ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ : รู้เร็ว รู้ให้ทัน รับมือได้

ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ปล่อยนานเป็นมะเร็งได้

บทความโดย
คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ต่อมไทรอยด์ คือ

ต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ กรณีที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะเห็นเป็นก้อนเดี่ยว ๆ บางครั้งอาจเห็นเป็นหลาย ๆ ก้อน และสังเกตได้ง่าย เนื่องจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลงเวลากลืนน้ำลาย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการและมักพบเป็นก้อนเดี่ยว ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อสังเกตพบว่ามีก้อนเกิดขึ้นบริเวณลำคอ ก้อนมักมีขนาดโตกว่า 1 เซนติเมตร แต่หากตรวจพบโดยการตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์จะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก้อนขนาดเล็กๆ

สาเหตุของก้อนที่ต่อมไทรอยด์

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ก้อนที่ไม่ใช่เนื้อร้าย และก้อนที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง
1. ก้อนที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ได้แก่
  • ก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ ลักษณะภายในก้อนจะมีของเหลวอยู่ 
  • เนื้องอกชนิดธรรมดา เป็นเนื้องอกที่เกิดภายในเนื้อต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่ก้อนมักมีขนาดไม่โตมาก และไม่ทำให้เกิดการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง 
  • ก้อนที่เกิดขึ้นจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์หรือการติดเชื้อ เช่น ก้อนฝีหรือหนอง
2. ก้อนที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งไทรอยด์ มีทั้งที่ต้นกำเนิดจากเซลล์ไทรอยด์ และมะเร็งของอวัยวะอื่นที่มีการแพร่กระจายมาที่บริเวณต่อมไทรอยด์ ลักษณะ ขนาดก้อน และอัตราการโตของก้อนขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของเซลล์ เนื้อร้ายของต่อมไทรอยด์บางชนิดก้อนจะมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนอาจมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง

อาการของก้อนที่ต่อมไทรอยด์

โดยทั่วไปก้อนที่ต่อมไทรอยด์มักไม่มีอาการ เป็นการตรวจพบโดยบังเอิญทั้งจากตัวผู้ป่วยเอง จากแพทย์ หรือจากการตรวจภาพถ่ายทางรังสี ความชุกของมะเร็งต่อมไทรอยด์ในผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ พบเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4 - 7 ทั้งนี้ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนก้อน ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งไทรอยด์พบเท่ากันทั้งในก้อนเดี่ยวหรือหลายก้อน ส่วนใหญ่ผู้ที่ตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์มักมีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนในระดับปกติ แพทย์จะทำการสั่งตรวจเลือดเพิ่มเติมเฉพาะในผู้ป่วยบางราย เมื่อตรวจพบว่ามีก้อนของต่อมไทรอยด์ แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของก้อน และเน้นความสำคัญเกี่ยวกับประวัติที่บ่งชี้ถึงมะเร็งไทรอยด์ เช่น ประวัติก้อนโตเร็ว อาการที่เกิดจากการกดเบียด เช่น อาการเสียงแหบ กลืนลำบาก แน่นอึดอัดลำคอเวลานอนหงาย เป็นต้น  แพทย์จะแนะนำให้ตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดเล็ก เพื่อแยกว่าสาเหตุของก้อนเป็นจากอะไร

แนวทางการวินิจฉัยและการรักษา

การตรวจทางเซลล์วิทยาด้วยเข็มขนาดเล็กเป็นวิธีที่แม่นยำ ดังนั้น ผู้ป่วยทุกรายที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ควรได้รับการตรวจ วิธีดังกล่าวสามารถทำได้โดยการเจาะชิ้นเนื้อด้วยการคลำด้วยมือ หรือการเจาะชิ้นเนื้อใช้เครื่องอัลตราซาวนด์นำทาง การตรวจโดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์จะช่วยให้ได้ผลชิ้นเนื้อเพียงพอมากขึ้น การเจาะชิ้นเนื้อใช้เครื่องอัลตราซาวนด์นำทางจะใช้กรณีที่คลำก้อนได้ไม่ชัดเจน ก้อนอยู่ทางด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ผู้ที่มีก้อนหลายก้อน ก้อนที่มีลักษณะน้ำปนเนื้อ และผู้ที่คอสั้น หรือกล้ามเนื้อคอมาก นอกจากการตรวจทางเซลล์วิทยาด้วยเข็มขนาดเล็กช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคแล้ว ยังสามารถช่วยในการรักษาได้ในกรณีที่ก้อนนั้นเป็นถุงน้ำหรือก้อนซีสต์ โดยช่วยดูดหรือระบายน้ำออกจากก้อน ทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลงได้

การรักษาโรคก้อนที่ต่อมไทรอยด์

แนวทางการรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุของก้อนนั้นๆ โดยแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน การเลือกวิธีรักษาจึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาระหว่างแพทย์และผู้ป่วย เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีแนวทางในการรักษาหลักๆ ดังต่อไปนี้
  1. เฝ้าติดตามขนาดของก้อนและตรวจชิ้นเนื้อซ้ำในระยะ 1 - 2 ปีแรก และควรตรวจซ้ำทันทีเมื่อมีอาการสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์ เช่น ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และตรวจพบมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต เป็นต้น
  2. การรักษาด้วยการให้ยาไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อกดให้ระดับ TSH ต่ำกว่าค่าปกติ โดยหวังผลให้ก้อนมีขนาดเล็กลง วิธีนี้ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการได้ยา เช่น มีภาวะกระดูกพรุน หรือมีประวัติหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นเร็วกว่าปกติ เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสที่จะตอบสนองต่อยาและส่งผลให้ก้อนมีขนาดเล็กลงเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด กรณีเป็นมะเร็งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเป็นขั้นแรก โดยจะพิจารณาตัดก้อนของต่อมไทรอยด์ร่วมกับการตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนและชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดนั้นๆ หลังจากนั้นจึงพิจารณาให้การรักษาร่วมอื่นๆ เช่น การรักษาด้วยไอโอดีนรังสีขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D

ขอขอบคุณ ต้นฉบับบทความ
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ : รู้เร็ว รู้ให้ทัน รับมือได้
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ : รู้เร็ว รู้ให้ทัน รับมือได้
ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ปล่อยนานเป็นมะเร็งได้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiMIW0iCTb9UXNBSDsRhvNPKT5uFy37Q6ggR_CH0RVVzmWbj3jF-FM84yLkeN790v_Wem0zxu0ps2xSV-gqfhzn_Zo4wGwJSPzWzljKpWm5KyehZ-XXSyS-tny1z9aNABhABCJcaDpbH2A/s320/%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2593%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599+%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%258C+%2528Thyroid+nodule%2529.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiMIW0iCTb9UXNBSDsRhvNPKT5uFy37Q6ggR_CH0RVVzmWbj3jF-FM84yLkeN790v_Wem0zxu0ps2xSV-gqfhzn_Zo4wGwJSPzWzljKpWm5KyehZ-XXSyS-tny1z9aNABhABCJcaDpbH2A/s72-c/%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2593%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599+%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%258C+%2528Thyroid+nodule%2529.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_88.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/10/blog-post_88.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy