โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

อัตราการเสียชีวิตที่สูงจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเพราะมาพบแพทย์ในระยะลุกลามแล้ว


บทความโดย
นพ. นิพพิชฌน์ พรหมมี 
แพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินอาหาร
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดที่เปลี่ยนแปลงมาจากเยื่อบุผิว (Adenocarcinoma) จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี 2559 พบผู้ป่วยใหม่ราว 3.6 ราย และ 2.5 ราย ต่อประชากรแสนคน ในเพศชายและหญิงตามลำดับ (Estimated Age-standardized incidence rate) หรือคิดเป็นร้อยละ 1.72 ของผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่  พบมากขึ้นชัดเจนในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป  ลักษณะรอย โรคในกระเพาะอาหาร อาจพบเป็นแผล ก้อนนูน หรือการหนาตัวผิดปกติของเยื่อบุผิว ถึงแม้ว่าไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อยอันดับต้น ๆ ของประเทศ แต่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง เพราะผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ในระยะลุกลามของตัวโรคแล้ว

อาการและอาการแสดงของมะเร็งกกระเพาะอาหาร

พบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ (มักเจอในระยะแรก) มีอาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่  แสบร้อน อืดแน่นท้อง โดยเฉพาะหลังทานอาหาร อิ่มเร็ว ทานได้น้อยลง หรือจนกระทั่งมีอาการของสัญญาณเตือนที่น่ากังวล (Alarming symptoms) เช่น ถ่ายดำ ซีด เพลีย มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาเจียนบ่อยมาก น้ำหนักลดลงอย่างชัดเจน  คลำได้ก้อนที่หน้าท้อง เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

1. การรับประทานอาหารที่มีวัตถุกันเสียเป็นประจำ  วัตถุกันเสียประเภทโซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์ เมื่อผ่านปฏิกิริยาในร่างกายจะเปลี่ยนเป็น “สารไนโตรซามีน” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง มักพบในอาหารประเภทหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารประเภทปิ้งย่าง และอาหารจำพวกเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูยอ แฮม ไส้กรอก กุนเชียง แหนม เป็นต้น
2. การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (H.pylori  หรือ Helicobacter pylori) การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ในกระเพาะ ส่วนหนึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุกระเพาะอาหาร จนกระทั่งเกิดการฝ่อของเยื่อบุและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้  อย่างไรก็ตามแม้ว่าความชุกของการติดเชื้อชนิดนี้ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 40-50 แต่ความชุกของโรคมะเร็งกระเพาะกลับต่ำ ไม่สอดคล้องกัน คาดว่าน่าจะมีผลจากปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ชนิดหรือสายพันธุ์ของเชื้อ ปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อ เป็นต้น
3. มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
4.โรคที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรม (พบน้อยมาก) เช่น โรค Lynch syndrome, Familial adenomatous polyposis , Peutz-Jeghers syndrome ซึ่งไม่ขอกล่าวในรายละเอียด ณ ที่นี้

การวินิจฉัย

   สามารถทำได้โดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esophagogastroduodenoscopy, EGD) เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูง ทำได้ไม่ยุ่งยาก  สามารถตัดชื้นเนื้อบริเวณที่น่าสงสัยไปตรวจ และสามารถตรวจว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ด้วยหรือไม่
          สำหรับการตรวจหาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์นั้น สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง คือ การตรวจทางลมหายใจ (Urea breath test, UBT) เป็นวิธีที่ให้ผลตรวจที่แม่นยำเช่นกัน
ผู้ที่ปวดท้องโรคกระเพาะอาหาร หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ ควรได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
1. อายุที่เริ่มมีอาการครั้งแรก ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
2. มีสัญญาณเตือนที่น่าสงสัยมะเร็งกระเพาะอาหาร (Alarming features) ได้แก่
2.1 ภาวะเลือดออกทางเดินอาหาร
2.2 ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
2.3 มีอาการอิ่มเร็วกว่าปกติอย่างชัดเจน (รับประทานอาหารได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทานปกติ ก็รู้สึกอิ่ม รับประทานต่อไม่ได้
2.4 น้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ 10 โดยที่หาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ
2.5 อาเจียนตลอดเวลา (มากกว่า 10 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรืออาเจียนหลังรับประทานอาหารแต่ละมื้อ) โดยไม่ทราบสาเหตุ
2.6 มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
3. อาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้ว

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป

ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่  ไม่รับประทานอาหารกลุ่มที่มีสารก่อเกิดมะเร็งดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำ และหากมีอาการของสัญญาณเตือนที่น่าสงสัยมะเร็งกระเพาะอาหาร หรืออาการยังไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษา ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม

ข้อมูลอ้างอิง
http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-407
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stomach-cancer/symptoms-causes/syc-20352438
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
อัตราการเสียชีวิตที่สูงจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเพราะมาพบแพทย์ในระยะลุกลามแล้ว
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjjTRr1u2NsfG3zv6xFo67hHsDQASQKo8kt3HOfE9VvoH6-6_AdOVB1rkPu5CIjZxzIsHaY3NGtvif-x-i1Xyaic5CQ4-cdsoYZoFie6dR1l3AkIpnMYcv7_2cFVGDPk5dSSmFwACpR6Kg/s320/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjjTRr1u2NsfG3zv6xFo67hHsDQASQKo8kt3HOfE9VvoH6-6_AdOVB1rkPu5CIjZxzIsHaY3NGtvif-x-i1Xyaic5CQ4-cdsoYZoFie6dR1l3AkIpnMYcv7_2cFVGDPk5dSSmFwACpR6Kg/s72-c/%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_80.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_80.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy