เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 4 (จบ)

เมื่อเราจัดการอารมณ์ได้ เราก็จะสามารถหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดจากอารมณ์นั้นได้




เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 4 

หัวข้อบรรยาย : กลวิธีฝึกจัดการอารมณ์ ช่วงบรรยายเนื้อหา
บรรยายโดย : อาจารย์นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล 
                      (จิตเวชศาสตร์ทั่วไป  ศิริราชพยาบาล)
ที่มาคลิป : ปลดล็อกกับหมอเวช
เว็บไซต์ : https://www.morprawate.com
หลายครั้งเราเอาพลังงานของเราไปจัดการตามอารมณ์ โดยที่เผลอไปเลยว่าไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของตัวปัญหาที่ทำให้เรามีอารมณ์นั้น

การฝึกอารมณ์ขั้นที่ 5 คือ ฝึกรับรู้อารมณ์โดยไม่ต้องทำตามอารมณ์นั้น

          จากนั้น ข้อห้าครับ ฝึกรับรู้อารมณ์โดยไม่ต้องทำตามอารมณ์นั้น แล้วก็ในระหว่างที่เรายังไม่ทำตามอารมณ์นั้น ต้องฝึกพัฒนาทักษะทางความคิด เพื่อมีวิธีจัดการปัญหาเชิงรุก ซึ่งเรื่องนี้มีหลากหลายเครื่องมือ มีหลากหลายวิธีการ ในการที่จะทำให้เราจัดการอุปสรรคหรือสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์นั้น ว่าเราควรจะจัดการที่ตัวอารมณ์ หรือควรจะจัดการที่ตัวปัญหาที่มากระตุ้นอารมณ์ของเรานะครับ
         หลายครั้งเราเอาพลังงานของเราไปจัดการตามอารมณ์ โดยที่เผลอไปเลยว่าไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของตัวปัญหาที่ทำให้เรามีอารมณ์นั้น เช่น เอากรณี "อกหัก" อีกแล้วกันนะครับ วันนี้ใช้กรณีอกหักเป็นตัวตั้ง ถ้ามีคนปฏิเสธไม่รับรักของเรา เราอาจจะเสียใจ เราอาจจะเสียความรู้สึกไปบ้าง แต่เรารู้ดีว่าความรู้สึกนี้จะผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เราฝึกสังเกตให้รู้ว่าเรากำลังรู้สึกอะไรบ้าง อารมณ์นี้บอกอะไรเรานะครับ นี่กำลังไล่ตามข้อนะครับ สังเกตอารมณ์ตัวเอง อยู่กับอารมณ์นั้น และดูว่ามันมีอารมณ์อะไรบ้าง อย่าเพิ่งเชื่อการตีของเรา เช่น ถ้าเรารู้สึกว้าเราด้อยค่า แฟนเลิกกับเราแปลว่าเราไม่มีคุณค่า อย่าเพิ่งเชื่อการตีความครับ มันเป็นตัวที่ดึงเราจมลงไปได้มาก เราก็แค่ตั้งคำถามว่า “จริงหรือที่เราไม่มีคุณค่า” “จริงหรือว่าคุณค่าของเราผูกกับการยอมรับของคนที่เราอยากได้เป็นแฟน” ถ้าคุณฝึก อย่าเพิ่งเชื่อการตีความ คุณก็ต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบการตีความของตัวเอง นะครับ จะทำให้คุณไม่รีบเชื่อสิ่งที่อยู่ในใจคุณ อันนี้ก็จะเป็นการจัดการอารมณ์
          ฉะนั้น คุณก็เรียนรู้ที่จะอยู่กับร่างกาย ผ่อนคลาย แล้วก็ต้องมีทักษะคิดในการจัดการปัญหาเชิงรุก ที่มีหลากหลายวิธีการ ซึ่งข้อนี้ ถ้าเป็นกรณีอกหักทำยังไงนะครับ อกหักนี่ บางคนพออกหักแล้ว มันคือ การสูญเสียสัมพันธภาพ คนที่ไปแก้ตามอารมณ์ ก็คือ ก็ไปจมอยู่กับความเศร้า แล้วก็ไปจมอยู่กับความรู้สึกไม่ดี จนโจทย์ทางอารมณ์กลายเป็นโจทย์หลักของเขา แต่จริง ๆ แล้ว โจทย์อาจจะเป็นโจทย์เรื่องความสัมพันธ์ ซึ่งโจทย์เรื่องความสัมพันธ์ อย่างที่ผมเรียนครับ มันก็มีวิธีคิดข้อแรก ๆ เลย ก็คือ "เราเข้าใจเขามากพอแล้วหรือยัง" เราจะเลือกทำอะไรต่อ เมื่อเขาส่งสัญญาณปฏิเสธมาชัด เช่น เราก็เลือกว่า เราจะตัดใจ ซึ่งนี้เป็นหลักคิดก่อน โอเคเราจะทำใจยอมรับว่าเขาไม่ยอมรับรักเรา แล้วเราก็จะจัดการอารมณ์ตาม 4 ข้อแรก จากนั้นเราจะทำอะไรต่อ ในช่วงเวลาที่เรามีพลังงานเหลือ เราไม่มีจุดหมายในการพยายามที่ไปสานสัมพันธภาพกับคน ๆ นี้ได้แล้ว เราจะเอาเวลาไปทำอะไร เอาพลังงานไปทำอะไร ซึ่งตัวนี้ต้องอาศัยความคิดเชิงรุกใช่ไหมครับ
     ความคิดเชิงรุกนี้ ก็คือ เราจะใช้โอกาสนี้ ที่มันมีช่องว่างของความรู้สึกจากการที่เราถูกปฏิเสธความสัมพันธ์ ไปใช้อะไรที่มีประโยชน์กับชีวิตของเรา อันนี้คือ การคิดเชิงรุก ซึ่งท่านก็อาจจะใช้เป็นช่วงเวลากลับมาดูแลตัวเอง กลับใช้เวลากับคนในครอบครัว พ่อ แม่ พี่น้อง กลับมาปรับปรุงนิสัยทางอารมณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์เสียไปในครั้งที่จบลง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการคิดเชิงรุก แต่การคิดเชิงรุกนี้ จะเกิดขึ้นได้เมื่อ เรารู้ทัน อยู่กับอารมณ์ และก็จัดการอารมณ์เป็น และก็จัดการร่างกายเป็น เราถึงจะคิดเชิงรุกเป็น และการคิดเชิงรุกแบบนี้ มันก็จะทำให้เราพัฒนาตัวเองดีขึ้น จัดการปัญหาในชีวิตเก่งขึ้น ซึ่งก็จะมีผลย้อนกลับมาทำให้อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จัดการได้ง่ายขึ้นนะครับ
          อันนี้ก็คือ 5 ข้อ ของธรรมชาติของอารมณ์ กับ 5 ข้อของวิธีการฝึกประกบคู่กันเลยนะครับ พูดแบบนี้มันเป็นทฤษฎีหน่อยหนึ่ง ผมจะยกตัวอย่างให้ฟังนะครับ ซึ่งจะลองดูแค่ตัวอย่างเดียวก่อนจะจบช่วงบรรยายเนื้อหานะครับ
          มีสมาชิกท่านหนึ่งส่งข้อความมาแบบนี้นะครับ อันนี้เป็นเรื่องความกังวลและความกลัวนะครับ เขาเขียนมาว่า เมื่อก่อนเป็นคนกล้าแสดงออก แข่งขันตอบคำถามบนเวที เป็นคนนำเสนอหน้าชั้นเรียนตลอด พอเข้ามัธยมปลายไปดัดฟัน เพื่อนล้อว่า พูดไม่ชัด หลังจากนั้นเวลาพูดหน้าห้องนำเสนองาน จะใจสั่นเหงื่อแตกตัวเย็นพูดเสียงสั่น มันเหมือนกับเป็นประสบการณ์ที่กลายเป็นบาดแผลภายในใจ แต่เกิดขึ้นในตอนเป็นวัยรุ่นแล้วนะครับ เธอเขียนต่อแบบนี้ครับ ตอนนี้มีผลกระทบต่องานมาก เพราะต้องออกให้ความรู้ ผมขออนุญาตไม่บอกว่าคือกลุ่มไหนนะครับ เพื่อไม่ให้รู้ว่าเขาเป็นใคร อยู่อาชีพอะไร และต้องออกบรรยายให้ความรู้นะครับ แต่เสียงสั่นพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง พอจะมีแนวทางให้กลับมามั่นใจเหมือนเดิมบ้างไหมคะ อันนี้คือคำถามของเขา ซึ่งถ้าคุณฟังดู คุณอ่านดู คุณคงนึกออกนะครับ มันก็คือความกังวล ความไม่มั่นใจ แล้วก็อยากได้ความมั่นใจคืนมา
          สิ่งที่ผมถามไปข้อ 1 ก็คือ ขณะที่สั่น ในใจของคุณมีความคิด หรือภาพอะไรเกิดขึ้นบ้าง เธอตอบว่า คิดว่าต้องพูดเสียงสั่นอีกแน่เลย และนึกถึงภาพการพูดครั้งก่อน ๆ ซึ่งแน่นอนเป็นประสบการณ์ของความล้มเหลวของเธอ ดังนั้นคุณเห็นไหมครับ มันปนกันระหว่างสถานการณ์ภายนอก คือสถานการณ์ที่เราจะต้องไปพูดหน้าชั้น หน้ากลุ่มคน กับความทรงจำเดิมซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของความคิดที่วิ่งเข้ามา กับคำพูดที่พูดกับตัวเองว่า เดี๋ยวต้องสั่นอีกแหงเลย กับภาพของความสั่นในตอนนั้น ซึ่งเมื่อถึงขณะนี้ ผมก็รู้เลยว่า ร่างกายของเธอจะเริ่มสั่น แล้วเธอแล้วเธอจะยิ่งตกใจกลัว ที่ร่างกายของเธอสั่น แล้วเธอก็จะเริ่มเอาพลังงานที่มีอยู่ไปสู้กันกับอารมณ์ที่สั่น แล้วก็กลัวนั้น จนเธอสูญเสียความสามารถในการเรียบเรียงความคิดที่จะพูดในการบรรยายให้กับคนที่กำลังฟังเธอ
          กระบวนการจัดการหรือครับ ทำตาม 5 ขั้นตอนเลยครับ หนึ่ง คือ สังเกตว่าเรามีความกังวลใจ นะคับ สังเกตเห็นว่าเรามีความคิดแว็บเข้ามาว่าเดี๋ยวจะสั่น สังเกตเห็นภาพซึ่งในความทรงจำที่เราเคยทำได้ไม่ดี อันนี้คือข้อหนึ่ง คือสังเกตสิ่งที่อยู่ในใจ และอารมณ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นนะมันมีภาพด้วย มันมีเสียงคำพูดด้วย มันมีความทรงจำเก่า ๆ ด้วย จากเรารู้ดีว่าอารมณ์นี้มันผ่านมาแล้วผ่านไป แต่ว่ามันจะอยู่กับเราได้นานเมื่อเราไปจมไปกับมัน นะครับ
          กระบวนการตีความซึ่งเป็นข้อ 3 ของกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ ก็คือ เรากำลังตีความว่า เราจะมี เรากำลังตีความว่า สถานการณ์แบบนี้ทำให้เราตื่นกลัว และกำลังมองตัวเองว่า เราจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งกระบวนการนี้ก็ทำให้ร่างกายยิ่งมีปฏิกิริยามากขึ้น แล้วก็ทำให้เธอทำไม่ได้ แต่ถ้าเธอสังเกตอารมณ์แล้วก็รู้ว่า ผ่านมาและผ่านไป และก็มีทักษะผ่อนคลาย เช่น การหายใจ นะครับ ในบางกรณีถ้าสั่นมาก เรามียาลดอาการสั่น ซึ่งทำให้เราควบคุมตัวเองง่ายขึ้น แต่กินไม่ต้องตลอดนะครับ กินเป็นครั้งเวลาต้องขึ้นเวที ตอนที่ฝึกใหม่ ๆ พอมั่นใจแล้ว เราถอยยาตัวนี้ออกนะครับ อันนี้ก็เพื่อควบคุมร่างกาย แต่เราต้องมีทักษะการผ่อนคลาย เราต้องรู้ทันกระบวนการทางความคิดในใจเรา จากนั้นต่อให้เรามีความกังวล มีความกลัวอยู่ในใจ ให้เราโฟกัสกับสิ่งที่เราต้องพูดให้ดี ซึ่งเราก็มีหลายวิธีในการโฟกัสกับสิ่งที่พูด อันนี้จะเป็นรายละเอียดของเทคนิคการพูดในที่สาธารณะ นะครับ
          อันนี้ตัวอย่างครับว่า ในทุกอารมณ์มันมีธรรมชาติของมัน ถ้าเราเข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาติและเรามีวิธีฝึกฝนอย่างที่บรรยายไป การฝึกเพื่อจัดการอารมณ์ แล้วการเรียนรู้ให้พัฒนากลวิธีที่ถูกต้องในการจัดการอารมณ์ การจัดการอารมณ์ก็จะกลายเป็นวิธีที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเรา เราก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากอารมณ์ได้ แล้วก็เลี่ยงจากผลเสียของอารมณ์ นี่ก็คือช่วงของการบรรยาย กลวิธีฝึกจัดการอารมณ์ครับ

■■■ ตอนที่ 1
■■■ ตอนที่ 2
■■■ ตอนที่ 3

[ขอขอบคุณ นายแพทย์ ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย]
[ถอดคำบรรยายจากคลิปคุณหมอ โดย หยินหยาง]
[โปรดแชร์ บทความนี้ ให้กับคนที่คุณรักและเป็นห่วงที่สุดด้วย นะครับ]
Name

กระดูกและข้อ,9,การใช้สมุนไพร,13,เกร็ดความรู้สุขภาพ,28,ข้อมูลเกี่ยวกับโรค,83,คลินิกควบคุมน้ำหนัก,16,คลินิกจิตเวช,30,ช่วง Q&A,1,เตือนภัยสุขภาพคุณผู้หญิง,22,ประเด็นสุขภาพที่ควรรู้,130,พบหมอฟัน,1,ระบบสืบพันธุ์,1,รู้ทันโควิด 19-Covid-19,25,โรคความดัน,5,โรคไต,18,โรคเบาหวาน,4,โรคผิวหนัง,15,โรคระบบทางเดินอาหาร,1,เวชศาสตร์ชะลอวัย,22,สุขภาพตา,5,หูคอจมูก,5,อาหารและยา,72,
ltr
item
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 4 (จบ)
เรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์อันเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการจัดการดำเนินชีวิต ตอนที่ 4 (จบ)
เมื่อเราจัดการอารมณ์ได้ เราก็จะสามารถหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดจากอารมณ์นั้นได้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg9BQIAnJpm3JkJb0nxWE1P8xtw9EwFenkV-Ea87JT1TCMVf57ad06QA5-gQOlq0Bydi6sHMdzQzOHI89TJZMFecOHQpYI9ySlwHp4YXvx1OVBIiCD4-qpJDtra0mWMMWTMjBLxqd18y9w/s320/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259D%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2593%25E0%25B9%258C.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg9BQIAnJpm3JkJb0nxWE1P8xtw9EwFenkV-Ea87JT1TCMVf57ad06QA5-gQOlq0Bydi6sHMdzQzOHI89TJZMFecOHQpYI9ySlwHp4YXvx1OVBIiCD4-qpJDtra0mWMMWTMjBLxqd18y9w/s72-c/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259D%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2593%25E0%25B9%258C.jpg
ไขปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
https://www.yinyang.in.th/2019/07/4.html
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/
https://www.yinyang.in.th/2019/07/4.html
true
6588637073179937695
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts ดูทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม Reply Cancel reply Delete By หน้าหลัก หน้า บทความ View All บทความแนะนำ หมวด ARCHIVE สืบค้น ALL POSTS ไม่พบข้อมูลที่คุณกำลังค้นหาค่ะ กลับสู่หน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy