ยาพาราเซตามอลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล : รู้ทัน อยู่รอดปลอดภัย

ใช้ยาพาราเซตามอลให้สัมพันธ์กับอาการปวด


บทความโดย
ฝ่ายเภสัชกรรม
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ยาพาราแก้อะไร ?

พาราเซตามอลสามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เป็นยาลดไข้ พาราเซตามอลที่เป็นยาเดี่ยวจะบรรเทาอาการปวดขั้นอ่อนถึงปานกลางเท่านั้น ไม่มีผลต่ออาการปวดขั้นรุนแรง เช่น แผลผ่าตัดใหญ่ หรือมะเร็ง และไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

วิธีใช้ยา

  • กินยาห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ใน 1 วัน ไม่ควรรับประทานทานเกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) ขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่นี้ ใช้สำหรับรักษาความปวดเบื้องต้น
  • ถ้ากินยาแล้วไข้ไม่ลดภายใน 3 วัน หรืออาการปวดในเด็กไม่บรรเทาภายใน 5 วัน หรือในผู้ใหญ่ไม่บรรเทาภายใน 10 วัน ควรไปพบแพทย์เนื่องจากอาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้

ยาไทลินอล Tylenol (Paracetamol 650 mg) ชนิดเม็ดออกฤทธิ์นาน 8 ชั่วโมง

  • ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่  44 กิโลกรัมขึ้นไป รับประทานครั้งละ 2 เม็ด แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 44 กิโลกรัม หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ให้ใช้ยานี้เพราะจะได้รับยาเกินขนาดที่แนะนำซึ่งอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้

วิธีใช้ยา

**กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามหัก เคี้ยว บด แบ่งเม็ดยา หรือละลายน้ำ เพราะจะทำให้ได้รับยาเกินขนาด

อาการของการใช้ยาเกินขนาด

  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก ภายใน 24 ชั่วโมง
  • เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ทรานซามิเนส ( transaminase) สูงขึ้น แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ
  • มีอาการอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีภาวะแทรกซ้อน หากรุนแรงอาจมีอาการสมองเสื่อมจากโรคตับ และเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

ปวดแบบไหนที่ทานพาราไม่ได้ผล?

  • อาการปวดรุนแรง เช่น ปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ หรือจากมะเร็ง วิธีการประเมินความปวดอย่างง่ายวิธีหนึ่งคือการให้คะแนนความปวดจาก 0 ถึง 10 ให้เลข 0 แทนความรู้สึกที่ไม่มีอาการปวดแต่อย่างใดและเลข 10 แทนความรู้สึกปวดมากที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ หากประเมินแล้วตัวเลขตกอยู่ในช่วง 7-10 นั่นหมายถึงการมีอาการปวดขั้นรุนแรง ยาพาราเซตามอลแต่เพียงขนานเดียวไม่สามารถรักษาได้แม้ว่าจะใช้เกินขนาดไปเท่าใดก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความปวดระดับดังกล่าวห้ามใช้พาราเซตามอลเกินขนาดที่แนะนำเพื่อหวังผลลดปวดและควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่เหมาะสมต่อไป
  • อาการปวดที่มีลักษณะอาการแปลกๆ อาการปวดโดยทั่วไปที่พาราเซตามอลมีผลรักษาเช่น ปวดตื้อ หรือ กดเจ็บ จากเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ หรือปวดศีรษะทั่วไป แต่มีอาการบวดบางแบบที่พบได้ในผู้ป่วยเช่น ปวดแสบปวดร้อน เสียวแปลบเป็นพักๆ ปวดเหมือนเข็มเล็กๆทิ่มแทง ปวดเหมือนไฟช๊อต ปวดร้าวไปที่บริเวณอื่นๆ อาการปวดเหล่านี้อาจบ่งถึงอาการปวดจากการที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ ปวดร่วมกับอาการชา ยาพาราเซตามอลมีผลน้อยมากในการรักษาอาการดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทมักมีอาการเรื้อรังจึงอาจใช้ยาพาราเซตามอลเองเป็นระยะเวลานานซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตับ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การใช้ยาพาราเซตามอลรักษาอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ โดยเฉพาะการใช้ยามากกว่า 15 วันต่อเดือนประมาณ 2-3 เดือนติดต่อกันจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache)” ดังนั้นผู้ที่อาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง เช่นปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเดือนละ 3-4 ครั้ง หรือปวดศีรษะจากความเครียดที่มีลักษณะอาการปวดเหมือนศีรษะถูกบีบรัดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ควรปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและอาจจำเป็นต้องรับยาอื่นที่ไม่ใช่พาราเซตามอลเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะต่อไป

ข้อควรระวังในการใช้ยา

  1. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่นที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบเพราะอาจทําให้ได้รับยาเกินขนาด
  2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ หากดื่มสุราเป็นประจํา เป็นโรคตับหรือโรคไต
  3. หากกินยาแล้วเกิดอาการ เช่น บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ หน้ามืด ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  4. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้หากมีภาวะพร้องจีซิกซ์พีดี (G6PD) หรือกำลังกินยาต้านการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน เพราะอาจเกิดอันตรายจากยานี้ได้ง่ายขึ้น

วิธีเก็บรักษายา

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พ้นแสงแดด และความร้อน
  • เก็บให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง
  • อย่าเก็บในที่ชื้น เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2 

ขอบคุณ บทความต้นฉบับ
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ยาพาราเซตามอลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล : รู้ทัน อยู่รอดปลอดภัย
ยาพาราเซตามอลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล : รู้ทัน อยู่รอดปลอดภัย
ใช้ยาพาราเซตามอลให้สัมพันธ์กับอาการปวด
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiFA4HNLSCnUgoVlzVNT36FIOcx0W4Me2jgCwfacYX6D_Zhfy7LjcI_uOXE6vG7RW4McuDPAvxk61QeH9bbDct0l4o3eVtCegGTTv7RCMZKJXAvIlPNFsL6JvcUGBowOJKym588NogK_R0/s320/%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiFA4HNLSCnUgoVlzVNT36FIOcx0W4Me2jgCwfacYX6D_Zhfy7LjcI_uOXE6vG7RW4McuDPAvxk61QeH9bbDct0l4o3eVtCegGTTv7RCMZKJXAvIlPNFsL6JvcUGBowOJKym588NogK_R0/s72-c/%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_60.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_60.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy