ผลไม้กับสุขภาพจากประโยชน์ของสารพฤกษเคมี

งานวิจัยที่ค้นพบสารพฤกษเคมีจากผลไม้

บทความโดย
สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
อาหารที่เรารับประทานนอกจากจะให้สารอาหารที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ใช้ในกระบวนการเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแล้ว สารอาหารเกือบทุกชนิดจะมีบทบาทต่อการรักษาสุขภาพร่างกายไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ในพืชนอกจากสารอาหารต่างๆแล้วยังมีสารพฤกษเคมีจากธรรมชาติที่มีบทบาทส่งเสริมสุขภาพและช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆอีกด้วย จากหลักฐานพบว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานโดยรับประทาน ผัก ผลไม้เพิ่มมากขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ (1) สารพฤกษเคมีหรือไฟโตนิวเทรียนท์ หมายถึงสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้ทำให้พืชผักและผลไม้ มีกลิ่น สี หรือ รส ที่มีลักษณะเฉพาะตัว และมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่อาจช่วยต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้
          สารพฤกษเคมีที่ถูกค้นพบ และนำมาใช้ประโยชน์แล้วมีมากกว่า 5,000 ชนิด เช่น แคโรทีนอยด์ โพลีฟินอล ไฟโตสเตอรอล ไบโอฟลาโวนอยด์ และอื่นๆ ซึ่งยังไม่มีการศึกษาค้นพบอีกเป็นจำนวนมาก    สารพฤกษเคมี มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง (1) ผลไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานเพื่อเสริมประโยชน์ด้านการป้องกันโรคได้แก่ กลุ่มเบอร์รี่  องุ่น  พรุน มะกอก ทับทิม เป็นต้น เพราะเป็นแหล่งของสารพฤกษเคมีที่หลากหลายและมากด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพ

ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่

         ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ เช่น บิลเบอร์รี่ (Bilberry) แบลคเคอร์แรนต์ (Blackcurrant) อาซาอิ เบอร์รี่ (Acai berry) เอลเดอร์เบอร์รี่ (Elder berry) เป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนาน   มีข้อมูลพบว่าผลไม้กลุ่มเบอร์รี่มีการใช้เป็นผลไม้เพื่อบำรุงดวงตามาตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากนักบินชาวอังกฤษ สังเกตว่าการรับประทานบิลเบอร์รี่ทำให้ความสามารถในการมองเห็นในเวลากลางคืนดีขึ้น ทำให้อาการเมื่อยล้าของดวงตาจากการใช้งานนานๆ ลดน้อยลง(2) ต่อมาได้มีการศึกษาถึงองค์ประกอบของเบอร์รี่เพิ่มขึ้นได้พบว่าในเบอร์รี่มีสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงเมื่อเทียบกับผัก ผลไม้อื่นๆ โดยเบอร์รี่ที่มีสีม่วงน้ำเงินเข้มแสดงว่ามีปริมาณแอนโธไซยานินอยู่สูง (3)
          จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารแอนโธไซยานินในบิลเบอร์รี่พบว่า สามารถเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดฝอยในดวงตา  ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา และต้านอนุมูลอิสระที่จะทำอันตรายต่อเซลล์ตา   อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคทางสายตาหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อม (1) นอกจากนี้ยังพบว่าสารแอนโธไซยานินช่วยให้ดวงตาปรับการมองเห็นในที่มีแสงสว่างน้อยได้ดีขึ้น โดยจะเร่งกลไกการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโรดอปซิน (3)     จากการศึกษาในอาสาสมัคร 60 คน โดยให้ 30 คนรับประทานสารสกัดแอนโธไซยานิน 100 มิลลิกรัม และอีก 30 คน รับประทานยาหลอกเป็นเวลา 4 สัปดาห์   การศึกษาโดยใช้วิธีการทำแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์อาการและมีแบบทดสอบการมองเห็นในเวลากลางคืน ผลจากการวิเคราะห์พบว่า 73.3 % ของกลุ่มที่รับประทานแอนโธไซยานิน มีอาการดีขึ้น แสดงว่าสารแอนโธไซยานินช่วยให้ความสามารถในการมองเห็นเวลากลางคืนของคนที่สายตาสั้นดีขึ้น (4)……….

มะกอก

          มะกอก เป็นพืชในวงศ์ Oleaceae จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น กรีซ อิตาลี ฝรั่งเศษ สเปน นิยมทานในรูปของผลมะกอกดอง หรือแปรรูปเป็นน้ำมันมะกอก มะกอกให้สารพฤกษเคมีซึ่งเป็นสารประกอบกลุ่มฟินอล ที่ชื่อ ไฮดรอกซีไทโรซอล (Hydroxytyrosol) มีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยยังยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ LDL คอเลสเตอรอลซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Coronary Heart Disease) ได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการเพิ่ม HDL คอเลสเตอรอลอีกด้วย (5) ปริมาณของโพลีฟีนอลจากผลมะกอกที่มีส่วนช่วยลดการเกิดออกซิเดชั่นของLDL คอเลสเตอรอลคือระหว่าง 4-20 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งพบว่ามีสัดส่วนของไฮดรอกซีไทโรซอลอยู่ที่ประมาณ 50% ของโพลีฟีนอลทั้งหมด (5)

พรุน

         พรุน เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานมาอย่างยาวนานเพราะให้วิตามินและเกลือแร่หลายชนิดเช่น วิตามินเอและเค แมกนีเซียม ทองแดงและโบรอน โดยแร่ธาตุที่พบมากคือโพแทสเซียม จากคุณสมบัตินี้เอง พรุนจึงมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตและให้ผลดีต่อหลอดเลือดหัวใจ (7) นอกจากนี้ยังจัดว่าพรุนเป็นผลไม้ที่ให้ใยอาหารสูง ทั้งใยอาหารชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำซึ่งมีคุณสมบัติชะลอการย่อยอาหารในกระเพาะ ช่วยให้อิ่มนานขึ้นและยังเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ระบบลำไส้ทำงานดีขึ้น และมีฤทธิ์ในการระบายจึงนิยมใช้ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ (9) ในพรุนมีน้ำตาลแอลกอฮอล์ตามธรรมชาติคือไซลิทอลและ ซอร์บิทอลสูง โดยเมื่อไซลิทอลและ ซอร์บิทอลผ่านเข้าไปที่ลำไส้จะเกิดกระบวนการหมัก มีผลช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียชนิดที่ดี เมื่อทำงานร่วมกับใยอาหาร ซึ่งจะทำงานในลำไส้ใหญ่เป็นเสมือนฟองน้ำที่ซับน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มวลอุจจาระเพิ่มขึ้น และถูกขับถ่ายออกได้ง่าย ช่วยลดระยะเวลาการตกค้างของเสียในลำไส้
          ในพลัมและพรุนชนิดต่างๆมีปริมาณสารโพลีฟีนอลสูงถึง 282-922 มก.ต่อ100 กรัม (5) สารโพลีฟีนอลที่พบในพรุนในปริมาณมากคือ กรดไฮดรอกซีซินนามิก (hydroxycinnamic acids) อยู่ในรูปกรดนีโอคลอโรเจนิก (neochlorogenic acids หรือ 3-0-caffeoyl-quinic)และกรดคลอโรเจนิก (chlorogenic acids หรือ 5-0-caffeoylquinic acid), Caffeic acid, Coumaric acid, Rutin (9) และ proanthocyanidin และฟลาโวนอยด์พิกเมนท์ (flavonoid pigments) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง (10)
          นอกจากนี้พรุนยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเช่น วิตามินซี และสารพฤกษเคมีอื่นๆเป็นองค์ประกอบทำให้พรุนมีค่าการต้านอนุมูลอิสระหรือค่า ORAC สูง (Oxygen Radical Absorbency Capacity) โดยมีค่าประมาณ 5,770 หน่วย/ 100 กรัม โดยสูงเป็น 2 เท่าของผลไม้อื่น เช่น บลูเบอรี่และลูกเกด จึงจัดได้ว่าพรุนเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีประโยชน์ส่งเสริมสุขภาพ

สรุป

          การรู้จักดูแลสุขภาพของตัวเองเสียแต่เนิ่นๆจะช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆของร่างกายด้วยการรับประทานอาหารให้หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารต่างๆ เพียงพอต่อความต้องการ  นอกจากนี้การรับประทานผลไม้บางชนิดที่มีสารพฤกษเคมีหรือไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อาทิ แอนโธไซยานิน ไฮดรอกซีไทโรซอล กรดไฮดรอกซีซินนามิกและอื่นๆ จากผลไม้บางชนิด เช่นบิลเบอร์รี่ แบคเคอร์แรนต์ อาซาอิเบอร์รี่ เอลเดอร์เบอร์รี่  มะกอกและพรุน เป็นต้น มีงานศึกษาวิจัยถึงผลของสารพฤกษเคมีที่มีต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราได้เข้าใจถึงกลไกและประโยชน์ทางสุขภาพของผลไม้เหล่านี้มากขึ้นเพื่อการนำไปส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีต่อไป

เอกสารอ้างอิง

(1) Rui Hai Liu. Health benefits of fruit and vegetables are from additive and synergistic combinations of phytochemicals.  Am J Clin Nutr 2003;78(suppl):517S–20S.
(2) Antel DS., Garban G., Garban Z. The Anthocyans: Biologically active substrances of food and pharmaceutic interest. The Annals of the University Dunarea de Jos of Galati Fascicle VI; Food Technology; 2003: 106-115.
(3) Nakaishi H. et al. Effects of black current anthocyanoside intake on dark adaptation and VDT work-induced transient refractive alteration in healthy humans. Altern Med Rev. 2000;5(6):553-62.
(4) Lee j. et al. Purified high-dose anthocyanoside oligomer administration improves nocturnal vision and clinical symptoms in myopia subjects. British Journal of Nutrition.2005; 93:895-899.
(5) Marrugat, J., Covas, M.I., Fito, M., et al. Effects of differing phenolic content in dietary olive oils on lipids and LDL oxidation:  A randomized controlled trial. European Journal of Nutrition. 2004; 43(3): 140-147.
(6) Raederstorff D. Antioxidant activity of olive polyphenols in humans: a Review. Int. J. Vitam. Nutr. Res.2009; 79(3): 152-165.
(7) Jabeen Q.and Aslam N. The pharmacological activities of prunes: The dried plums. Journal of Medicinal Plants Research.2011; 5(9): 1508-1511.
(8) Stacewicz-Sapuntzakis M, Bowen PE, Hussain EA, et al. Chemical composition and potential health effects of prunes: a functional food. Crit Rev Food Sci Nutr. 2001; 41(4):251-86.
(9) Donovan, J.L., Meyer, A.S. and Waterhouse, A.L. “Phenolic Composition and In-Vitro Antioxidant Activity of Prunes and Prune Juice. Journal of Agricultural and Food Chemistr.y. April, 1998, 46: 1247 – 1252.
(10) Kimura Y, Ito H, Kawaji M, Ikami T, Hatano T (2008). Characterization and antioxidative properties of  oligomeric proanthocyanidin from prunes, dried fruit of Prunus domestica L. Biosci. Biotechnol.  Biochem., 72: 1615-1618.

บทความต้นฉบับจาก
http://www.thaidietetics.org/?p=4324
ภาพประกอบจาก
https://www.yahoo.com/lifestyle/happens-body-dont-eat-enough-221035444.html
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ผลไม้กับสุขภาพจากประโยชน์ของสารพฤกษเคมี
ผลไม้กับสุขภาพจากประโยชน์ของสารพฤกษเคมี
งานวิจัยที่ค้นพบสารพฤกษเคมีจากผลไม้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimzHH9EHgyO774rMb8Joj-wVQVmW7E0hJq_h-YeGk0WMVA98PU-MLoR_4Y9PUxuXwMSX_Z4pXSitMT_v6M2Ghr5yWr41QD4tYVqXzLbLpildOr5R38tNLX3cVccSAhKJaK2aMTr8cz6LQ/s320/%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A4%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B5.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimzHH9EHgyO774rMb8Joj-wVQVmW7E0hJq_h-YeGk0WMVA98PU-MLoR_4Y9PUxuXwMSX_Z4pXSitMT_v6M2Ghr5yWr41QD4tYVqXzLbLpildOr5R38tNLX3cVccSAhKJaK2aMTr8cz6LQ/s72-c/%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A4%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A9%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B5.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_44.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_44.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy