ดูแลไตอย่างไร...ให้อยู่กับเราไปนานๆ

การดูแลรักษาไตให้อยู่ได้นานนั้น มีข้อปฏิบัติอย่างไร


บทความโดย
ภก. วสุ ศุภรัตนสิทธิ
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญกับร่างกาย ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายและหน้าที่อื่นอีกหลายอย่าง ดังนั้นการดูแลไตจึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อที่ไตจะได้คงสภาพการทำงานต่อไปได้

ตำแหน่งและลักษณะของไต

          คนปกติมีไตอยู่ 2 ข้างด้วยกัน ลักษณะของไตจะคล้ายเมล็ดถั่วแดง แต่ละข้างวางตัวในลักษณะแนวตั้ง ขนานกับกระดูกไขสันหลังช่วงเอว ฝังตัวติดกับผนังลำตัวของแผ่นหลัง หรือถ้าจะให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ตำแหน่งของไตจะอยู่บริเวณสีข้างของร่างกาย โดยไตข้างซ้ายจะวางตัวสูงกว่าไตข้างขวาเล็กน้อย เนื่องจากด้านบนไตข้างขวาเป็นตำแหน่งของตับ ซึ่งไตทั้ง 2 ข้างนั้นจะหันส่วนเว้าหรือที่เรียกว่า ขั้วไต เข้าหากระดูกไขสันหลัง
          ส่วนของเนื้อไต จะประกอบไปด้วยหน่วยไต (nephron) ในไตแต่ละข้างจะมีหน่วยไตอยู่ประมาณ 1 ล้านหน่วย ทำหน้าที่สำคัญในการกรองพลาสมา (plasma) ซึ่งก็คือน้ำเลือด ปรับส่วนประกอบและความเข้มข้นของปัสสาวะ โดยหน่วยไตแต่ละหน่วยจะทำงานเป็นอิสระต่อกัน จนถึงจุดเชื่อมที่หลอดไตฝอยรวม (collecting duct) ปัสสาวะที่ผลิตได้จากแต่ละหน่วยไตจึงไหลรวมกันเข้าสู่หลอดไตฝอยรวม กรวยไต และท่อไตตามลำดับ ไปสะสมรวมกันอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการขับทิ้งออกจากร่างกายต่อไป

หน้าที่ของไต

          หน้าที่ซึ่งเด่นชัดมากที่สุดของไต คือ การขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการผลิตปัสสาวะให้มีปริมาณของส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม เป็นการรักษาสมดุลของน้ำกับแร่ธาตุในร่างกาย โดยหน้าที่ในส่วนนี้ทั้งหมดจะทำงานโดยหน่วยไต นอกจากนั้นไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ด้วย เช่น การกระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และการหลั่งเอนไซม์เรนิน (renin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต

วิธีการดูแลไต

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
          การดื่มน้ำที่เพียงพอนั้นเปรียบเสมือนการช่วยให้ไต ไม่ต้องทำงานหนักเนื่องจากไม่ต้องกรองน้ำเลือดที่ข้นหนืด คำแนะนำทั่วไปคือ ควรดื่มน้ำ 8-10 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) ต่อวัน หรือตามที่ Institute of Medicine (IOM) ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำ คือ ควรดื่มน้ำเฉลี่ย 3.7 ลิตรต่อวันในผู้ชาย และเฉลี่ย 2.7 ลิตรต่อวันในผู้หญิง
  • รับประทานอาหารและใช้อาหารเสริมอย่างเหมาะสม
          การรับประทานอาหารที่เหมาะสม เสมือนเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รสหวานและเค็มนั้น มักนำมาด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามลำดับ นอกจากนั้นการรับประทานอาหารเสริมบางชนิดที่มากเกินความจำเป็นก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความผิดปกติที่ไตได้
  • ป้องกันการกระทบกระแทกบริเวณสีข้าง
          การถูกตีหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณสีข้าง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไตวายได้เนื่องจากเป็นตำแหน่งของไต ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การเหยียบหรือการต่อตัวโดยใช้บริเวณหลังของร่างกายเป็นฐาน เป็นต้น
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
          การตรวจร่างกายเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่แล้วในการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของโรคนั้นๆ ใช้ยาควบคุมโรคอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากยาส่วนใหญ่ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุของโรค และการไม่ดูแลรักษาโรคประจำตัวที่ยกตัวอย่างไปนั้น จะส่งผลให้ไตทำงานได้แย่ลง
  • งดบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์) และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน (ชา กาแฟ)
          สารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่ และคาเฟอีนในขนาดสูง มีผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในอีกหลายๆ กลไกที่ทำให้เกิดพิษต่อไต และเช่นเดียวกับคาเฟอีน การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ในปริมาณมากๆ ทำให้เกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อและเกิดไตวายเฉียบพลันตามมา
  • ใช้ยาอย่างระมัดระวัง
          ยาทั่วไปที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตทำงานได้ลดลง ได้แก่ยาในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ได้มีโครงสร้างเป็นสเตียรอยด์ ที่เรียกย่อๆว่ายากลุ่ม “ NSAID” (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs; NSAIDs) เช่น Aspirin, Diclofenac, Ibuprofen, Indomethacin, Naproxen และ Piroxicam เป็นต้น รวมไปถึงยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านไวรัส เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกับยาอื่นอาจส่งเสริมให้เกิดอาการข้างเคียงของยา (ในที่นี้คือ เป็นพิษต่อไต) ที่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา (drug-drug interactions) หรือที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่า “ยาตีกัน” เช่น ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยา Cyclosporine เพื่อกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยยาดังกล่าวมีอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดพิษต่อไตได้อยู่แล้ว ต่อมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยต่ำอาจติดเชื้อราขึ้นได้ จึงรับประทานยา Ketoconazole หรือ Itraconazole เพื่อจะรักษาอาการติดเชื้อรา ซึ่งยาที่กล่าวไป 2 ตัวหลังจะทำให้ระดับยา Cyclosporine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นและทำให้โอกาสเกิดพิษต่อไตสูงขึ้นตามไปด้วยดังนั้นนอกจากผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังแล้ว ต้องแจ้งชื่อยาหรือนำตัวอย่างยาที่ตนเองใช้ให้กับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา

          สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากฝากไว้โดยเฉพาะการใช้ยาทุกครั้งว่า ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ”

เอกสารอ้างอิง
  1. Eaton DC, Pooler JP. Renal Functions, Basic Processes, and Anatomy. In: Eaton DC, Pooler JP, editors. Vander’s Renal Physiology. 8th ed. New York: McGraw-Hill [serial online]. 2013 [cited 2014 November 5]. Available from: http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=505&Sectionid=42511980.
  2. Barrett KE, Barman SM, Boitano S, Brooks HL. Renal Function & Micturition. In: Barrett KE, Barman SM, Boitano S, Brooks HL, editors. Ganong's Review of Medical Physiology. 24th ed. New York: McGraw-Hill [serial online]. 2012 [cited 2014 November 5]. Available from: http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=393&Sectionid=39736787.
  3. Thomas LK, Elinder C, Tiselius H, Wolk A, Àkesson A. Ascorbic Acid Supplements and Kidney Stone Incidence Among Men: A Prospective Study. JAMA Intern Med.2013;173(5):386-388. doi:10.1001/jamainternmed.2013.2296.
  4. Jain G, Jaimes EA. Nicotine signaling and progression of chronic kidney disease in smokers. Biochem Pharmacol. 2013 Oct 15;86(8):1215-23. doi: 10.1016/j.bcp.2013.07.014. Epub 2013 Jul 26.
  5. Campana C, Griffin PL, Simon EL. Caffeine overdose resulting in severe rhabdomyolysis and acute renal failure. Am J Emerg Med. 2014 Jan;32(1):111.e3-4. doi: 10.1016/j.ajem.2013.08.042. Epub 2013 Sep 27.
  6. Su MS, Jiang Y, Yan XY, Zhao QH, Liu ZW, Zhang WZ, He L. Alcohol abuse-related severe acute pancreatitis with rhabdomyolysis complications. Exp Ther Med. 2013 Jan;5(1):189-192. Epub 2012 Oct 4.
ที่มาบทความ
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ดูแลไตอย่างไร...ให้อยู่กับเราไปนานๆ
ดูแลไตอย่างไร...ให้อยู่กับเราไปนานๆ
การดูแลรักษาไตให้อยู่ได้นานนั้น มีข้อปฏิบัติอย่างไร
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg5W5qFe42zp6nepOhZlEfW80occfReKAkqSFjJhWDCCWK1FJKWBJPW1s9_MGvkaAuG_g4jI9QDs8tF5pWHRGYgdrKoxYx1zjFx9dUiFppanlhY0y8UY9z3Q6WoyaZe01XDQo21DcZ7xco/s320/kidney-stock.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg5W5qFe42zp6nepOhZlEfW80occfReKAkqSFjJhWDCCWK1FJKWBJPW1s9_MGvkaAuG_g4jI9QDs8tF5pWHRGYgdrKoxYx1zjFx9dUiFppanlhY0y8UY9z3Q6WoyaZe01XDQo21DcZ7xco/s72-c/kidney-stock.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_83.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/09/blog-post_83.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy