. ลดการรับประทานอาหารรสเค็ม
5. เลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว
6. รับประทานผักและผลไม้ทุกวัน
7. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์)
9. รับประทานยาป้องกันการเกิดอัมพาตซ้ำตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ
          สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ “จะทำอย่างไรให้คนรอบข้างหรือผู้ที่มีอาการรู้ว่า หากมีอาการหน้าเบี้ยว แขนขาชา หรืออ่อนแรง พูดไม่ชัด นี่คือสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง และต้องพาผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด” เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิต และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ


เคล็ดลับการดูแลสุขภาพ

          “ถ้าเตรียมตัวดี ย่อมชนะทุกสิ่ง” นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และในฐานะผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี 2562 ได้บอกเล่าประสบการณ์การเตรียมความพร้อม ที่ทุก ๆ คนสามารถวางแผนและตั้งตัวแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะเข้าสู่สูงวัย และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บดังนี้
          1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการวิ่งหรือเดินเร็ววันละประมาณ 40-50 นาที และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หมุนคอ หมุนแขน 30 นาที
          2. ดูแลการรับประทานอาหาร โดยเลือกรับประทานผักผลไม้เป็นหลัก เน้นอาหารมื้อเช้าและกลางวัน ส่วนมื้อเย็นให้เลือกผักและผลไม้
          3. ดูแลสุขภาพฟันให้แข็งแรง ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งคือ ตอนเช้าและก่อนนอนอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
          จะเห็นได้ว่าคำแนะนำของ นพ.บรรลุ สอดคล้องกับ หลักการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองซ้ำ ซึ่งถือว่าการดูแลตัวเองให้ดีจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีอายุยืนยาว นอกจากนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนให้คนไทยลดหวาน มัน เค็ม ด้วยสูตร 6:6:1 คือ น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา และเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน รวมถึง หันมารับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วยสูตร 2:1:1 คือ ผักสองส่วน ข้าวหรือแป้งหนึ่งส่วน และเนื้อสัตว์ไม่ติดมันอีกหนึ่งส่วน ซึ่งนอกเหนือจากการทานอาหารที่ดีแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เพียงเท่านี้ก็ห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมองและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อื่น ๆ

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
เรื่องโดย : ปรภัต จูตระกูล Team Content  www.thaihealth.or.th
ข้อมูลจาก : หนังสืออาหารสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และนพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และในฐานะผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี 2562
ภาพประกอบโดย : นัฐพร ชุ่มลือ Team Content www.thaihealth.or.th และแฟ้มภาพ

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคหลอดเลือดสมอง รู้เท่ากัน ป้องกันไว้ก่อน
โรคหลอดเลือดสมอง รู้เท่ากัน ป้องกันไว้ก่อน
โรคหลอดเลือดสมองไม่มีการเตือนล่วงหน้า การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhVlMrtJxGFZwcbEUXzMHl7cj_rzGjzAR1FdIKppYsEiPQCPJHKI0GutswJtGdmgJKeS4_j5e6LIJqDsJhr-jKAFEb87N27faCWJHn0CiFBKh8Qc5dJWUgTVK3ltxOeCEQztwSzorPlkzg/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587-2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhVlMrtJxGFZwcbEUXzMHl7cj_rzGjzAR1FdIKppYsEiPQCPJHKI0GutswJtGdmgJKeS4_j5e6LIJqDsJhr-jKAFEb87N27faCWJHn0CiFBKh8Qc5dJWUgTVK3ltxOeCEQztwSzorPlkzg/s72-c/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587-2.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_55.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_55.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy