เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 3

การฝึกอารมณ์ที่ถูกต้อง คือ กระบวนการติดเบรคให้กับคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ




เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 3 

หัวข้อบรรยาย : กลวิธีฝึกจัดการอารมณ์ ช่วงบรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล 
                      (จิตเวชศาสตร์ทั่วไป  ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : https://www.morprawate.com
เราไม่จำเป็นต้องทำตามอารมณ์ทุกอย่าง เพราะอารมณ์ก็อาจจะเป็นสัญญาณผิดพลาดและส่งผลเสียได้
 

   

กฎเกณฑ์ข้อที่ 4 อารมณ์ที่เกิดขึ้นจะมีปฏิกิริยาส่งผลต่อร่างกายเสมอ

          กฎเกณฑ์ข้อที่ 4 ครับ เวลาที่มนุษย์เราหรือสัตว์เกิดอารมณ์ขึ้น มันจะมีปฏิกิริยาส่งผลต่อร่างกายของเราเสมอ นะครับ การที่อารมณ์เกิดขึ้นแล้วมีอาการทางกายเนี่ย มันเป็นระบบเชื่อมโยงที่ออกแบบมาในวิวัฒนาการครับ ถ้าคุณเคยเห็นสัตว์ที่มีท่าทีก้าวร้าวและโกรธ เห็นแม่ของสุนัขหรือแม่ของสัตว์แต่ละชนิดที่มีภัยอันตรายจะมาคุกคามลูก คุณจะเห็นท่าทีของมัน มันเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการปกป้อง มีการสะแยะหน้า ถ้าเป็นสัตว์บางชนิดก็จะหางพองตัว ขนของขึ้นเนี่ย เพื่อเตรียมในการข่มขู่คู่ต่อสู้ นะครับ หรือเวลากลัวหมาก็หางจุกตูด นะครับ พวกนี้มันมีอาการทางกายครับ มนุษย์เราก็มีอาการทางกาย เวลาที่กลัว เวลาที่เศร้า เวลาที่เหงา เวลาที่โกรธ มีอาการทางกายครับ อาการทางกายนี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะมันถูกผูกเข้าเป็นระบบเชื่อมโยงกัน แต่ถ้าเราไม่รู้ บางครั้ง อาการทางกายก็กลายเป็นปัญหาของเรา นะครับ ซึ่งตัวอย่างที่จะยก ก็จะทำให้เราเห็นว่า อาการทางกายมันกลายเป็นปัญหาได้ยังไง นี่คือ กฎเกณฑ์ข้อที่ 4

กฎเกณฑ์ข้อที่ 5 อารมณ์เป็นเพียงความรู้สึก เราไม่จำเป็นต้องทำตามอารมณ์ก็ได้

          กฎเกณฑ์ข้อที่ 5 ก็คือ อารมณ์ความรู้สึกเกิดภายในใจของเรา มีอาการทางกายที่จะเป็นตัวกระตุ้นขับเคลื่อนเราแสดงออกไป นะครับ แต่อารมณ์เป็นเรื่องหนึ่ง การกระทำเป็นอีกเรื่องหนึ่ง พูดง่าย ๆ เราไม่จำเป็นต้องทำตามอารมณ์ นะครับ ฟังอีกที เราไม่จำเป็นต้องทำตามอารมณ์ หมายความว่าอะไร หมายความว่า ถ้าเรากลัวเราก็ไม่จำเป็นต้องหนี เพราะของเรากลัวบางอย่าง เราอยู่เฉย ๆ อยู่กับสิ่งที่เรากลัวนั้นไปสักพักหนึ่ง ความกลัวนั้นจะลดลง นะครับ หรือถ้าเราโกรธ เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำร้ายคนที่ทำให้เราโกรธ เราเลือกได้ว่า เราจะทำอย่างไรในเวลานั้น ซึ่งตัวนี้ การแยกอารมณ์กับการกระทำออกจากกัน แม้ว่าเราจะมีอาการทางกายเตรียมตัวให้เราลงมือทำ ก็จะทำให้เราจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น เพราะบางครั้ง อารมณ์ก็อาจจะเป็นสัญญาณผิดพลาด ที่เกิดจากการตีความบิดเบี้ยว ถ้าเราทำตามอารมณ์ไปในทันที ก็อาจจะส่งผลเสียนะครับ แต่รายละเอียดของการจัดการอย่างถูกต้อง ทำอย่างไร เรื่องนี้เป็นศิลปะของการดำเนินชีวิตและการแก้ปัญหาเลยครับ ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาลองดูว่า เมื่อเราเข้าใจกฎเกณฑ์อารมณ์ 5 ข้อนี้แล้ว เราจะฝึกอะไรบ้างนะครับ

วิธีฝึกอารมณ์ขั้นที่ 1 คือ การฝึกสังเกตความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง

          ฝึกอย่างแรกครับ ฝึกสังเกตความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง พยายามแยกแยะความคิดและอารมณ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกออกจากกัน นะครับ

วิธีฝึกอารมณ์ขั้นที่ 2 คือ การฝึกอยู่กับอารมณ์ของตัวเราเอง

          สอง ฝึกอยู่กับอารมณ์ตัวเองครับ คือ ไม่ต้องหนีมัน และไม่ต้องทำตาม มันมาเดี๋ยวมันก็ไป ถ้าคุณไม่เคยฝึกอยู่กับอารมณ์ วิธีฝึกอยู่กับอารมณ์แบบดีที่สุด ก็คือ คุณฝึกแบบไม่ต้องจมไปกับมันนะครับ ฝึกแบบถอยมาดูหน่อย รับรู้ได้ถึงอารมณ์ แต่ไม่ได้ถูกมันดูดลงไป ซึ่งคุณอาจจะบอกว่า โอ้โห! ทำยังไง อันนี้ล่ะครับ ถึงบอกว่าต้องฝึก แล้วถ้าบอกว่าที่จะพูด 5 ข้อนี้ ยากจังเลยนะครับ ถ้าง่ายทุกคนก็ทำเป็น แต่ที่มันยากเป็นเพราะเราไม่เคยฝึก
          เวลาที่เราฝึกบ่อย ๆ เราจะพบว่า มันทำได้ง่ายขึ้นง่ายขึ้น คล้าย ๆ กับตอนที่คุณเริ่มที่จะออกกำลังกาย แล้วก็เดินให้ไกลขึ้น คุณก็จะพบว่าเมื่อร่างกายฟิตขึ้น คุณก็ทำได้ดีขึ้น พอทำให้ดีขึ้น คุณรู้สึกสนุกมีกำลังใจ คุณก็ลงมือทำได้มากขึ้น ร่างกายก็ฟิตขึ้น คล้ายๆ กัน เลยนะครับ เวลาที่เราฝึกทักษะอารมณ์ และสิ่งที่ผมกำลังพูดอยู่ในนี้ ใหม่ ๆ ก็จะยากครับ แต่ลองฝึกบ่อย ๆ ปุ๊บ วงจรสมองที่เกี่ยวข้องก็จะแข็งแรงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เราจัดการอารมณ์ได้เก่งขึ้น ซึ่งก็ทำให้เรามีกำลังใจในการฝึกฝนให้มากขึ้น แล้วก็ทำให้เรามีความสามารถในการจัดการอารมณ์ที่ดีขึ้น มันเป็นกงล้อของการเปลี่ยนแปลงที่ในช่วงแรกอาจจะยาก แต่เมื่อมันขยับแล้วเนี่ย มันจะสะสมพลังในการเปลี่ยนแปลง ที่ไปได้ไกลเกินกว่าที่คุณอาจจะเคยคิดจินตนาการไว้ นะครับ ดังนั้น ฝึกอยู่กับอารมณ์โดยไม่ต้องหนี แต่ก็ไม่ต้องทำตาม สังเกตว่ามันมาแล้วมันก็ไป แต่แน่นอนนะครับ คุณมีอารมณ์มันบอกอะไรบางอย่างภายในใจของเรา เราต้องเลือกว่าเราจะทำอะไร นะครับ

การฝึกอารมณ์ขั้นที่ 3 คือ การฝึกอย่าเพิ่งเชื่อการตีความในใจตัวเอง

          การฝึกอย่างที่ 3 ก็คือ ฝึกอย่าเพิ่งเชื่อการตีความในใจตัวเอง พูดง่าย ๆ ถ้าคุณรู้สึกว่า คน ๆ หนึ่ง ทำอะไรบางอย่างแล้วคุณโกรธ เช่น มีคนขับรถปาดหน้าแล้วคุณโกรธ คุณอย่าเพิ่งเชื่อว่า เขาหมิ่นศักดิ์ศรีคุณ นะครับ คุณอย่าเพิ่งเชื่อว่าเขาเป็นคนเลวที่ไม่มีน้ำใจอยู่บนท้องถนน เพราะนั่นเป็นการตีความและการตีความแบบนี้ทำให้เราโกรธขึ้นมา นะครับ มันอาจจะมีสาเหตุอีกตั้งหลายอย่าง ที่ทำให้มีคนขับรถปาดหน้าเรา แต่ทันทีที่เราเชื่อว่า สิ่งที่เราคิด คือความจริง เราก็จะมีอารมณ์ แล้วก็เชื่อว่ามันคือความจริง นะครับ แต่การถอยมาหน่อยหนึ่ง โดยอย่าเพิ่งเชื่อการตีความ ก็ต้องเลือกใช้นะครับ เลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ มันจะทำให้คุณเบรกตัวเองได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้น เราลองตั้งคำถามก่อนว่า สิ่งที่เราเข้าใจเนี่ยมันถูกหรือยัง นะครับ ถ้าใช่ค่อยว่ากัน ว่าเราจะทำยังไง

การฝึกอารมณ์ขั้นที่ 4 คือ การฝึกให้ตัวเราอยู่กับความรู้สึกในกายที่เกิดจากอารมณ์

          สี่นะครับ การที่เราจะรู้ดีว่า อารมณ์ส่งผลต่อร่างกาย เราจำเป็นต้องมีทักษะในการผ่อนคลาย ฝึกอยู่กับความรู้สึกในร่างกาย แล้วก็เวลามีอาการทางกายก็ไม่ต้องตกใจกลัวมันครับ มันเป็นธรรมดาของอารมณ์นะครับ ให้เราคุ้นกับอาการในร่างกาย เวลาที่เราเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งมันจะทำให้เราเริ่มผ่อนคลายได้นิ่ง ๆ ได้ แล้วก็อยู่กับความรู้สึกในกายที่เกิดจากอารมณ์ได้ นะครับ โดยที่ไม่ต้องทำตามมัน นะครับ แต่ใช้อารมณ์ ใช้อาการในกายเป็นตัวบอกว่า เรากำลังรู้สึกอย่างไร ซึ่งเมื่อเราเข้าใจความรู้สึก มันจะช่วยเราจัดการอารมณ์นั้นได้ดีขึ้นนะครับ มันวนไปวนมาคุณสังเกตไหมครับ เพราะว่าก้อนประสบการณ์ภายในตัวเราเนี่ย มันก็คือ อารมณ์ ความคิดและอาการทางกายนั่นเองนะครับ


[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]

Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 3
เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 3
การฝึกอารมณ์ที่ถูกต้อง คือ กระบวนการติดเบรคให้กับคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg9BQIAnJpm3JkJb0nxWE1P8xtw9EwFenkV-Ea87JT1TCMVf57ad06QA5-gQOlq0Bydi6sHMdzQzOHI89TJZMFecOHQpYI9ySlwHp4YXvx1OVBIiCD4-qpJDtra0mWMMWTMjBLxqd18y9w/s320/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259D%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2593%25E0%25B9%258C.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg9BQIAnJpm3JkJb0nxWE1P8xtw9EwFenkV-Ea87JT1TCMVf57ad06QA5-gQOlq0Bydi6sHMdzQzOHI89TJZMFecOHQpYI9ySlwHp4YXvx1OVBIiCD4-qpJDtra0mWMMWTMjBLxqd18y9w/s72-c/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259D%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2593%25E0%25B9%258C.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/07/3.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/07/3.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy