โควิดระยะยาว คืออะไร

ทำไมหายจากโรคโควิด-19 แต่อาการป่วยยังอยู่

 

ข้อมูลโดย
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2563 หลังจากโรคโควิด-19 ระบาด และมีการพบว่าผู้ที่หายป่วยบางรายไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างเดิมประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่เริ่มมีการให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับอาการโควิดระยะยาว (Long COVID หรือ Long Hauler) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการโควิดระยะยาวที่น่าสนใจ ดังนี้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุว่าผลการศึกษาของ The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ประเทศอังกฤษ อ้างอิง ณ วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีการแบ่งกลุ่มอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่

• ระยะที่ 1 Acute COVID-19 : ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อและมีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 ประมาณ 4 สัปดาห์
• ระยะที่ 2 Ongoing symptomatic COVID-19 : ระยะที่ผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องไปอีก 4-12 สัปดาห์
• ระยะที่ 3 Post-acute COVID-19 : ระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการบ่งชี้ของโรคโควิด-19 ในช่วงระหว่างที่พบเชื้อ หรือหลังจากการพบเชื้อ โดยยังคงมีอาการต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์

อาการต่างๆ ที่พบในผู้ป่วยโควิดระยะยาว

มีการศึกษาที่รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย 186,000 ราย ในประเทศอังกฤษพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยจะมีอาการบ่งชี้โรคโควิด-19 ต่อเนื่องถึง 12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย ไอและปวดศีรษะ อีกทั้งยังมีผู้ป่วยราว 9.9% ที่จะยังคงมีอาการอยู่หลังจาก 12 สัปดาห์ไปแล้ว เช่นเดียวกับรายงานการศึกษาทางการแพทย์จากหลายประเทศทำการติดตามผู้ป่วยติดเชื้อทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จนถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนักต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล พบว่าหลังจากผู้ป่วยหายแล้วอวัยวะบางส่วนของผู้ป่วยมีความเสียหายหรือถูกทำลายอย่างถาวร เช่น อาการปอดบวมหรือเนื้อปอดถูกทำลายโดยที่ระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการเข้ารับการรักษา และการกำจัดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในร่างกายว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังอาจส่งผลให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยที่มีอยู่เดิมเกิดอาการรุนแรงมากขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยหายจากโรคโควิด-19 แล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคที่เกิดกับระบบอวัยวะอื่นๆ และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ทั้งนี้ กลไกในการอธิบายอาจจะซับซ้อนและอาจจะคล้ายคลึงกับภาวะที่เกิดตามหลังการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่เรียกว่า ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) อาจมีความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันโดยที่อาจมีไวรัสซ่อนหลบอยู่ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าโรคโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระยะสั้นเท่านั้น แต่โรคร้ายนี้ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่เคยติดเชื้อในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการป้องกันตัวเองและปฏิบัติตัวตามแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: โควิดระยะยาว คืออะไร
โควิดระยะยาว คืออะไร
ทำไมหายจากโรคโควิด-19 แต่อาการป่วยยังอยู่
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjgsS_ZK3noR0Thqb6aobQ_gRVed-kPfS_dQtX8kitp6yy-VmOSjrvIrCOpLDXuo_q3l5aOXVlOpX3B06SPD25JLZHlLNdUcD9t1ZsjG07-MH1iODaSd1nbwj5SEW25VTFKLpjgHyuBS74/w320-h219/vol60_healthKN-2048x916-1.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjgsS_ZK3noR0Thqb6aobQ_gRVed-kPfS_dQtX8kitp6yy-VmOSjrvIrCOpLDXuo_q3l5aOXVlOpX3B06SPD25JLZHlLNdUcD9t1ZsjG07-MH1iODaSd1nbwj5SEW25VTFKLpjgHyuBS74/s72-w320-c-h219/vol60_healthKN-2048x916-1.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2021/05/blog-post_26.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2021/05/blog-post_26.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy